Page 46 - การเขียนบทวิทยุกระจายเสียง
P. 46

6-36 การเขียนบทวิทยกุ ระจายเสยี ง

เร่ืองท่ี 6.4.1				
แนวทางการใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุกระจายเสียง

       ในการเขียนบท เป้าหมายส�ำคัญก็คือ การส่ือสารให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจตรงตามที่ผู้เขียนบท
ตอ้ งการสอื่ ความ แตต่ อ้ งยอมรบั วา่ การสอื่ สารนน้ั บางครงั้ อาจเกดิ ความเขา้ ใจไมต่ รงกนั ตคี วามผดิ เขา้ ใจผดิ
(misunderstanding messages) ได้ ดังค�ำกลา่ วท่พี ดู ถงึ ปญั หาของการเขา้ ใจผิดในการสื่อความว่า

                 “I know you believe you understand
                 what you think I said,
                 but I'm not sure you realize
                 that what you heard
                 is not what I meant. “ (Newsom and Wollert, 1985, p. 27)
                 ฉันรู้ คุณเช่ือว่าคุณเข้าใจ
                 ในส่ิงท่ีคุณคิดว่าฉันพูด
                 แต่ฉันไม่แน่ใจว่าคุณจะตระหนัก
                 ว่าส่ิงท่ีคุณได้ยิน
                 ไม่ใช่สิ่งท่ีฉันหมายถึง
       คงจะยอมรับว่า บางคร้ังการสื่อสารก็เป็นดังเช่นท่ีถอดความเป็นภาษาไทยข้างต้น แต่ถ้าสื่อสาร
แล้ว เกิดความเข้าใจผิด ตีความผิดบ่อยๆ การส่ือสารย่อมขาดประสิทธิภาพ ดังนั้น ในการเขียนบทซ่ึง
เป็นการสื่อสารผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง ที่ไม่ใช่การส่ือสารแบบเผชิญหน้า ผู้ส่งสารและผู้รับสารอยู่ต่าง
สถานท่ี ผู้เขียนบทไม่สามารถทราบปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ฟังได้ว่า ฟังแล้วเข้าใจหรือไม่ มีความรู้สึก
มีความคิดอย่างไร ผู้เขียนบทในฐานะผู้ส่งสารจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการเลือกใช้ภาษา ถ้อยค�ำ 
สำ� นวนใหเ้ หมาะสมเพ่ือให้สามารถสื่อสารได้อยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพและบรรลเุ ปา้ หมายทต่ี ้องการ
       ส�ำหรับการเลือกใช้ภาษา ข้อควรค�ำนึงในการเขียนบทตลอดจนแนวทางการเขียนบทรายการ
ประเภทตา่ งๆ นนั้ ไดก้ ลา่ วไวใ้ นหนว่ ยที่ 1 เรอ่ื งท่ี 1.3.2 และเรอ่ื งที่ 1.3.3 ดงั นนั้ ในเรอื่ งท่ี 6.4.1 นี้ จะกลา่ วยาํ้
เรอ่ื งการใชภ้ าษาเพอื่ การเขียนบทในบางประเด็นเทา่ น้ัน โดยขอให้ผ้เู ขียนบทมีหลักคดิ อยู่ในใจตลอดเวลา
ท่ีเขียนบท 4 ขอ้ ไดแ้ ก่
       1. 	บท เขยี นเพือ่ พูด
       2. 	บท เป็นการเขียนเพือ่ ส่อื สารระหวา่ งบคุ คล
       3. 	บท เปน็ การเขยี นเพอ่ื การฟังเพียงครั้งเดียว
       4. 	บท ใชเ้ สยี งเพ่อื ส่อื สารเท่านัน้
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51