Page 85 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 85

แนวคิดเกี่ยวกับสื่อและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 1-75

       3) 	การนำ� บางสว่ นมาใช้ (asset extraction) เปน็ การดงึ บางสว่ นจากสอ่ื โอออี ารม์ าใช้ เชน่ ภาพ กราฟ
แผนภูมิหรือวิดีโอคลิป

       โออีอาร์เปิดให้ใช้บริการอยู่เป็นจ�ำนวนมาก มหาวิทยาลัยหลายแห่งมีโออีอาร์ไว้ให้บริการ โออีอาร์
ท่ีมีผู้นิยมใช้มีหลายแห่ง เช่น MIT Open CourseWare, OER Commons, Khan Academy, Blended
Learning Toolkit, OER University, MERLOT, และ YouTube เป็นต้น

มกู้ (Massive Online Open Courses: MOOCs)

       MOOCs เป็นสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ต่างกับโออีอาร์ตรงที่โออีอาร์เป็นแหล่งทรัพยากร
การศึกษาท่ีผู้สอน หรือผู้เรียนเข้าไปดาวน์โหลดมาใช้ประกอบในการเรียนการสอนเพียงอย่างเดียว ไม่มี
การเรียนการสอน ไม่สามารถโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนหรือผู้เรียนด้วยกันได้ แต่ MOOCs เป็น
แหล่งทรัพยากรการศึกษาท่ีเปิดให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาหาความรู้ได้ตามความต้องการ โดยมีการเรียนการสอน
เหมือนกับการเรียนในหลักสูตรตามปกติ ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและผู้เรียนด้วยกัน และท่ีส�ำคัญคือ
สามารถท่ีจะรองรับผู้เรียนได้พร้อม ๆ กันเป็นจ�ำนวนมาก

       MOOCs เป็นการเรียนการสอนออนไลน์ที่เปิดให้ผู้คนทั่วโลกสมัครเข้าเรียนวิชาในหลักสูตรต่าง ๆ
ได้ฟรี โดยไม่ได้จ�ำกัดว่าผู้เรียนจะเป็นใคร อายุเท่าไหร่ หรือมีพ้ืนฐานการศึกษาในระดับไหน ก็สามารถเข้า
เรียนได้เหมือนกันหมด ดังนั้น ในบางวิชาท่ีก�ำลังเป็นที่สนใจและเปิดสอนโดยสถาบันการศึกษาท่ีมีช่ือเสียง
จะมีผู้สมัครเข้าเรียนเป็นจ�ำนวนมาก (มีผู้เรียนจ�ำนวน 160,000 คนจาก 160 ประเทศ ลงทะเบียนเรียนวิชา
ปัญญาประดิษฐ์ (Introduction to Artificial Intelligent) ในภาคการศึกษาเดียวกัน ท่ีมหาวิทยาลัย
แสตนฟอรด์ สหรฐั อเมรกิ า)9 การเรยี นผา่ น MOOCs นน้ั ในกรณที เ่ี ลอื กเรยี นวชิ าทม่ี กี ำ� หนดเวลาหรอื มตี าราง
เรยี นกจ็ ะเปน็ การเรยี นการสอนจรงิ เชน่ จะมกี ารตง้ั คำ� ถามในระหวา่ งเรยี นใหผ้ เู้ รยี นตอบ หรอื ผเู้ รยี นสามารถ
ต้ังค�ำถามให้ผู้สอนหรือผู้ที่เรียนร่วมในวิชาเดียวกันตอบก็ได้ มีการก�ำหนดการบ้านหรือกิจกรรมให้ท�ำ มีเวที
อภิปราย (forum) ให้ผู้เรียนได้สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกันหรือกับผู้สอน นอกจากน้ัน
ผู้เรียนยังสามารถขอค�ำปรึกษาจากผู้สอนได้อีกด้วย แต่หากเลือกเรียนวิชาท่ีเป็นการเรียนตามอัธยาศัย
ก็สามารถเรียนได้ตามความเร็วและตามเวลาท่ีสะดวก (self pace)

       ผใู้ หบ้ รกิ าร MOOCs สว่ นใหญจ่ ะเปน็ มหาวทิ ยาลยั หรอื กลมุ่ สถาบนั การศกึ ษาทมี่ ชี อ่ื เสยี ง เชน่ edX,
Coursera, Udacity, Khan Academy เป็นต้น

อนิ เทอรเ์ นต็ ของสรรพส่ิง (Internet of Things: IoT)

       อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งหรือท่ีนิยมเรียกส้ัน ๆ ว่า “ไอโอที” (IoT) หมายถึงสภาพท่ีสรรพสิ่ง
(devices) ไม่ว่าจะเป็นส่ิงของเคร่ืองใช้ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ท่ีสามารถเช่ือมต่อมีปฏิสัมพันธ์และท�ำงาน
ร่วมกันได้เอง โดยอาศัยเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ต เช่น การท่ีเซ็นเซอร์ (sensor) ตรวจจับความเคล่ือนไหว
ของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน เมื่อตรวจไม่พบว่ามีผู้อยู่อาศัยก็จะติดต่อสื่อสารไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ ภายในบ้าน

         9 MOOCs are here to stay (http://www.pontydysgu.org/2012/02/moocs-are-here-to-stay/)
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90