Page 96 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 96

2-86 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

เรอ่ื งที่ 2.2.1 ความหมายและประเภทของวรรณกรรมทใ่ี ชใ้ นการวจิ ยั

       การเสนอสาระในตอนท่ี 2.1 เรื่องที่ 2.1.1 ความหมายและความส�ำคัญของการทบทวนวรรณกรรม
สรุปได้ว่า ‘วรรณกรรมโดยทั่วไป’ หมายถึง ‘ข้อเขียน หรือรายงานที่เสนอสาระทางวิชาการเฉพาะด้าน หรือ
รายงานวิจัย ซึ่งอาจอยู่ในรูปต้นฉบับลายมือเขียน วัสดุส่ิงพิมพ์ หรือโบราณวัตถุ หรือเอกสารวิชาการทั้ง
ประเภทเอกสารทผ่ี ลติ เปน็ ประจำ� ตามชว่ งเวลา หรอื เอกสารทผ่ี ลติ ใชเ้ ฉพาะคราว แตใ่ นเรอ่ื งที่ 2.2.1 นเ้ี ปน็ การ
เสนอสาระด้านความหมาย และประเภทของวรรณกรรม ในตอนท้ายของเร่ืองท่ี 2.2.1 นี้ เน้นสาระเฉพาะ
‘วรรณกรรมด้านการวัดและการประเมินผลการศึกษา’ ดังนี้

1. 	ความหมายของวรรณกรรมทีใ่ ช้ในการวิจัย

       ค�ำว่า ‘วรรณกรรม (literature)’ ซึ่งมีช่ือเรียกรวม ๆ อีกช่ือหน่ึงในการวิจัยว่า ‘เอกสารและงาน
วจิ ยั ’ หรือ ‘วรรณคด’ี ในวงการวิจัย หมายถงึ ผลงานวชิ าการประเภทรายงานวจิ ัย หรือบทความวิจยั รายงาน
การสังเคราะห์งานวิจัย และรายงานปริทัศน์งานวิจัย (research review) รวมท้ังหนังสือ/ต�ำราที่เก่ียวข้อง
กับการวิจัยและสถิติวิเคราะห์ นอกจากน้ียังรวมถึงวรรณกรรมวิชาการที่มีทฤษฎี และสาระตรงกับเรื่องที่
นักวิจัยต้องการน�ำไปใช้เป็นความรู้พ้ืนฐานในการวิจัย การจัดท�ำ หรือการจัดพิมพ์วรรณกรรม ท�ำได้ใน
รูปแบบต่าง ๆ รวม 5 แบบ รูปแบบแรก คือ การจัดพิมพ์ในรูปสื่อสิ่งพมิ พ์ (printed materials) ท่ีมีการเผย
แพร่อย่างกว้างขวางในวงวิชาการ เช่น หนังสือ/ต�ำรา วารสาร เอกสารวิชาการ บทความในนิตยสาร หรือ
คอลัมน์ในหนังสือพิมพ์รายวัน รูปแบบท่ีสอง คือ การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือการจัดท�ำในรูป
ส่ือเอกสารท่ีไม่มีการเผยแพร่ เช่น วิทยานิพนธ์ หรือรายงานวิจัย หรือเอกสารวิชาการ ท่ีผลิตข้ึนมีจ�ำนวน
จ�ำกัดเพ่ือใช้ประโยชน์เฉพาะหน่วยงานโดยไม่มีการพิมพ์เผยแพร่ รปู แบบทสี่ าม คือ การบันทึกในรูปสอื่ โสต
ทัศนูปกรณ์ เช่น รายงานวิจัยท่ีบันทึกลงในเทปบันทึกเสียง และวีดิทัศน์ รูปแบบท่ีสี่ คือ การบันทึกในรูป
เอกสารอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ (electronic documents) เช่น ฐานข้อมูลซีดีรอม (CD-ROM) จานแม่เหล็ก (diskette)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer networks) ไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) สารตามสาย (on-line mate-
rials) และรูปแบบท่ีหา้ คือ จารึกในถาวรวัตถุ เช่น การจารึกอักขระในแผ่นโลหะไม่เกิดสนิม เพ่ือบรรจุลง
ดาวเทียมท่ีมุ่งสื่อสารกับส่ิงมีชีวิตต่างดาว ลักษณะส�ำคัญของวรรณกรรมท้ัง 5 รูปแบบนี้มีอยู่เป็นจ�ำนวนมาก
(นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2538, 2543; Adams & Schvaneveldt, 1991; Cooper, 1984; Fraenkel & Wallen,
1993; Madsen, 1992; Neuman, 1991; Wiersma, 1991)

2. 	ประเภทของวรรณกรรมท่ใี ช้ในการวิจยั

       เพ่ือความสะดวกในการจัดเก็บและการค้นคืนวรรณกรรม จึงมีการจัดหมวดหมู่วรรณกรรมไว้แตก
ต่างกันตามเกณฑ์ท่ีใช้ในการจัดหมวดหมู่แยกเป็น 3 แบบ คือ การจัดหมวดหมู่ตาม 1) ลักษณะของ
วรรณกรรม 2) ลักษณะเน้ือหาสาระในวรรณกรรม และ 3) ลักษณะการจัดท�ำวรรณกรรม ดังน้ี
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101