Page 97 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 97
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2-87
2.1 การจัดหมวดหมู่ตามลักษณะของวรรณกรรม นักวิจัยใช้ลักษณะของวรรณกรรมเป็นเกณฑ์
จัดหมวดหมู่วรรณกรรมแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ วรรณกรรมอ้างอิงท่ัวไป วรรณกรรมปฐมภูมิ และ
วรรณกรรมทุติยภูมิ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.1.1 วรรณกรรมอา้ งองิ ทวั่ ไป (General References) วรรณกรรมอา้ งองิ ทว่ั ไป เปน็ วรรณกรรม
ที่ให้ข้อมูลสารสนเทศเก่ียวกับการผลิต/การพิมพ์วรรณกรรมทั้งหมดในศาสตร์แต่ละสาขาวิชา ข้อมูล
สารสนเทศจากวรรณกรรมอ้างอิงมีสาระส�ำคัญเฉพาะลักษณะวรรณกรรมแต่ละรายการ ที่ช่วยให้นักวิจัย
สามารถเสาะค้น และจัดหาวรรณกรรมท่ีต้องการได้ วรรณกรรมอ้างอิงท่ัวไปส่วนใหญ่มีข้อมูลเกี่ยวกับช่ือ
ผู้เขียน/ผู้แต่ง/ผู้วิจัย ชื่อบทความและช่ือวารสารวิชาการ หรือชื่อเอกสาร ข้อมูลเก่ียวกับปีท่ีพิมพ์ เล่ม ฉบับ
และหน้าของเอกสาร หรือข้อมูลช่ือโรงพิมพ์และเมืองท่ีพิมพ์ วรรณกรรมอ้างอิงทั่วไปบางประเภทมีรายงาน
สรุปของเอกสารหรือบทคัดย่อด้วย
วรรณกรรมอ้างอิงทั่วไป เฉพาะประเภทที่ส�ำคัญซึ่งใช้กันมากในวงการวิจัย ประกอบด้วย
วรรณกรรม 5 ประเภทดังนี้ 1) ดรรชนีวารสาร (periodical index) เช่น CIJE, ERIC 2) รายการเอกสาร
(literature list) รวมทั้งบัตรรายการ (card catalog) ฐานข้อมูลซีดีรอม (CD-rom) คู่มือการค้นหนังสือที่
อยู่ระหว่างการพิมพ์ (subject guide to book in print) 3) กลไกการสืบค้น (search engine) หรือการ
สบื คน้ ผา่ นเวบ็ (web search) เปน็ กลไกสำ� หรบั การคน้ หาเอกสารและบทความโดยใชบ้ รกิ ารทางอนิ เทอรเ์ นต็
(internet) เช่น Google Scholar 4) บทคัดย่องานวิจัย (research abstract) และ 5) บทคัดย่อบทความ
(article abstracts)
โดยทั่วไป นกั วจิ ยั ใชว้ รรณกรรมอา้ งองิ ทว่ั ไปเปน็ เครอ่ื งมอื สำ� หรบั การเสาะหา และการสบื คน้
วรรณกรรมท่ีต้องการ รวมท้ังใช้เป็นแหล่งข้อมูลส�ำหรับการอ้างอิง และบรรณานุกรมท้ายรายงาน นักวิจัย
ไมใ่ ชว้ รรณกรรมอา้ งองิ ทว่ั ไปเปน็ วรรณกรรมทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั การวจิ ยั และไม่นิยมอ้างอิงวรรณกรรมท่ัวไปใน
บรรณานุกรม หรือรายการเอกสารอ้างอิง การท่นี ิสิตนักศกึ ษาอ้างองิ Dissertation Abstract International
(DAI) หรอื อ้างองิ สาระจากบทคดั ยอ่ งานวจิ ยั จึงเป็นเรือ่ งท่ีไมส่ มควรทำ� อย่างยิง่
2.1.2 วรรณกรรมปฐมภมู ิ (Primary Literature) วรรณกรรมปฐมภมู ิ เปน็ วรรณกรรมทผ่ี เู้ ขยี น/
ผู้แต่ง/ผู้จัดท�ำ เสนอผลงานวิชาการ/งานวิจัยที่เป็นความคิดและประสบการณ์ตรง โดยมีการพิจารณา
ไตร่ตรองอย่างถ่ีถ้วน และบูรณาการมวลประสบการณ์ตรง รวมทั้งข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการศึกษา/
การวิจัยจริง มาจัดท�ำเป็นผลงานวิชาการ/ผลการวิจัย เนื้อหาสาระในวรรณกรรมปฐมภูมิจัดว่าเป็นเน้ือหา
สาระใหม่ที่เป็นข้อค้นพบใหม่ หรือเรียกว่าเป็นข้อมูลแหล่งปฐมภูมิ (primary source of data) จึงมี
ความเที่ยงและความตรงสูง กล่าวได้ว่าวรรณกรรมปฐมภูมิเป็นประโยชน์และมีคุณค่าสูงต่อการวิจัย นักวิจัย
ท่ีได้ศึกษาวรรณกรรมปฐมภูมิที่เป็นรายงานวิจัย ได้เรียนรู้ผลการวิจัยใหม่ รวมทั้งได้เรียนรู้การออกแบบ
วิจัย วิธีด�ำเนินการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลที่เป็นประโยชน์และทันสมัยจนมีความรู้
ความสามารถท�ำวิจัยได้อย่างมีคุณภาพ
วรรณกรรมปฐมภูมิท่ีส�ำคัญ ซ่ึงใช้กันมากในวงการวิจัย ประกอบด้วยวรรณกรรม 5 ประเภท
ดังนี้ 1) บทความทางวิชาการ (academic articles) 2) บทความสังเคราะห์บทความวิชาการ 3) บทความ