Page 26 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 26
1-16 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
พัฒนาการปฏิบัติงานในองค์การหรือหน่วยงานอย่างทันทีทันใดในขณะน้ัน การวิจัยเชิงปฏิบัติการแตกต่าง
จากการวิจัยประยุกต์ท่ีการวิจัยเชิงปฏิบัติการศึกษาวิจัยเฉพาะองค์การหรือหน่วยงานหน่ึง มิได้มุ่งเน้นการน�ำ
ผลการวิจัยไปใช้สรุปอ้างอิงไปสู่ประชากรอ่ืน และมุ่งน�ำผลการวิจัยท่ีได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือปรับปรุง
พัฒนาการปฏิบัติงานอย่างทันทีทันใด ตัวอย่างเช่น การวิจัยปฏิบัติการในช้ันเรียน ซึ่งเป็นการวิจัยท่ีท�ำโดย
ครูผู้สอนในชั้นเรียน เพ่ือแก้ไขปัญหาท่ีเกิดข้ึนในช้ันเรียน และน�ำผลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน
หรือส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดีย่ิงขึ้น เพ่ือให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน เป็นการวิจัยที่ต้อง
ท�ำอย่างรวดเร็ว น�ำผลไปใช้ทันที อีกตัวอย่างหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการคือ การวิจัยจากงานประจ�ำ
ซ่ึงน�ำข้อมูลหรือประเด็นที่พบในการท�ำงานประจ�ำมาแปลงเป็นงานวิจัย โดยมีเป้าหมายส�ำคัญเพ่ือท�ำให้
การท�ำงานประจ�ำดีข้ึน มิได้มุ่งสร้างความรู้สากลหรือสร้างทฤษฎีใหม่
1.4 การวจิ ยั เชิงปฏบิ ัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เป็นการวิจัย
เพื่อมุ่งแก้ปัญหาชุมชนโดยให้สมาชิกของชุมชนเข้ามาร่วมท�ำวิจัยด้วย โดยคณะวิจัย ชุมชนและแกนน�ำ
ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการวิจัยทุกขั้นตอน ต้ังแต่ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมท�ำ ร่วมตรวจสอบ และร่วมรับ
ประโยชน์ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people-centered
development) และแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ (problem-learning process)
2. การจำ� แนกประเภทของการวิจยั ตามจดุ มงุ่ หมายของการวจิ ยั
ประเภทของการวิจัยท่ีจ�ำแนกตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1) การวิจัยเชิงบรรยาย 2) การวิจัยเชิงส�ำรวจ 3) การวิจัยเชิงอรรถาธิบาย และ 4) การวิจัยเชิงท�ำนาย หรือ
การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ ดังน้ี (Kumar, 1999, pp. 9-10; Neuman, 2000, pp. 21-23; Babbie, 2004,
pp. 87-89 อ้างถึงใน วรรณี แกมเกตุ, 2551, น. 29-30)
2.1 การวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมข้อมูล
สำ� หรบั บรรยายสภาพหรอื ใหร้ ายละเอยี ดเกย่ี วกบั บรบิ ท เหตกุ ารณ์ ปรากฏการณ์ ปญั หา บรกิ ารหรอื โครงการ
ตา่ ง ๆ เชน่ การศกึ ษาบทบาทขององคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถน่ิ ในการจดั การศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน การศกึ ษาปญั หา
และอุปสรรคในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา การศึกษาคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของนักเรียนหญิงและนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษา
2.2 การวิจัยเชิงส�ำรวจ (exploratory research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็น
ไปได้ (feasibility study) หรือการศึกษาน�ำร่อง (pilot study) ของโครงการ/การวิจัย หรือเป็นการศึกษา
เพื่อพัฒนาเทคนิค กระบวนการ เคร่ืองมือ ก�ำหนดแนวคิดใหม่ หรือตั้งสมมติฐานในการวิจัยต่อไปในอนาคต
เช่น การศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดหลักสูตรใหม่ การวิจัยโครงการน�ำร่องเพ่ือหารูปแบบการพัฒนา
ศักยภาพครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เรียนในการใช้ส่ือเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.3 การวิจัยเชงิ อรรถาธิบาย (explanatory research) เป็นการวิจัยท่ีมีจุดมุ่งหมายเพ่ืออธิบายหรือ
ท�ำความเข้าใจปรากฏการณ์ โดยมุ่งท่ีจะตอบค�ำถามว่าท�ำไม (Why) และอย่างไร (How) เช่น การศึกษา
สิ่งแวดล้อมทางบ้านว่ามีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอย่างไร ปัจจัยด้านครู และปัจจัย