Page 24 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 24
13-14
เรอ่ื งที่ 13.1.3 ก ารตรวจสอบคณุ ภาพเครือ่ งมอื วดั ความรู้
ทางวิทยาศาสตร์
สาระสังเขป
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นการตรวจสอบคุณภาพเป็นรายข้อ
และรายฉบับ
1. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นรายข้อพิจารณาคุณภาพรายข้อ
ของขอ้ สอบในเรอื่ ง ความยากและอำ� นาจจำ� แนก โดยทก่ี ารทดสอบความรทู้ างวทิ ยาศาสตรแ์ บง่ เปน็ 2 ประเภท
ใหญ่ ๆ คือ การทดสอบแบบอิงกลุ่ม และการทดสอบแบบอิงเกณฑ์ การทดสอบแบบอิงกลุ่มมีวัตถุประสงค์
เพื่อวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของบุคคลโดยเปรียบเทียบกับกลุ่ม การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบแบบ
อิงกลุ่มจึงเป็นการตรวจสอบว่า เม่ือน�ำข้อสอบไปใช้กับผู้สอบกลุ่มน้ัน ๆ แล้ว ข้อสอบแต่ละข้อมีความยาก
เท่าไร และสามารถจ�ำแนกผู้สอบท่ีมีความสามารถต่างกันได้ดีเพียงใด ส่วนการทดสอบแบบอิงเกณฑ์มี
วตั ถปุ ระสงคเ์ พอ่ื วดั ความรทู้ างวทิ ยาศาสตรข์ องผสู้ อบภายหลงั การสอนวา่ บรรลวุ ตั ถปุ ระสงคท์ ก่ี ำ� หนดไวห้ รอื
ไม่ แต่ไม่ได้มุ่งจ�ำแนกว่าใครเก่งหรืออ่อนกว่ากัน การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงเกณฑ์ยึดหลักว่า ข้อสอบก่อน
สอนจะเป็นข้อสอบท่ียากส�ำหรับผู้เรียน แต่หลังสอนข้อสอบข้อเดิมจะเป็นข้อสอบท่ีง่ายเนื่องจากผู้เรียนได้
เรียนรู้ในเน้ือหาดังกล่าวแล้ว
2. การตรวจสอบคุณภาพเคร่ืองมือวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ท้ังฉบับพิจารณาจากความตรงและ
ความเที่ยง
2.1 การตรวจสอบความตรงของเคร่อื งมือวัดความรู้ทางวทิ ยาศาสตร์ให้ความส�ำคัญกับความ
ตรงเชิงเน้ือหา โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความตรงเชิงเน้ือหา
2.2 การตรวจสอบความเท่ียงของเครื่องมือวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถตรวจสอบได้
หลายวิธีคือวิธีสอบซ้ํา (test-retest) วิธีใช้ฟอร์มเทียบเท่า (equivalent forms) หรือฟอร์มคู่ขนาน (parallel
forms) และวิธีหาความสอดคล้องภายใน (internal consistency)
(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชดุ วชิ าหน่วยที่ 13 ตอนที่ 13.1 เรื่องท่ี 13.1.3)
กิจกรรม 13.1.3
การตรวจสอบคุณภาพของการสร้างเคร่ืองมือวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์รายข้อ และทั้งฉบับ
ตรวจสอบในเร่ืองใดบ้าง