Page 91 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 91

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง 2-81

แบบ UDP ต้องรับผิดชอบตนเองในด้านความผิดพลาดทุกรูปแบบท่ีเกิดข้ึน ประกอบด้วย ความผิดพลาด
ด้านข้อมูลสูญหาย (data loss) ด้านความตรงของข้อมูล (data integrity) ด้านการจัดล�ำดับขั้นตอนข้อมูล
(data sequencing) และด้านการสูญหายของความต่อเน่ือง (connectivity loss) พอร์ตผู้ใช้ หรือพอร์ต
จดทะเบียนนี้ มีรหัสตัวเลขท่ีใช้ได้ต้ังแต่ ‘1024-49151’

                            ค) พอร์ตพลวัต และ/หรือพอร์ตส่วนตัว (dynamic and/or private
port) เป็นพอร์ตที่ใช้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดในการสื่อสารโดยใช้ TCP (transmission control
protocol or flow control mechanisms) มีรหัสตัวเลขท่ีใช้ได้ตั้งแต่ ‘49152-65535’ จัดว่าเป็นหมายเลข
พอร์ตที่มีความยาวสูงสุดในจ�ำนวนหมายเลขพอร์ตท้ัง 3 แบบ ผู้อ่านท่ีสนใจ ควรติดตามศึกษาจากเอกสาร
ของ IANNA (2019) ต่อไป

                       -	 เสน้ ทางไฟล์ (File path) เป็นตัวก�ำหนดทรัพยากรเอกรูป (URL) หรือที่อยู่
ของ URL (URL หรือ URL address) ส่วนสดุ ทา้ ยของ ‘องคป์ ระกอบหลัก’ ใน URL ทีก่ �ำหนดโดยองคก์ าร
Internet Assigned Numbers Authority (IANA) อันเปน็ หนว่ ยงานหนึ่งขององคก์ าร ICANN โดยใหค้ วาม
หมายวา่ เสน้ ทางไฟล์ หมายถงึ ขอ้ ความทรี่ ะบเุ สน้ ทางนำ� ไปสแู่ หลง่ ทอ่ี ยู่ (address) ของวรรณกรรมในอนิ เทอรเ์ นต็
หรอื ไฟล์ทน่ี ักวิจยั ตอ้ งการคน้ คนื หรอื ดงึ ข้อความบางสว่ นของไฟลม์ าใชป้ ระโยชน์ได้ ตัวอยา่ งของเส้นทางไฟล์
เชน่ ‘/videoplay’

                       4.2) ส่วนประกอบเสริมท่ีส�ำคัญ 2 ด้าน ของรหัส URL เน่ืองจากรหัส URL
แบบที่มีส่วนประกอบหลัก 3 ด้าน ยังมีข้อจ�ำกัดในการค้นคืนเอกสาร จึงมีการพัฒนาส่วนประกอบเสริมขึ้น
อีกหลายแบบ ในท่ีนน้ี ำ� เสนอเฉพาะสว่ นประกอบเสรมิ ท่ีส�ำคัญใช้กนั บอ่ ย 2 ส่วน ดังนี้

                       - 	 สว่ นชดุ ค�ำถาม หรอื การตามรอย หรือพารามเิ ตอร์ส (Query string or track
or parameters) เป็นค�ำสงั่ เกี่ยวกบั วธิ กี ารเขา้ ถงึ และจดั การไฟล์เอกสารหรือวรรณกรรมทตี่ อ้ งการ โดยใชค้ �ำ
ส่ังตามท่ี NCSA (National Center for Supercomputer Applications) ได้ออกแบบไว้
จุดสังเกตคือ ส่วนชุดค�ำถาม หรือการตามรอย หรือพารามิเตอร์ เป็นส่วนท่ีต้ังต้นด้วยเคร่ืองหมาย ‘ค�ำถาม
(question mark)’ หรอื สัญลักษณ์ ‘’

                       - 	 สว่ นจดุ ยึด หรอื ส่วนทเ่ี ปน็ เศษ (anchor or fragments) เป็นคำ� ส่ังเกย่ี วกับ
ความรู้ด้านวิธีการเฉพาะส�ำหรับการเข้าถึงเอกสารหรือวรรณกรรมท่ีสืบค้นได้ทางอินเทอร์เน็ต จัดว่าเป็นส่วน
ประกอบส่วนสุดท้ายของรหัส URL จุดสังเกตคือ ส่วนจุดยึด หรือส่วนที่เป็นเศษ เป็นส่วนที่ตั้งต้นด้วย
เครอ่ื งหมาย (hash mark) หรือสัญลักษณ์ ‘#’

                       กลา่ วโดยสรปุ สว่ นประกอบหลกั ของรหสั URL ทง้ั 5 ดา้ น แยกเปน็ สว่ นประกอบ
หลัก 3 ดา้ น ทใ่ี ช้กันมากและนกั วิจยั โดยท่ัวไปควรต้องรเู้ พื่อ ‘ค้นคืน (retrieve)’ เอกสารงานวจิ ยั ที่ตอ้ งการ
และส่วนประกอบเสริมท่ีใช้บ่อย 2 ด้าน ที่มีประโยชน์มากในกรณีที่นักวิจัยต้องการเขียนค�ำสั่งเพื่อจัดการ
เก่ียวกับไฟล์ ผู้ท่ีสนใจอาจศึกษาส่วนประกอบเสริมแบบอื่นด้วยตนเองเพ่ิมเติมจากเอกสาร Internet Engi-
neering Task Force (IETF), 2015; และ Microsoft Corporation, 2018 ต่อไป

                       4.3) การจดั ประเภทรหสั URL ประเดน็ สำ� คญั อกี ประการหนง่ึ ทน่ี กั วจิ ยั ทวั่ ไปควร
ต้องรู้ คอื การจดั ประเภทรหัส URL ซ่ึงนยิ มจัดแยก 2 แบบ คือ การจดั ประเภทตามลกั ษณะความเป็นมติ รกับ
ผู้ใช้ และการจดั ประเภทตามลกั ษณะการใชง้ าน ดังนี้
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96