Page 104 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 104

2-94 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

การเรียนการสอน ประเด็นเร่ืองชื่อภาษาไทยของการประเมินท้ังสองแบบนี้ นอกจากจะมีนัยยะการตั้งช่ือที่
แตกต่างกัน ยังมีปัญหาใหญ่ด้านความหมายซ่ึงผู้เขียนได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวัด
และการประเมินผลรนุ่ ใหม่ท่านหน่งึ ซง่ึ ไม่ประสงค์ออกนาม นอกจากท่านจะชว่ ยตรวจสอบความถกู ต้องของ
เน้ือหาสาระในหน่วยที่ 2 ตามการขอความอนุเคราะห์ของผู้เขียนแล้ว ท่านยังกรุณาเพิ่มข้อเท็จจริงที่ส�ำคัญ
มากส�ำหรับวงการวัดและประเมินผลทางการศึกษาในประเด็นเรื่องชื่อภาษาไทย คือ ‘การประเมินระหว่าง
เรียน’ ด้วยดังข้อความท่ีคัดลอกจากอี-เมลต่อไปน้ี...

         “...ผมอยากรณรงค์ให้ใช้ค�ำไทยค�ำอ่ืน แทนค�ำว่า ‘การประเมินระหว่างเรียน’ เพราะหัวใจ
  ของ ‘formative assessment’ อยู่ท่ี ‘การให้ feedback ท่ีเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการ
  สอน’ ‘สมัยที่ผมเรียนเร่ืองน้ี (ระดับปริญญาเอก) อาจารย์ผู้สอนบอกว่า motto คือ ‘formative for
  feedback’ ‘สาระส�ำคัญอยู่ที่การเอาผลการประเมินไปใช้พัฒนา ไม่ใช่ระยะเวลาท่ีท�ำการประเมินใน
  ช่วงใดของการเรียน’ ตัวอย่างเช่น การสอบ quiz ระหว่างเรียน quiz 1, quiz 2, quiz 3 แล้วแจ้งผล
  แค่ว่าได้กี่คะแนน ผ่านหรือตก การสอบแบบน้ีไม่เป็น ‘formative assessment’ เพราะไม่ได้เอา
  ผลการสอบ quiz ท้ัง 3 ครั้ง ไปใช้พัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอน ในทางกลับกัน การสอบ O-NET
  ท่ีคนท่ัวไปมองว่าเป็น summative assessment แต่ถ้า 1) ครู ม.1 เอาผลการสอบ O-NET ป.6 มา
  ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพ่ือแก้มโนทัศน์ท่ีคลาดเคล่ือน (misconception) ของเด็ก ป.6 ที่จะ
  ขึ้นมาเรียน ม.1 เทอมต่อไป หรือ 2) คุณครู ป.6 เอาผลการการสอบ O-NET ป.6 มาปรับการเรียน
  การสอนเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเข้าใจท่ีคลาดเคลื่อนในกลุ่มเด็กท่ีก�ำลังจะข้ึนมาเรียนชั้น ป.6 หรือ
  3) สทศ. รายงานผลป้อนกลับของการสอบ O-NET ที่มากกว่าคะแนนรวม มีคะแนนแยกย่อย
  ให้ครูและเด็กรู้ว่ายังอ่อนเน้ือหาอะไร เพื่อเขาจะได้มีโอกาสปรับปรุงพัฒนาตนเอง การใช้ผลการสอบ
  แบบน้ี เป็น ‘formative assessment’ เต็ม ๆ ครับ ผมคิดว่า “formative/summative ตัดกันท่ี
  ‘use of assessment results’ ไม่ใช่ ‘time’ นะครับ...” (จากผู้ทรงคุณวุฒิ ถึงผู้เขียน เม่ือ 8
  กรกฎาคม 2562)

            นอกจากผู้เขียนจะได้เรียนรู้จากความปราถนาดีส่งค�ำอธิบายท่ีชัดเจนพร้อมท้ังตัวอย่างหลาย
แบบตามวิสัยผู้สอนท่ีมีความเป็นครูสูงของท่านผู้ทรงคุณวุฒิท่านน้ีแล้ว ท่านยังให้ความอนุเคราะห์ช่วยคิด
และเสนอค�ำแปลสำ� หรับการประเมนิ ทัง้ สองแบบวา่ “การประเมนิ เพื่อพัฒนา (formative assessment) และ
การประเมนิ เพอ่ื สรปุ ผล (summative assessment)” โดยระบวุ า่ ไมต่ อ้ งไปยดึ ตดิ กบั ชว่ งเวลาในการประเมนิ
เพราะจุดมุ่งหมายของการประเมินมีความส�ำคัญมากกว่า ซ่ึงผู้เขียนเห็นด้วยอย่างย่ิงกับข้อเสนอท่ีมีเหตุผล
ของท่าน และขอขอบพระคุณท่านไว้ ณ ท่ีน้ีเป็นอย่างสูง รวมท้ังขอเชิญชวนให้ผู้อ่านหน่วยท่ี 2 ร่วมใช้ค�ำแปล
ใหม่ท่ีสมเหตุสมผล เพ่ือมิให้เกิดมโนทัศน์ที่คลาดเคล่ือนในประเด็นนี้อีกต่อไปในอนาคต

            กรณีท่สี อง ‘การประเมนิ ความตอ้ งการจำ� เปน็ ’ ซ่ึงมีแนวคิด ความหมาย และวิธีการแตกต่าง
จากการประเมินทั่วไป และมีคุณประโยชน์อย่างย่ิงต่อการพัฒนา ผู้เขียนจึงอธิบายความหมายเฉพาะเรื่อง
เพม่ิ เตมิ โดยอา้ งองิ ผลงานของ สวุ มิ ล วอ่ งวาณชิ (2548) และ Kaufman, Rojas & Mayer (1993); Shilkofski,
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109