Page 102 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 102

2-92 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

ในการทดสอบ การวัด การประเมิน และการประเมินผลหรือการประเมินท่ีทันสมัย ถูกต้อง เที่ยงตรง และ
ใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าเครื่องมือและกระบวนการในอดีต ผลสืบเน่ืองจากความส�ำคัญของการวัดและ
การประเมินดังกล่าว ท�ำให้หลักสูตรการฝึกหัดครูทุกระดับต้องก�ำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระด้าน
การวัดและประเมินผลการศึกษา (Ajayi, 2018; Huitt, Hummel, & Kaeck, 2001; Kizlik, 2012, 2019;
Wiersma, 1991 และ Wiersma & Jurs, 1990)

       นอกจากความรู้ด้านการทดสอบ การวัด การประเมิน และการประเมินผลหรือการประเมิน (eval-
uation) ตามหน้าที่ครูผู้สอนท่ีเสนอข้างต้นแล้ว ครูผู้สอนตลอดจนนิสิตนักศึกษาสาขาการศึกษาในฐานะ
นักวิจัยด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา ยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมด้านการทดสอบ การวัด
การประเมิน และการประเมินผลหรือการประเมิน ว่าแตกต่างกันอย่างไรด้วย เพราะในการวิจัยนักวิจัยต้อง
สามารถระบุวรรณกรรมในด้านท่ีตรงตามความต้องการในการวิจัย ดังสาระสังเขปต่อไปนี้

       การวิจัยด้านการวัด การประเมิน และการประเมินผลหรือการประเมิน เม่ือแยกพิจารณาเฉพาะด้าน
เป็น 3 ด้าน จะเห็นความแตกต่างระหว่างงานวิจัยแต่ละด้านค่อนข้างชัดเจน ดังสาระสรุปจากเอกสารของ
พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2555; Ajayi, 2018; Huitt, Hummel, & Kaeck,
2001; Kizlik, 2012, 2019; Ochieng, 2018; Wiersma, 1991; Wiersma & Jurs, 1990; และ Williams,
2006 ดังต่อไปนี้

       1. 	การวัด (measurement) เป็นกระบวนการพิจารณาก�ำหนดโมเดลการวัด (measurement
model) การพัฒนาเคร่ืองมือวัด (development of measuring instruments) หรือแบบทดสอบ (test)
หรือมาตรวัดชนิดอ่ืน ๆ เพื่อก�ำหนดผลการวัดเป็นตัวเลขเชิงปริมาณในรูปคะแนนดิบ คะแนนมาตรฐาน และ
คะแนนตัวแปรแฝง (trait) ที่มีความถูกต้องตรงตามความเป็นจริง รวมท้ังการตรวจสอบคุณสมบัติจิตมิติ
(psychometric property) ของเครื่องมือวัด และ/หรือการสร้างเกณฑ์ (criteria) เพื่อแปลความหมาย
ผลการวัดของบุคคลโดยใช้เครื่องมือวัด (measurement instrument)

       การวิจัยด้านการวัด แยกตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ส�ำคัญได้เป็น 5 กลุ่ม คือ 1) การพัฒนาและ
ตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติ (psychometric property) ของเคร่ืองมือวัด/แบบวัด... และการใช้เคร่ืองมือ
วดั /แบบวดั ... รวมทงั้ คณุ สมบตั ทิ างจติ มติ ขิ องเครอ่ื งมอื วดั /ผลการวดั เมอ่ื เปรยี บเทยี บความแตกตา่ งระหวา่ ง
เพศ และอายุ หรือคุณลักษณะอื่น ๆ ของผู้เรียน 2) การพฒั นาเคร่ืองมอื วัดแบบส้นั (short form) และ/หรือ
เปรียบเทียบคุณภาพของเคร่ืองมือวัดแบบเดิม (แบบยาว) กับเคร่ืองมือวัดแบบสั้น 3) การวิจัยเพ่ือพัฒนา
เครอ่ื งมอื วดั ตวั แปรใหม่ เช่น ตัวแปร ‘ผลการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล’ ซ่ึงมีนิยามแตกต่างจาก ‘ผลการเรียนรู้ที่
ใช้กันในอดีต’ ตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์ (emotional quotient - EQ) ตัวแปรคะแนนคุณค่าเพิ่ม
(value-added score) หรือการวิจัยเพื่อปรับปรุงเคร่ืองมือวัดตัวแปรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้น
กว่าเดิม 4) การตรวจสอบความไมแ่ ปรเปล่ยี นของโมเดลการวดั ตวั แปร (validation of model invariance of
the measurement model) เชน่ ตวั แปรการสรา้ งงาน (job crafting) วา่ โมเดลการวดั มคี วามแตกตา่ งกนั อยา่ งไร
ระหว่างกลุ่มผู้เรียนท่ีมีระดับความตั้งใจเรียนต่างกัน ซ่ึงต้องใช้สถิติข้ันสูงประเภทโมเดลสมการโครงสร้าง
(structural equation modeling – SEM) ในการวเิ คราะหข์ อ้ มลู และไดผ้ ลการวเิ คราะหข์ อ้ มลู ทแี่ สดงหลกั ฐาน
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107