Page 29 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 29

แนวคิดเก่ียวกับการวิจัยทางการศึกษา 1-19

       5.3	 การวิจยั เชิงอนาคต (future research) เป็นการวิจัยเพ่ือส�ำรวจและศึกษาแนวโน้มท่ีเป็นไปได้
หรือน่าจะเป็นของปรากฏการณ์ในอนาคตของปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษา ทั้งด้านบวกและด้านลบ หรือ
ที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ เพ่ือหาแนวทางท่ีจะท�ำให้เกิดแนวโน้มท่ีพึงประสงค์ ตลอดจนป้องกันหรือ
ขจัดแนวโน้มท่ีไม่พึงประสงค์ให้หมดไป หรือหาแนวทางท่ีจะเผชิญแนวโน้มที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนระยะยาว การก�ำหนดนโยบาย การตัดสินใจ
การหายทุ ธวธิ ที จี่ ะไปสกู่ ารสรา้ งอนาคตทตี่ อ้ งการ เชน่ การศกึ ษาภาวะผนู้ ำ� ของผบู้ รหิ ารระดบั สงู ของกระทรวง
ศึกษาธิการในอนาคต

6. 	การจำ� แนกประเภทของการวิจัยตามแหลง่ ขอ้ มลู ท่ีใช้ในการวิจัย

       ประเภทของการวิจัยที่จ�ำแนกตามแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การวิจัย
ปฐมมาน การวิจัยทุติยมาน และการวิจัยอภิมาน ดังนี้

       6.1	 การวจิ ยั ปฐมมาน หรอื การวจิ ยั ปฐมภมู ิ (primary research) เป็นการวิจัยที่ใช้ข้อมูลจากแหล่ง
ก�ำเนิด หรือต้นตอผู้ให้ข้อมูล ผลการวิจัยมีความถูกต้องและทันสมัย เพราะผู้วิจัยเป็นผู้รวบรวมข้อมูล
โดยตรง

       6.2	 การวิจัยทุติยมาน หรือการวิจัยทุติยภูมิ (secondary research) เป็นการวิจัยที่ใช้ข้อมูลที่มี
ผู้รวบรวมไว้แล้ว เช่น อาจใช้ข้อมูลจากเอกสาร รายงานท่ีมีผู้จัดท�ำไว้แล้ว หรือใช้ข้อมูลที่เคยมีนักวิจัย
ท�ำวิจัยไว้แล้วมาเป็นข้อมูลท�ำการวิเคราะห์ด้วยวิธีที่แตกต่างออกไป เพ่ือตอบปัญหาวิจัยใหม่ที่ไม่ซ้ํากับ
งานวิจัยเดิม

       6.3	 การวิจัยอภิมาน (meta-analysis research) เป็นการวิจัยเพื่อสังเคราะห์ผลงานวิจัยหลาย ๆ
เร่ืองที่ตอบปัญหาวิจัยเดียวกัน เพ่ือให้ได้ข้อค้นพบท่ีเป็นองค์ความรู้โดยรวมเก่ียวกับเรื่องนั้น ๆ โดยข้อมูล
ส�ำหรับการวิเคราะห์อภิมานคือตัวรายงานวิจัยที่นักวิจัยน�ำมาสังเคราะห์

7. 	การจำ� แนกประเภทของการวิจัยตามการควบคมุ ตวั แปรเกิน

       ประเภทของการวิจัยที่จ�ำแนกตามการควบคุมตัวแปรเกิน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การวิจัยเชิง
ทดลอง การวิจัยก่ึงทดลอง และการวิจัยเชิงธรรมชาติ ดังน้ี

       7.1	 การวจิ ยั เชงิ ทดลอง (experimental research) เปน็ การวจิ ยั ทศ่ี กึ ษาคน้ ควา้ เกย่ี วกบั ความสมั พนั ธ์
ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดกระท�ำ (treatment) โดยมีการควบคุมตัวแปร
ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ให้รัดกุมตรงตามจุดประสงค์ที่จะศึกษา

       7.2	 การวิจัยกง่ึ ทดลอง (quasi-experimental research) เป็นการวิจัยที่คล้ายกับการทดลอง ไม่มี
การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (randomization) และ/หรือการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน (control extraneous
variables) หรือมีการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนได้บางตัว จึงไม่สามารถบอกความเป็นเหตุเป็นผลได้ชัดเจน
เหมือนการวิจัยเชิงทดลอง แต่มีความยืดหยุ่นและเป็นธรรมชาติมากกว่า
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34