Page 110 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 110
2-100 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
1.2 วัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาและสังเคราะห์สารสนเทศจากวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง วัตถุประสงค์
ขอ้ น้ีมคี วามสมั พนั ธ์เช่อื มโยงกับวัตถุประสงค์ขอ้ 1.1 ซึ่งนักวจิ ยั ตอ้ งใช้วตั ถปุ ระสงคข์ อ้ 1.1 เป็นกรอบสำ� หรบั
การศึกษาสังเคราะห์ เพื่อประมวลสาระที่ได้จากวรรณกรรมที่เก่ียวข้องให้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนดไว้
เพราะการศกึ ษาสงั เคราะหส์ าระจากวรรณกรรมทเ่ี กย่ี วขอ้ งเมอื่ มวี ตั ถปุ ระสงคแ์ ตกตา่ งกนั มรี ปู แบบการศกึ ษา
และสังเคราะห์ท่ีแตกต่างกันด้วย ตัวอย่างเช่น การศึกษาสังเคราะห์วรรณกรรมประเภทรายงานวิจัยที่
เก่ยี วขอ้ งกับการวจิ ัยครัง้ น้ี ตอ้ งศึกษาสาระจากงานวจิ ัยทง้ั เรอื่ ง และสังเคราะห์เปรียบเทยี บสรุปใหเ้ หน็ ปัญหา
วิจัย แบบการวิจัย กรอบแนวคิด วิธีด�ำเนินการวิจัย และผลการวิจัย ว่ามีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกัน
อย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร แต่การศึกษาและสังเคราะห์วรรณกรรมที่เก่ียวข้องเพ่ือใช้อภิปรายผลการ
วิจัย ส่วนใหญ่เพียงแต่ศึกษาและสังเคราะห์เฉพาะส่วนที่นักวิจัยต้องใช้เป็นรายงานผลการวิจัยเท่านั้น
1.3 วัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิจัยเกิดการเรียนรู้ สามารถใช้ประโยชน์ความรู้ในการท�ำวิจัยได้ดี
วตั ถปุ ระสงค์ขอ้ นีเ้ ป็นวตั ถปุ ระสงค์สำ� คญั ในการคน้ ควา้ วรรณกรรมทีเ่ ก่ียวขอ้ ง หากนักวิจยั ไม่เกดิ การเรียนรู้
จากการค้นคว้าวรรณกรรม นักวิจัยย่อมไม่มีความรู้เพิ่มและไม่สามารถด�ำเนินการวิจัยท่ีแตกต่างไปจากแบบ
ท่ีเคยท�ำ แต่ถ้านักวิจัยเกิดการเรียนรู้ นักวิจัยย่อมสามารถน�ำความรู้มาน�ำเสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และ
ใช้ประโยชน์ความรู้ที่ได้รับน�ำเสนอรายงานแสดงการสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัยท่ีมีความใหม่ มีการ
ออกแบบการวิจัยท่ีมีจุดเด่นดีกว่างานวิจัยในอดีตท่ีได้ค้นคว้ามา สามารถก�ำหนดและด�ำเนินการวิจัยต่อไป
ได้อย่างมีคุณภาพ
2. ขน้ั การระบวุ รรณกรรมทเ่ี ก่ยี วขอ้ งและแหลง่ วรรณกรรม
เมื่อนักวิจัยได้ก�ำหนดวัตถุประสงค์ของการค้นคว้าวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้องแล้ว และมีความรอบรู้
เกี่ยวกับลักษณะ ประเภท และแหล่งวรรณกรรมแล้ว นักวิจัยจึงสามารถระบุวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้องและ
แหล่งวรรณกรรมได้ แหล่งวรรณกรรมที่ส�ำคัญส�ำหรับนักวิจัยทุกคน และนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ที่ต้องท�ำวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร คือ ห้องสมุดหรือสถาบันที่ให้บริการด้านวิชาการ และ
กลไกการค้นคืน (retrieve) ทางอินเทอร์เน็ต ห้องสมุดมีวรรณกรรมประเภทเอกสาร งานวิจัย และสื่อชนิด
ต่าง ๆ ไว้บริการนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยซึ่งต้องการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ดังน้ันนักวิจัย
ที่ดีควรมีความรู้เร่ืองบริการท่ีทางห้องสมุดจัดไว้ ควรคุ้นเคยกับการใช้บริการห้องสมุด มิใช่เพียงแต่รู้ว่ามี
วรรณกรรมอยู่ในห้องสมุด แต่ต้องรู้วิธีค้นหา เข้าถึง และค้นคืนวรรณกรรมได้อย่างถูกต้อง เพราะรู้ว่า
วรรณกรรมท่ีต้องการอยู่ในส่วนใดของห้องสมุด หรืออยู่ในสถานท่ีใด
ปัจจุบันห้องสมุดส่วนใหญ่มีบริการสืบค้นวรรณกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยกลไกการค้นคืน
วรรณกรรม ซ่ึงจัดว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากท่ีสุดในการค้นหา เข้าถึง ค้นคืน และท�ำส�ำเนา
วรรณกรรมจากแหลง่ วรรณกรรมทวั่ โลก ดงั นนั้ นกั วจิ ยั ทด่ี คี วรมคี วามรแู้ ละมที กั ษะในการทอ่ งเวบ็ ไซต์ (web
site) หรือฐานข้อมูล (database) และการใช้กลไกสืบค้น (search engine) ที่เป็นประโยชน์เพื่อค้นคืน
(retrieve) วรรณกรรมท่ีต้องการ ในท่ีน้ีผู้เขียนให้รายช่ือเว็บไซต์และกลไกสืบค้นจากเอกสารของ Babbie
(2007) และจากประสบการณ์ของผู้เขียน ซ่ึงเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในการค้นคืนวรรณกรรมดังต่อไปนี้