Page 108 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 108
2-98 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
สรปุ
การเสนอสาระด้านความหมายและประเภทของวรรณกรรม เฉพาะส่วนที่ใช้ในการวิจัยด้านการ
ทบทวนวรรณกรรม เรม่ิ ตน้ จากความหมายของ ‘วรรณกรรม (literature)’ คำ� วา่ ‘วรรณกรรม’ หรอื ‘เอกสาร
และงานวิจัย’ หรือ ‘วรรณคดี’ ในวงการวิจัย หมายถึงผลงานวิชาการประเภทรายงานวิจัย หรือบทความวิจัย
รายงานการสังเคราะห์งานวิจัย และรายงานปริทัศน์งานวิจัย (research review) รวมทั้งหนังสือ/ต�ำราที่
เก่ียวข้องกับการวิจัยและสถิติวิเคราะห์ นอกจากน้ียังรวมถึงวรรณกรรมวิชาการท่ีมีทฤษฎี และสาระตรงกับ
เร่ืองที่นักวิจัยต้องการน�ำไปใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการวิจัย
เนื่องจากวรรณกรรมมีจ�ำนวนมาก ดังน้ันจึงมีการจัดประเภทวรรณกรรมเพื่อความสะดวกในการ
สืบค้นและการค้นคืนวรรณกรรม 3 แบบ คือ 1) การจัดประเภทวรรณกรรมตามลักษณะของวรรณกรรม
แบง่ เปน็ วรรณกรรมอา้ งองิ ทวั่ ไป วรรณกรรมปฐมภมู ิ และวรรณกรรมทตุ ยิ ภมู ิ 2) การจดั ประเภทวรรณกรรม
ตามลักษณะเน้ือหาในวรรณกรรม แบ่งเป็น วรรณกรรมประเภทงานวิจัย และวรรณกรรมที่ไม่ใช่งานวิจัย
และ 3) การจัดประเภทวรรณกรรมตามวิธีการผลติ แบ่งเป็น วรรณกรรมในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ และวรรณกรรม
ในรูปสื่อเอกสารที่ผลิตจ�ำนวนจ�ำกัดเพื่อใช้ในหน่วยงานโดยไม่มีการเผยแพร่
หัวข้อสุดท้ายเน้นความส�ำคัญของวรรณกรรมด้านการวัดและประเมินผลทางการศึกษา ซ่ึงจ�ำแนก
ออกเป็น 3 ประเภท คือ วรรณกรรมด้านการวัด วรรณกรรมด้านการประเมิน และวรรณกรรมด้านการ
ประเมิน(ผล) แต่ละประเภทแยกกลุ่มย่อยเป็นประเภทต่าง ๆ และในตอนท้ายของหัวข้อ เป็นการเน้นความ
แตกต่างระหว่าง ‘ค�ำส�ำคัญ’ 3 ค�ำ คือ ‘การวัด การประเมิน และการประเมิน(ผล)’ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
รวมท้ังการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมด้านการประเมิน และด้านการประเมิน(ผล) ด้วย
เพ่ือผู้อ่านจะได้เห็นความเหมือน/ความต่างชัดเจนมากขึ้น
หลงั จากศึกษาเน้อื หาสาระเรอ่ื งท่ี 2.2.1 แลว้ โปรดปฏิบตั กิ จิ กรรม 2.2.1
ในแนวการศกึ ษาหน่วยที่ 2 ตอนที่ 2.2 เร่ืองท่ี 2.2.1