Page 44 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 44
13-34
สัมพันธ์กับคะแนนที่เป็นผลรวมของคุณลักษณะนั้น ๆ การตรวจสอบคุณภาพรายข้อเป็นการหาค่าความ
สัมพันธ์ระหว่างคะแนนข้อน้ันกับคะแนนผลรวมของข้อที่เหลือน่ันเอง
2. การตรวจสอบคุณภาพเคร่ืองมือวัดทักษะกระบวนการและการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ทั้งฉบับ
พิจารณาจากความตรงและความเที่ยง ดังน้ี
2.1 การตรวจสอบคุณภาพเคร่ืองมือวัดทักษะกระบวนการและการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์
ด้านความตรง ด�ำเนินการใน 2 วิธี คือ 1) วิธีหาดัชนีความสอดคล้อง (Index of Congruence: IOC) และ
2) การใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัดหรือการใช้กลุ่มอ้างอิง (Known group technique)
2.2 การตรวจสอบคุณภาพเคร่ืองมือวัดทักษะกระบวนการและการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์
ดา้ นความเทย่ี ง สามารถตรวจสอบไดห้ ลายวธิ คี อื วธิ สี อบซาํ้ (test-retest) วธิ ใี ชฟ้ อรม์ เทยี บเทา่ (equivalent-
-forms) หรือฟอร์มคู่ขนาน (parallel forms) วิธีหาความสอดคล้องภายใน (internal consistency) และ
การตรวจสอบความเท่ียงระหว่างผู้ประเมิน
ตอนที่ 13.3 กรณตี วั อย่างการประยกุ ต์ใช้เครื่องมือวดั ความร้ทู างวิทยาศาสตร์และทกั ษะ
กระบวนการและการสบื เสาะทางวิทยาศาสตร์ในงานวจิ ยั
แนวตอบกจิ กรรม 13.3.1
การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เร่ือง สารและสมบัติของสารมี
กระบวนการพัฒนาเครื่องมือสรุปได้ ดังนี้
1. การก�ำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ในการสร้างเครื่องมือวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์คร้ังน้ี
ก�ำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างเครื่องมือเพื่อตรวจสอบความรู้พ้ืนฐานหรือความรู้เดิมของนักเรียน เพื่อ
ตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนและเพ่ือตรวจสอบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน
2. การก�ำหนดสิ่งที่ต้องการวัด ขั้นตอนน้ีเป็นการก�ำหนดส่ิงท่ีต้องการวัด ในการวัดความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์ ในครั้งนี้เป็นการวัดความรู้ในเรื่องสารและสมบัติของสาร แบ่งเนื้อหาเป็น 7 เร่ือง ประกอบด้วย
1) การจัดกลุ่มสาร 2) องค์ประกอบของสารเน้ือเดียว 3) การตรวจสอบขนาดของเนื้อสาร 4) สมบัติของ
คอลลอยด์ 5) การเตรียมสารละลาย 6) สารละลายกรด – เบส และ 7) สมบัติของสารละลายกรด – เบส
3. การก�ำหนดลักษณะของข้อสอบ ในขั้นตอนน้ีเป็นการเลือกเคร่ืองมือวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ให้เหมาะสมกับนักเรียน เคร่ืองมือวัดความรู้เรื่องสารและสมบัติของสารในคร้ังนี้เป็นข้อสอบแบบปรนัย
4 ตัวเลือก โดยด�ำเนินการสร้างเป็นแบบสอบคู่ขนาน จ�ำนวน 35 ข้อ ใช้วัดความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน
4. การจัดท�ำแผนผังการสร้างเคร่ืองมือ การจัดท�ำแผนผังการสร้างเครื่องมือวัดความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร เป็นการวางแผนการสร้างเครื่องมือวัด ซ่ึงเป็นตารางแบบ 2 ทาง
ทางหน่ึงคือ ส่วนที่เป็นจุดประสงค์การเรียนรู้และอีกทางหน่ึงคือ ส่วนท่ีเป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ
5. การจัดท�ำเคร่ืองมือฉบับร่าง ในขั้นตอนนี้เป็นการเขียนข้อสอบ ตามแผนผังการสร้างเครื่องมือ
วัดความรู้วิทยาศาสตร์ท่ีจัดท�ำไว้โดยเขียนข้อสอบแบบปรนัยเป็น 2 ชุด คือ แบบทดสอบวัดก่อนเรียนและ