Page 49 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 49
แนวคิดเกี่ยวกับสื่อและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 1-39
แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ระหว่างผู้เรียนด้วยกันได้ เมื่อน�ำส่ือโทรคมนาคมมาใช้ในการเรียน
การสอนวิทยาศาสตร์จึงสามารถช่วยส่งเสริมการเรียนการสอน และพัฒนาทักษะของผู้เรียนทางด้านต่าง ๆ
ได้ ดังนี้
1. สง่ เสริมการเรยี นแบบร่วมมือ
สอื่ โทรคมนาคมเปดิ โอกาสใหผ้ เู้ รยี นไดร้ ว่ มกนั ทำ� งานและศกึ ษาหาความรู้ ระหวา่ งผเู้ รยี นในชน้ั เรยี น
เดียวกัน หรือระหว่างผู้เรียนจากต่างสถาบัน ซ่ึงอาจจะเป็นสถาบันการศึกษาในต่างประเทศก็ได้ การเรียน
โดยการร่วมมือร่วมใจกันน้ีจะช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมและเพ่ิมประสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้
เป็นอย่างดี
2. พัฒนาทักษะในการสอ่ื สาร
ทักษะในการส่ือสารเป็นสิ่งท่ีส�ำคัญและจ�ำเป็นอย่างย่ิงส�ำหรับการเรียนวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน
ส่ือโทรคมนาคมจะช่วยส่งเสริมการเรียนโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกหัด สาธิต วิจารณ์ ส่ือโทรคมนาคม
เช่น อีเมล หรือการประชุมทางไกล จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในการส่ือสารผ่านทางการเขียนและการ
พูดที่จะสามารถท�ำให้ผู้ท่ีสื่อสารด้วยเข้าใจในประเด็นและแนวความคิดที่ต้องการสื่อสารได้อย่างชัดเจนและ
ถูกต้องตรงตามความต้องการ ไม่ว่าผู้ที่สื่อสารด้วยน้ันจะอยู่ที่ใดก็ตาม
3. กระตนุ้ ความสนใจ
ส่ือโทรคมนาคมกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนโดยช่วยให้การเรียนรู้เป็นส่ิงที่น่าตื่นเต้น ผู้เรียนจะมี
ความกระตือรือร้นที่จะสนทนา ติดต่อ และแลกเปล่ียนความรู้และประสบการณ์จากเพื่อนต่างโรงเรียน หรือ
ต่างประเทศ หรือสนใจที่จะศึกษาหาความรู้และประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ท่ีมีอยู่อย่างหลากหลาย
และมากมายท่ัวโลก
4. เพิม่ โอกาสในการเข้าถงึ ผเู้ ชย่ี วชาญหรือผทู้ รงคณุ วฒุ ิต่าง ๆ ไดง้ า่ ยขึน้
สื่อโทรคมนาคมช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงผู้เช่ียวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้ง่ายข้ึน ไม่ว่าจะเป็น
ฟิสิกส์ เคมี หรือชีววิทยา ผู้เรียนสามารถใช้ส่ือโทรคมนาคมติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญเหล่าน้ีท่ีมีอยู่ท่ัวโลก
ได้ตลอดเวลา รูปแบบของการสื่อสารก็สามารถเป็นได้ท้ังในลักษณะที่เป็นแบบประสานเวลา (synchronous)
เช่น การประชุมหรือสนทนาออนไลน์ หรือเป็นการส่ือสารแบบไม่ประสานเวลา (asynchronous) เช่น
การสอบถาม หรือปรึกษาหารือผ่านทาง แชท บล็อก หรืออีเมล มีเว็บไซต์มากมายท่ีให้บริการตอบค�ำถามโดย
ผู้เชี่ยวชาญ เช่น Scientific American (http://www.scientificamerican.com/section/ask-the-ex-
perts/) หรือ Science Buddies (http://www.sciencebuddies.org/science-fair-projects/ask-an-
expert-intro)
5. ผู้เรยี นได้ข้อมูลความร้ทู เ่ี ปน็ ปจั จบุ ันและทนั สมยั
แหล่งข้อมูลในการเรียน เช่น ต�ำรา เอกสารการสอน ซีดีรอม หรือวัสดุจัดเก็บข้อมูลอื่น ๆ มักจะเป็น
ข้อมูลท่ีเก็บไว้ในห้องสมุดหรือแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้อ่ืน ๆ ซ่ึงไม่ค่อยจะได้มีการปรับปรุงหรือ
เปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างย่ิงข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วอยู่เสมอ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ท่ีทันสมัยที่ดีท่ีสุดก็คือการเข้าถึงโดยผ่านทางสื่อ
โทรคมนาคม ท่ีสามารถให้ข้อมูลท่ีทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์