Page 105 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 105
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2-95
Crichlow, Rice, Cope, Kyaw, Mon, Kiguli, & Jung (2018) ผลงานของนักวิชาการดังกล่าวให้สาระ
ส�ำคัญท่ีสรุปและอธิบายได้ว่า ‘ความต้องการจ�ำเป็น (needs)’ มีความหมายซับซ้อนมากกว่าค�ำว่า ‘ความ
ต้องการ (want)’ และ ‘อุปสงค์ (demand)’ กล่าวคือ มนุษย์มีความต้องการ (want) และเต็มใจท่ีจะจ่าย
เงินเพื่อซ้ือสิ่งท่ีต้องการ ท้ัง ๆ ท่ีมิได้ขาดแคลนสิ่งน้ัน แต่ความต้องการตามนัยของอุปสงค์ (demand)
มีความเข้มมากกว่าความต้องการ (want) และเป็นอุปสงค์ของคนส่วนใหญ่ ส่วนความต้องการจ�ำเป็น
(needs) นอกจากจะเป็นส่ิงที่มนุษย์ต้องการ (want) และเป็นอุปสงค์ (demand) แล้ว ยังมีความจ�ำเป็นท่ี
ต้องได้ส่ิงที่ต้องการ เพราะการขาดแคลนสิ่งนั้นท�ำให้ไม่สามารถด�ำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิผล กล่าวได้ว่า
ระดับความเข้มของ ‘ความต้องการจ�ำเป็น’ มีค่าสูงสุด หากไม่ได้รับการตอบสนองอาจก่อให้เกิดปัญหา
ยุ่งยากในสังคมได้ ปัจจุบันจึงมีการพัฒนา ‘เทคนิคการประเมินความต้องการจ�ำเป็น (needs assessment
technique)’ เพ่ือระบุความต้องการจ�ำเป็น และจัดหาส่ิงที่เป็นความต้องการจ�ำเป็นเพ่ือมิให้เกิดปัญหาสังคม
โดยมี ‘กระบวนการประเมินความต้องการจ�ำเป็น’ หลายวิธี ทุกวิธีใช้หลักการเดียวกัน รวม 5 ข้ันตอน
เริ่มต้นด้วย 1) การระบุความต้องการจ�ำเป็น (needs identification) 2) การจัดล�ำดับความส�ำคัญของความ
ตอ้ งการจำ� เปน็ (needs prioritization) ซง่ึ ไดจ้ ากผลการวเิ คราะหข์ อ้ มลู เพอ่ื หาความแตกตา่ ง (gaps) ระหวา่ ง
ข้อมูลด้าน ‘สภาพที่เป็นจริง (what is)’ และ ‘สภาพท่ีควรต้องเป็น (what should be)’ 3) การวิเคราะห์
หาสาเหตุของความต้องการจ�ำเป็น (analysis of needs’ causes) แต่ละด้าน 4) การวิเคราะห์ทางเลือกใน
การตอบสนองความต้องการจ�ำเป็น (analysis of alternative responding to needs) แต่ละด้าน โดยการ
พัฒนากลุ่มเป้าหมายให้ได้รับการเติมเต็มจากสภาพที่เป็นจริงไปสู่สภาพที่ควรจะเป็น ซ่ึงน�ำไปสู่ข้ันตอน
สุดท้ายคือ 5) การแก้ปัญหาด้านความต้องการจ�ำเป็น (needs solution) ได้อย่างสมบูรณ์
การวิจัยด้านการประเมิน (assessment) นอกจากการแบ่งประเภทการประเมินตามกระบวนการ
ประเมินท่ีแตกต่างกันเป็นหลายแบบที่เสนอข้างต้นแล้ว ยังมีการจัดแบ่งประเภทของการประเมินตาม
วัตถุประสงค์การประเมินได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1) การประเมนิ ทางการศึกษา เป็นการประเมินส�ำหรับครูผู้สอน
ใช้ในการติดตามผลการเรียนการสอน 2) การประเมนิ ผลการพฒั นาทงั้ กอ่ น ระหวา่ ง และหลงั การดำ� เนนิ งาน
พฒั นาเฉพาะเรอื่ ง หรือการดำ� เนินงานตามกจิ วัตร โดยดำ� เนินการประเมนิ หลายระยะ ตง้ั แตก่ ารประเมินก่อน
การด�ำเนินงาน และการประเมินระหว่างการด�ำเนินงาน โดยประเมินเป็นระยะ ๆ เพ่ือน�ำผลการประเมินมาใช้
ในการปรับปรุงโครงการ และปรับปรุงคุณภาพการด�ำเนินงาน รวมทั้งการประกันคุณภาพและการประเมิน
หลังเสร็จสิ้นการด�ำเนินงาน 3) การพฒั นาเทคนคิ การประเมนิ ใหเ้ หมาะสมมากยง่ิ ขน้ึ เป็นการพัฒนาปรับปรุง
เทคนิคการประเมินให้เหมาะสม สามารถรองรับความเปล่ียนแปลงของศาสตร์ทางการศึกษาในยุคดิจิทัลได้
และ 4) การวจิ ยั เพอ่ื สงั เคราะหง์ านวจิ ยั ดา้ นการประเมนิ ซ่ึงช่วยให้ได้ผลสรุปจากงานวิจัยด้านการประเมินท่ี
น�ำมาสังเคราะห์ทั้งหมด ท่ีบ่งบอกถึงคุณภาพงานวิจัยด้านการประเมินทั้งงานวิจัยแต่ละเร่ือง และงานวิจัยทุก
เรื่องในภาพผลการประเมินรวมทุกเร่ือง ท�ำให้ได้องค์ความรู้ด้านตัวแปรก�ำกับ (moderating variables) ที่
เป็นสาเหตุท�ำให้งานวิจัยแต่ละเรื่องมีผลการวิจัยแตกต่างกัน อันเป็นประโยชน์เชิงนโยบายในการพัฒนา
ผลงานต่อไป