Page 31 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 31
แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยทางการศึกษา 1-21
แบบมีโครงสร้าง ผู้วิจัยทดสอบสมมติฐาน หรือทฤษฎีด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ (empirical data) และการใช้
สถิติอนุมาน (inferential statistics) สรุปผลการวิจัยไปสู่ประชากร เขียนรายงานอย่างเป็นทางการ
การวิจัยทางการศึกษาท่ีจัดเป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่พบมาก ได้แก่
1.1 การวจิ ยั เชงิ ทดลอง (experimental research) และการวจิ ยั กง่ึ ทดลอง (quasi experimental
research) เป็นการวิจัยท่ีมุ่งศึกษาอิทธิพลของตัวแปรจัดกระท�ำ (treatment) ท่ีมีต่อตัวแปรตามโดยมี
การวางแผนการทดลอง (experimental design) เพอื่ ควบคมุ ความแปรปรวนทเ่ี กดิ ขนึ้ จากตวั แปรแทรกซอ้ น
(extraneous variables)
การวิจัยเชิงทดลอง เป็นการวิจัยที่ศึกษาค้นคว้าเก่ียวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ
(independent variables) หรือตัวแปรที่เป็นสาเหตุ (cause) ซึ่งเป็นการกระท�ำ (treatment) ว่ามีอิทธิพล
ต่อตัวแปรตาม (dependent variable) ซ่ึงเป็นตัวแปรหลักท่ีนักวิจัยสนใจศึกษามากน้อยเพียงใด โดยมีการ
ควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน (extraneous variables) ซึ่งเป็นตัวแปรท่ีมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามด้วย แต่
นกั วจิ ยั ไมต่ อ้ งการศกึ ษา หรอื ไมส่ นใจศกึ ษาในการวจิ ยั ครง้ั นนั้ เพราะนกั วจิ ยั สนใจศกึ ษาเฉพาะความสมั พนั ธ์
ระหวา่ งตวั แปรอสิ ระกบั ตวั แปรตามเทา่ นนั้ ดงั นน้ั นกั วจิ ยั จงึ ตอ้ งพยายามควบคมุ หรอื ขจดั อทิ ธพิ ลของตวั แปร
แทรกซ้อนเพื่อให้ได้ผลการวิจัยท่ีมีความตรง
ความเก่ียวข้องระหว่างตัวแปรท้ังสามประเภท แสดงได้ด้วยวงกลม 3 วง วงทับกันแสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พ้ืนที่ที่ตัวแปรต้นและตัวแปรตามทับซ้อนกัน แสดงถึงความแปรปรวนร่วม
(covariance) หรือปรมิ าณความแปรผันร่วมกันระหว่างตัวแปรท้งั สอง เรยี กอีกอย่างหนึ่งวา่ ความแปรปรวน
ที่อธิบายได้ (explained variance) หรือความแปรปรวนจากผลการทดลอง (experimental variance)
ตามหลักการวิจัยเรียกความแปรปรวนส่วนนี้ว่า ความแปรปรวนมีระบบ (systematic variance) ในการ
วิจัยความแปรปรวนของตัวแปรตามเป็นส่ิงที่นักวิจัยสนใจมากท่ีสุด ตามภาพจะพบว่า ความแปรปรวนใน
ตัวแปรตามถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก คือ ความแปรปรวนมีระบบ ท่ีสามารถอธิบายได้ด้วยตัวแปร
ต้น และนักวิจัยต้องการเพิ่มความแปรปรวนมีระบบให้สูงที่สุด (maximization of systematic variance)
ส่วนท่ีสอง คือ ความแปรปรวนแทรกซ้อน (extraneous variance) เป็นความแปรปรวนมีระบบชนิดหนึ่ง
ที่อธิบายได้ด้วยตัวแปรแทรกซ้อน อันเป็นตัวแปรที่นักวิจัยไม่สนใจศึกษาในการวิจัยคร้ังนี้ ความแปรปรวน
ส่วนน้ีเป็นส่วนปนเปื้อน (confound) ที่นักวิจัยต้องขจัดออก (partial out) โดยการควบคุมให้ความ
แปรปรวนแทรกซ้อนมีค่าคงที่ (control of extraneous variance) ส่วนท่ีสาม คือ ความแปรปรวนจาก
ความคลาดเคลื่อน (error variance) เป็นความแปรปรวนในตัวแปรตามท่ีเหลืออยู่ ที่ไม่สามารถอธิบายได้
ด้วยตัวแปรในการวิจัย เป็นความแปรปรวนหรือความแตกต่างที่เกิดจากความแตกต่างระหว่างบุคคล จาก
ความคลาดเคล่ือนในการวัด จากความล�ำเอียงของผู้ทดลอง และสาเหตุอ่ืน ๆ และนักวิจัยต้องการลด
ความคลาดเคลื่อนให้ตํ่าสุด (minimization of error) หรือเรียกว่าหลักการ MAX MIN CON ดังภาพที่
1.2 (Kerlinger, 1986; Kerlinger & Lee, 2000 อ้างถึงใน นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2552, น. 49-50)