Page 30 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 30

1-20 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

       7.3	 การวิจัยเชิงธรรมชาติ (naturalistic research) เป็นการวิจัยที่มีการรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้
ข้อมูลโดยตรงในสภาพที่เป็นจริง โดยไม่มีการจัดกระท�ำ (manipulation) ใด ๆ ท้ังส้ิน ข้อมูลส�ำหรับ
การวิจัยเชิงธรรมชาติเป็นพฤติกรรมที่เกิดข้ึนจริงตามธรรมชาติ นักวิจัยเชิงธรรมชาติต้องไปอยู่ในพื้นท่ี
ท่ีจะท�ำวิจัยโดยเริ่มสร้างความคุ้นเคยเพ่ือจะได้ศึกษาสภาพตามธรรมชาติของผู้ให้ข้อมูล

8. 	การจำ� แนกประเภทของการวิจยั ตามเวลาทใ่ี ช้ในการวจิ ัย

       ประเภทของการวิจัยท่ีจ�ำแนกตามเวลาท่ีใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การวิจัยแบบ
ตัดขวาง และการวิจัยระยะยาว ดังน้ี

       8.1	 การวจิ ยั แบบตดั ขวาง (cross sectional research) เป็นการวิจัยซึ่งอาศัยรูปแบบการวิจัยส�ำรวจ
โดยวางแผนการรวบรวมข้อมูลเพียงครั้งเดียวในช่วงมิติของเวลาตามปกติ การวิจัยตัดขวางมักได้รับ
การประยุกต์ใช้เพ่ือศึกษาประชากรที่มีขนาดใหญ่ โดยอาศัยการสุ่มตัวอย่างคร้ังเดียวเพ่ือให้ได้กลุ่มตัวอย่าง
ท่ีเป็นตัวแทนของประชากร

       8.2	 การวิจัยระยะยาว (longtitudinal research) เป็นการวิจัยซ่ึงอาศัยรูปแบบการวิจัยส�ำรวจโดย
วางแผนการรวบรวมขอ้ มลู หลายครง้ั ในชว่ งมติ ขิ องเวลา ชว่ งหา่ งของการรวบรวมขอ้ มลู แตล่ ะครงั้ อาจกำ� หนด
เป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปีก็ย่อมข้ึนกับจุดมุ่งหมายและปัญหาของการวิจัยเป็นส�ำคัญ อน่ึงการวิจัย
ระยะยาวยังหมายความรวมถึงการศึกษาแนวโน้ม (trend study) การศึกษาพัฒนาการ (growth study)
การศึกษากลุ่มตัวอย่างเดียวหลายครั้ง (panel study) และการศึกษาหลายกลุ่มตัวอย่างหลายคร้ัง (cohort
study)

       ส�ำหรับการวิจัยทางการศึกษาน้ัน เอกสาร ต�ำราต่าง ๆ ก็มีเกณฑ์ในการจ�ำแนกประเภทของการวิจัย
ทางการศึกษาแตกต่างกัน เช่น เบส และคาฮ์น (Best & Kahn, 2003, p. 22) กล่าวว่า การวิจัยทางการศึกษา
จะเก่ยี วข้องกบั การสังเกต การพรรณนา และการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทีเ่ กดิ ขนึ้ ภายใตส้ ถานการณ์ทีแ่ น่นอน
ดังน้ันการวิจัยทางการศึกษาจึงเป็นหน่ึงหรือส่วนผสมของการวิจัยหน่ึงในสี่ประเภทนี้ คือ การวิจัยเชิง
ประวัติศาสตร์ การวิจัยเชิงพรรณนา (เชิงปริมาณ) การวิจัยเชิงคุณลักษณะ/คุณภาพ และการวิจัยเชิงทดลอง
อารีย์ เจคอบส์ และโซเรนเซน (Ary, Jacobs, & Sorensen, 2010, p. 22) กล่าวว่า การวิจัยทางการศึกษา
แบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เวอร์มา และมัลลิค
(Verma & Mallick, 1999, pp. 10-11) แบ่งประเภทของการวิจัยทางการศึกษาออกเป็น การวิจัยบริสุทธิ์
(pure or basic research) การวิจัยประยุกต์ (applied or field research) การวิจัยปฏิบัติการ (action
research) และการวิจัยเชิงประเมิน (evaluation research)

       ในเร่ืองท่ี 1.1.2 น้ีจะแบ่งประเภทของการวิจัยทางการศึกษาตามลักษณะของข้อมูลเป็น 3 ประเภท
ใหญ่ ๆ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยผสมวิธี ดังน้ี

       1.	 การวจิ ัยเชิงปรมิ าณ เป็นการวิจัยที่ค้นหาความจริงโดยการเก็บข้อมูลเชิงตัวเลข ข้อมูลจะอยู่ใน
รูปของตัวแปร มีการก�ำหนดสมมติฐานความสัมพันธ์ของตัวแปรไว้ล่วงหน้า เคร่ืองมือในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลมีโครงสร้างและมีการตรวจสอบคุณภาพ ส่วนใหญ่ใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35