Page 39 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 39

13-29

เรือ่ งท่ี 13.3.3 กรณตี วั อยา่ งการประยุกตใ์ ช้เคร่ืองมือวัดการสืบเสาะ
           ทางวทิ ยาศาสตรใ์ นงานวจิ ยั

สาระสังเขป

       กรณีตัวอย่างการประยุกต์ใช้เครื่องมือวัดการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ในงานวิจัย เร่ือง ผลการใช้
ชุดกิจกรรมฝึกท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ท่ีมีต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์
ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดส�ำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
จินตนา รุ่งเรือง (จินตนา รุ่งเรือง, 2556)

       เคร่ืองมือวัดทักษะปฏิบัติกิจกรรมการท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ คือ แบบประเมินทักษะปฏิบัติการ
ท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ มีกระบวนการพัฒนาเคร่ืองมือสรุปได้ดังน้ี

       1. 	การก�ำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างเคร่ืองมือในการสร้างแบบประเมินทักษะปฏิบัติการท�ำ
โครงงานวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
1) เพื่อน�ำแบบประเมินทักษะปฏิบัติการท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ไปใช้วัดพฤติกรรมด้านทักษะการปฏิบัติการ
ท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ และ 2) เพ่ือน�ำผลคะแนนที่ได้จากการวัดไปตัดสินผลการเรียนเร่ืองท�ำโครงงาน
วิทยาศาสตร์

       2. 	การก�ำหนดส่ิงทีต่ อ้ งการวดั ในครั้งน้สี งิ่ ท่ีตอ้ งการวัดคอื ทกั ษะปฏิบตั ิการท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์
ของนกั เรยี นมธั ยมศกึ ษาปที ี่ 1 ประกอบดว้ ยองคป์ ระกอบ 5 ประการ คอื 1) การออกแบบการทดลอง/วางแผน
ด�ำเนินงานโครงงานวิทยาศาสตร์ 2) การเขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์ 3) การลงมือท�ำโครงงาน
วิทยาศาสตร์ 4) การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ และ 5) การน�ำเสนอและแสดงผลงานโครงงาน
วิทยาศาสตร์

       3. 	การวิเคราะห์คุณลักษณะพฤติกรรมที่ต้องการวัดในข้ันตอนนี้เป็นการวิเคราะห์คุณลักษณะ
พฤตกิ รรมทต่ี อ้ งการวดั จากเนอ้ื หาและจดุ ประสงคข์ องการปฏบิ ตั กิ ารท�ำโครงงานวทิ ยาศาสตร์ ชน้ั มธั ยมศกึ ษา
ปีท่ี 1 มาเขียนเป็นคุณลักษณะท่ีต้องการวัดทักษะปฏิบัติการท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยยึดมาตรฐานการ
เรียนรู้ พุทธศักราช 2551 ซ่ึงใช้คุณลักษณะที่ต้องการวัดทักษะปฏิบัติการท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ 5 ประการ

       4.	 สร้างแบบประเมินทักษะปฏิบัติการท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ตามเนื้อหาดังรายการพฤติกรรมบ่งชี้ท่ีได้เลือกไว้ก่อนหน้า โดยสร้างเป็นแบบ
ประเมินโดยให้คะแนนแบบแยกส่วนประกอบย่อย
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44