Page 35 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 35

13-25

เร่อื งที่ 13.3.1 กรณีตวั อยา่ งการประยกุ ต์ใช้เครื่องมือวัดความรู้
           ทางวิทยาศาสตร์ในงานวิจัย

สาระสังเขป

       กรณีตัวอย่างการประยุกต์ใช้เคร่ืองมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ในงานวิจัยในครั้งนี้
ศึกษาจากงานวิจัย เรื่อง ผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและสมบัติของสารและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียนช้นั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 1 โรงเรยี นจอมสุรางคอ์ ปุ ถัมภ์ จงั หวดั พระนครศรีอยธุ ยา ของ นฤมล วฒั นวกิ กิจ
(นฤมล วัฒนวิกกิจ, 2557, น. 73-75) เครื่องมือวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในงานวิจัยเรื่องน้ีคือแบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เร่ือง สารและสมบัติของสารมีกระบวนการพัฒนาเคร่ืองมือ
สรุปได้ดังน้ี

       1. 	การก�ำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ในการสร้างเคร่ืองมือวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์คร้ังน้ี
ก�ำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างเครื่องมือเพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานหรือความรู้เดิมของนักเรียน เพื่อ
ตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนและเพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน

       2. 	การก�ำหนดส่ิงที่ต้องการวัดข้ันตอนนี้เป็นการก�ำหนดส่ิงที่ต้องการวัดว่ามีขอบเขตเน้ือหาสาระ
หรือมีโครงสร้างของส่ิงที่ต้องการวัดอย่างไรบ้าง ในการวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์คร้ังนี้เป็นการวัดความรู้
ในเรื่อง สารและสมบัติของสาร แบ่งเน้ือหาเป็น 7 เร่ือง ประกอบด้วย 1) การจัดกลุ่มสาร 2) องค์ประกอบ
ของสารเนื้อเดียว 3) การตรวจสอบขนาดของเน้ือสาร 4) สมบัติของคอลลอยด์ 5) การเตรียมสารละลาย
6) สารละลายกรด – เบส และ 7) สมบัติของสารละลายกรด – เบส

       3. 	การก�ำหนดลักษณะของข้อสอบในขั้นตอนนี้เป็นการเลือกเครื่องมือวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ให้เหมาะสมกับนักเรียน เครื่องมือวัดความรู้ เร่ือง สารและสมบัติของสาร ในคร้ังน้ีเป็นข้อสอบแบบปรนัย 4
ตัวเลือก โดยด�ำเนินการสร้างเป็นแบบสอบคู่ขนาน จ�ำนวน 35 ข้อ ใช้วัดความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน

       4. 	การจัดท�ำแผนผังการสร้างเคร่ืองมือการจัดท�ำแผนผังการสร้างเครื่องมือวัดความรู้ทาง
วทิ ยาศาสตร์ เรอื่ ง สารและสมบตั ขิ องสาร เปน็ การวางแผนการสรา้ งเครอื่ งมอื วดั โดยจดั เตรยี มตารางแผนผงั
การสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นตารางแบบ 2 ทาง ทางหน่ึงคือ ส่วนที่เป็น
จุดประสงค์การเรียนรู้และอีกทางหนึ่งคือ ส่วนท่ีเป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ

       5. 	การจัดท�ำเครื่องมือฉบับร่างในข้ันตอนนี้เป็นการเขียนข้อสอบ ตามแผนผังการสร้างเคร่ืองมือวัด
ความรู้วิทยาศาสตร์ที่จัดท�ำไว้โดยเขียนข้อสอบแบบปรนัยเป็น 2 ชุด คือ แบบทดสอบวัดก่อนเรียนและ
หลังเรียน ชุดละ 35 ข้อ เร่ืองละ 5 ข้อ โดยวัดพฤติกรรมด้านความรู้ ความจ�ำ 6 ข้อ วัดความเข้าใจ 14 ข้อ
วัดการน�ำไปใช้ 11 ข้อ และวัดการวิเคราะห์ 4 ข้อ เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40