Page 49 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 49
13-39
เฉลยแบบประเมนิ ผลตนเองหน่วยที่ 13
กอ่ นเรียน
1. เคร่ืองมือวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) แบบทดสอบแบบเลือกตอบ เป็นแบบทดสอบท่ีผู้สร้างก�ำหนดให้ผู้สอบตอบเองเพียงค�ำ
หรือวลีสั้น ๆ มีค�ำตอบค่อนข้างแน่นอน มีลักษณะที่เป็นปรนัย มีวิธีการตรวจให้คะแนนที่ตรงกันและมีความ
ชัดเจนในการแปลความหมายของคะแนน แบบทดสอบลักษณะนี้แบ่งออกเป็น แบบทดสอบแบบถูก-ผิด
(True-false) แบบทดสอบแบบจับคู่ (Matching) และแบบทดสอบแบบเลือกตอบ (Multiple choice)
2) แบบทดสอบแบบเขียนตอบ เป็นแบบทดสอบที่ประกอบด้วยค�ำถามและให้ผู้ตอบเขียน
ค�ำตอบเองจากค�ำถามท่ีก�ำหนดให้เป็นการเขียนในลักษณะความเรียง ซ่ึงเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดง
ความรู้ความสามารถและความคิดระดับสูงในลักษณะของการสรุปความ การเปรียบเทียบ การประยุกต์หลัก
วิชาหรือน�ำความรู้ไปใช้ ของแบบทดสอบแบบเขียนตอบ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การเขียนแบบจ�ำกัด
ค�ำตอบ และการเขียนแบบไม่จ�ำกัดค�ำตอบ
2. การสร้างเครื่องมือวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์มี 7 ข้ันตอนคือ
1) การก�ำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างเครื่องมือวัดซึ่งเป็นแบบทดสอบ
2) การก�ำหนดสิ่งท่ีต้องการวัด คือ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน
3) การก�ำหนดลักษณะของข้อสอบ
4) การจัดท�ำแผนผังการสร้างเครื่องมือ
5) การจัดท�ำเครื่องมือฉบับร่าง
6) การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพของเคร่ืองมือเป็นรายข้อในด้าน
ความยากและอ�ำนาจจ�ำแนก และตรวจสอบคุณภาพของเคร่ืองมือทั้งฉบับในด้านความตรงและความเท่ียง
7) การจัดท�ำเครื่องมือฉบับสมบูรณ์ และคู่มือการใช้เครื่องมือ
3. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นรายข้อพิจารณาคุณภาพรายข้อ
ของข้อสอบในเรื่อง ความยากและอ�ำนาจจ�ำแนก
การตรวจสอบคุณภาพเคร่ืองมือวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ท้ังฉบับพิจารณาในเร่ืองความตรง
และความเท่ียงของเคร่ืองมือ
4. การสร้างเคร่ืองมือวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีขั้นตอนท่ีส�ำคัญดังนี้
1) ก�ำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างเคร่ืองมือ ในการสร้างแบบทดสอบทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์แต่ละชุดจ�ำเป็นต้องก�ำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เช่น เพ่ือวินิจฉัย เพ่ือตรวจ
สอบความก้าวหน้า เพ่ือปรับปรุงการเรียนการสอน