Page 103 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 103

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง 2-93

ชัดเจนว่าควรพัฒนากลุ่มผู้เรียนกลุ่มใดจึงมีประสิทธิผลสูงสุด และ 5) การวิจัยเพื่อสังเคราะห์งานวิจัยด้าน
การวัด ซึ่งให้ผลการวิจัยท่ีบ่งบอกถึงคุณภาพของเครื่องมือวัด และผลการวัดจากงานวิจัยด้านการวัดแต่ละ
เรอ่ื ง และผลรวมงานวจิ ยั ดา้ นการวดั ทกุ เรอื่ ง ทำ� ใหไ้ ดอ้ งคค์ วามรดู้ า้ นตวั แปรกำ� กบั (moderating variables)
ท่ีเป็นสาเหตุท�ำให้งานวิจัยแต่ละเรื่องมีผลการวิจัยแตกต่างกัน อันเป็นประโยชน์เชิงนโยบายในการพัฒนาผล
งานด้านนั้นอย่างลึกซ้ึงต่อไป

       2. 	การประเมนิ (assessment) เปน็ กระบวนการมรี ะบบดา้ นการวดั สารสนเทศ (information) ความ
รู้ ทักษะ เจตคติ ความเช่ือ ฯลฯ ของผู้เรียนหรือกลุ่มเป้าหมายของการประเมิน เพื่อน�ำข้อมูลเชิงประจักษ์
(empirical data) มาวิเคราะห์ด้านจุดเด่นจุดด้อยของผู้รับการประเมิน เพ่ือน�ำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุง
การเรยี นรขู้ องผรู้ บั การประเมนิ หรอื ผเู้ รยี นทเ่ี ปน็ กลมุ่ เปา้ หมายของการประเมนิ การประเมนิ ตามความหมาย
ข้างต้นใกล้เคียงกับความหมายของการทดสอบ (test) ความแตกต่างอยู่ท่ี ‘การประเมินเป็นกระบวนการ
เพ่ือพัฒนาผู้เรียนในภาพรวม’ แต่ ‘การทดสอบเป็นกิจกรรมท่ีให้ผลการวัดของพฤติกรรมเฉพาะด้าน
หรือพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของการทดสอบ โดยอาจน�ำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียน หรือใช้
ประโยชน์อ่ืน ๆ ได้ตามความต้องการของผู้วัด’ โดยทั่วไปการประเมินมีขั้นตอนการด�ำเนินงาน 5 ข้ันตอน
ประกอบด้วย 1) ข้ันการวางแผน 2) ข้ันการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมิน 3) ขั้นการทดลองใช้
เคร่ืองมือประเมิน 4) ข้ันการตรวจสอบคุณภาพด้านคุณสมบัติทางจิตมิติ (psychometric properties) ของ
เครื่องมือประเมิน 5) ขั้นการด�ำเนินการประเมินโดยใช้เครื่องมือประเมิน และ 6) ขั้นการน�ำผลการประเมิน
ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้รับการประเมินต่อไป

       การประเมินมีหลายแบบ เช่น การประเมินเพ่ือวินิจฉัย (diagnostic assessment) การประเมิน
เพื่อพัฒนาระหว่างเรียน หรือชื่อเดิมคือ การประเมินระหว่างเรียน (formative assessment) การประเมิน
สรุปหลังเรียน (summative assessment) การประเมินแบบยืนยัน (confirmative assessment) การ
ประเมินเส้นฐาน (baseline assessment) และการประเมินความต้องการจ�ำเป็น (needs assessment)

       เนื่องจากการประเมินแต่ละแบบมีแนวคิดคล้ายกับรูปแบบการประเมินผล และมีความหมายตรง
ตามท่ยี อมรับกันทั่วไป ยกเวน้ ‘การประเมนิ ระหวา่ งเรยี น (formative assessment) ที่ใช้คู่กบั ‘การประเมิน
สรปุ หลงั เรยี น (summative assessment)’ และ ‘การประเมนิ ความตอ้ งการจ�ำเป็น (needs assessment)’
ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากการประเมินตามท่ีรับรู้กันทั่วไป ผู้เขียนจึงเพ่ิมสาระเก่ียวกับความหมายที่
แตกต่าง เพ่ือประโยชน์ในการมีความเข้าใจที่ถูกต้องทันสมัย และเพื่อประโยชน์ในการใช้การประเมินทั้งสอง
แบบอย่างถูกต้องตามหลักสากล รวม 2 กรณี ก่อนน�ำเสนอหัวข้อ ‘การวิจัยด้านการประเมิน’ ดังต่อไปนี้

            กรณีแรก ‘การประเมินระหว่างเรียน’ (formative assessment) และ ‘การประเมินสรุปหลัง
เรยี น (summative assessment)’ มีท่ีมาของชื่อภาษาไทยจากนักวัดและประเมินของไทยรุ่นแรก ซ่ึงแปลค�ำว่า
formative assessment = การประเมินระหว่างเรียน ให้มีความหมายแนวเดียวกับค�ำว่า summative
assessment = การประเมินสรปุ หลงั เรียน ส่ิงท่ีเหมือนกันในชื่อการประเมินท้ัง 2 แบบ คือ การระบุ (ช่วง)
เวลาท่ีใช้ในการประเมิน แต่ส่ิงที่แตกต่างกันในชื่อการประเมินทั้ง 2 แบบ คือ ‘การประเมินระหว่างเรียน’
ไม่มีเป้าหมายการประเมิน แต่ ‘การประเมินสรุปหลังเรียน’ มีเป้าหมายการประเมินที่ชัดเจนว่าเพื่อสรุปผล
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108