Page 46 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 46

13-36

ชุดละ 22 ข้อ โดยแต่ละชุดประกอบด้วย 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นข้อสอบแบบปรนัย จ�ำนวน 20 ข้อ
ตอนท่ี 2 เป็น ข้อสอบแบบอัตนัย จ�ำนวน 1 ข้อ และตอนที่ 3 เป็นข้อสอบปฏิบัติจ�ำนวน 1 ข้อ ซึ่งด�ำเนินการ
สร้างแบบคู่ขนาน

       6. 	การตรวจสอบคุณภาพเคร่ืองมือ การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ผู้วิจัยได้ด�ำเนินการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในด้าน
ความยาก อ�ำนาจจ�ำแนก ความตรง และความเที่ยง

แนวตอบกิจกรรม 13.3.3
       เคร่ืองมือวัดทักษะปฏิบัติกิจกรรมการท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ คือ แบบประเมินทักษะปฏิบัติการ

ท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ มีกระบวนการพัฒนาเคร่ืองมือสรุปได้ดังนี้
       1. 	การก�ำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างเคร่ืองมือ ในการสร้างแบบประเมินทักษะปฏิบัติการท�ำ

โครงงานวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
1) เพ่ือน�ำแบบประเมินทักษะปฏิบัติการท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ไปใช้วัดพฤติกรรมด้านทักษะการปฏิบัติการ
ท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ และ 2) เพ่ือน�ำผลคะแนนที่ได้จากการวัดไปตัดสินผลการเรียนเรื่องท�ำโครงงาน
วิทยาศาสตร์

       2. 	การก�ำหนดสิ่งที่ต้องการวัด ข้ันตอนนี้เป็นการก�ำหนดสิ่งที่ต้องการวัด ในครั้งน้ีสิ่งท่ีต้องการวัด
คือทักษะปฏิบัติการท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ประกอบด้วยองค์ประกอบ
5 ประการ คือ 1) การออกแบบการทดลอง/วางแผนด�ำเนินงานโครงงานวิทยาศาสตร์ 2) การเขียนเค้าโครง
ของโครงงานวิทยาศาสตร์ 3) การลงมือท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ 4) การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์
และ 5) การน�ำเสนอและแสดงผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์

       3. 	การวิเคราะห์คุณลักษณะพฤติกรรมที่ต้องการวัด จากเนื้อหาและจุดประสงค์ของการปฏิบัติการ
ท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 1 มาเขียนเป็นคุณลักษณะท่ีต้องการวัดทักษะปฏิบัติการท�ำ
โครงงานวิทยาศาสตร์ โดยยึดมาตรฐานการเรียนรู้ พุทธศักราช 2551 ซ่ึงใช้คุณลักษณะท่ีต้องการวัดทักษะ
ปฏิบัติการท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ 5 ประการ ดังรายละเอียดในข้อ 3

       4. 	สร้างแบบประเมินทักษะปฏิบัติการท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของ
นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ตามเน้ือหาดังรายการพฤติกรรมบ่งช้ีที่ได้เลือกไว้ก่อนหน้า โดยสร้างเป็นแบบ
ประเมินโดยให้คะแนนแบบแยกส่วนประกอบย่อย

       5. 	ตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นของแบบประเมินด้านความเท่ียงตรงเชิงเน้ือหา (Content Validity)
โดยให้ผู้เช่ียวชาญในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จ�ำนวน 3 คน ตรวจสอบความตรงของเน้ือหา ลักษณะการ
ใช้ค�ำถาม การสร้างเกณฑ์การให้คะแนน ความถูกต้องด้านการใช้ภาษา ประเมินความสอดคล้องโดยได้
ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)

       6. 	จัดท�ำเครื่องมือฉบับสมบูรณ์เพื่อน�ำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51