Page 27 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 27
แนวคิดเก่ียวกับการวิจัยทางการศึกษา 1-17
ด้านนักเรียนมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
แตกต่างกันอย่างไร ปัจจัยใดมีอิทธิพลสูงสุด องค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร (ซึ่งประกอบ
ด้วย ความตระหนักในตนเอง การจัดการตนเอง ความตระหนักในสังคม และการจัดการ) มีอิทธิพล
ต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแตกต่างกันอย่างไร ปัจจัยใดมีอิทธิพลสูงสุด ปัจจัยระดับ
นักศึกษาปัจจัยใดมีอิทธิพลต่อการสอบผ่านชุดวิชาท่ีมีค�ำนวณของนักศึกษา มสธ. มากท่ีสุด
2.4 การวิจัยเชิงท�ำนาย หรือการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (predictive or correlation research) เป็น
การวิจัยท่ีมีจุดมุ่งหมายเพ่ือศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ เหตุการณ์ หรือตัวแปร เพื่อใช้ใน
การพยากรณ์หรือคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตโดยใช้ข้อมูลอนุกรมเวลา แล้วสร้างเป็นโมเดลหรือสมการ
เพื่อใช้พยากรณ์หรือท�ำนายปรากฏการณ์ในอนาคตโดยใช้ข้อมูลในอดีต เช่น สถิติจ�ำนวนนักศึกษาใหม่
ทส่ี มคั รเขา้ ศกึ ษาในมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าชในภาคตน้ และภาคปลายมแี นวโนม้ เปน็ แบบใด โมเดลใด
มีความถูกต้องในการพยากรณ์ช่วง 10 ปีข้างหน้า
3. การจำ� แนกประเภทของการวจิ ัยตามลกั ษณะของขอ้ มูล
ประเภทของการวิจัยท่ีจ�ำแนกตามลักษณะของข้อมูล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การวิจัย
เชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยผสานวิธี ดังน้ี
3.1 การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) เป็นการวิจัยท่ีมุ่งหาข้อเท็จจริงและข้อสรุป
เชิงปริมาณ เน้นการใช้ข้อมูลท่ีเป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบ และข้อสรุปต่าง ๆ
มีการใช้เครื่องมือท่ีมีความเป็นปรนัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสังเกต
แบบสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น และใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบปัญหาวิจัย
3.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) เป็นการวิจัยที่มุ่งแสวงหาความรู้ความจริงเพื่อ
ท�ำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมท่ีต้องการศึกษาตามธรรมชาติท่ีเป็นจริงในทุกมิติ โดยให้ความส�ำคัญ
กับข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด ความหมาย ค่านิยม หรืออุดมการณ์ของบุคคล ซึ่งมักเป็นข้อมูลเชิง
คุณลักษณะ หรือข้อความบรรยายลักษณะมากกว่าที่จะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ นักวิจัยจะต้องลงไปศึกษา
สังเกตกลุ่มบุคคลท่ีต้องการศึกษาโดยละเอียดทุกด้านในลักษณะเจาะลึก ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม
และการสมั ภาษณแ์ บบไมเ่ ปน็ ทางการเปน็ หลกั ในการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู การวเิ คราะหข์ อ้ มลู จะใชก้ ารวเิ คราะห์
เชิงเหตุผล การตีความ และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (inductive) เพื่อตอบปัญหาวิจัย
3.3 การวิจัยผสานวิธี การวิจัยผสมวิธี หรือการวิจัยแบบผสม (mixed methods research) เป็น
วิธีการวิจัยที่ผู้วิจัยใช้เทคนิค แนวทาง วิธีการ ผสมผสานร่วมกันระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ในการวิจัยเรื่องเดียวกัน โดยใช้จุดแข็งของการวิจัยหนึ่งไปแก้จุดอ่อนของอีกการวิจัยหน่ึง
4. การจำ� แนกประเภทของการวิจยั ตามระเบียบวิธีวจิ ยั
ประเภทของการวิจัยท่ีจ�ำแนกตามระเบียบวิธีวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การวิจัย
เชิงประวัติศาสตร์ การวิจัยเชิงบรรยาย หรือเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงทดลอง ดังน้ี