Page 113 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 113
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง 2-103
ใช้ค�ำส�ำคัญ หรือใช้สาขาวิชา เป็นเคร่ืองมือในการสืบค้นวรรณกรรม กรณีท่ีใช้ค�ำส�ำคัญนักวิจัยเชิงปริมาณ
ส่วนใหญ่นิยมใช้ “ช่ือตัวแปรตาม” เป็นค�ำส�ำคัญอันดับแรก จากน้ันจึงใช้ “ชื่อตัวแปรอิสระ” และ “ค�ำ หรือ
วลที ่แี สดงบรบิ ทในงานวจิ ัย” เป็นคำ� ส�ำคญั หรอื คำ� ค้น ในการสบื คน้ วรรณกรรม ตวั อย่างเช่น ถ้านกั วจิ ัยสนใจ
ศึกษาเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อครูผู้สอนกับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของเด็กวัยรุ่น ในเขต
กรุงเทพมหานคร” นักวิจัยอาจก�ำหนดค�ำค้น 4 ค�ำ คือ “ความสัมพันธ์” “ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน” “เจตคติ
ต่อครู” และ “เด็กวัยรุ่น” ในการสืบค้นวรรณกรรม ในกรณีการสืบค้นวรรณกรรมฉบับพิมพ์เป็นเล่ม โดย
การสบื คน้ ดว้ ยมอื นกั วจิ ยั จะไดร้ ายชอ่ื และขอ้ มลู ดา้ นการพมิ พข์ องวรรณกรรม ภายใตห้ วั ขอ้ ตามคำ� คน้ แตล่ ะ
หัวข้อ ในกรณีการสืบค้นโดยใช้กลไกการสืบค้นด้วยคอมพิวเตอร์ นักวิจัยจะได้ทั้งรายชื่อวรรณกรรมรวมท้ัง
รายช่ือเว็บไซต์ท่ีมีวรรณกรรมซึ่งมีค�ำค้นตามที่นักวิจัยก�ำหนดด้วย
3.1.2 การเลอื กวรรณกรรมทว่ั ไป กรณีท่ีนักวิจัยสืบค้นวรรณกรรมด้วยมือ นักวิจัยอาจเลือก
สืบค้นด้วยมือ จากบัตรรายการห้องสมุดท่ีเป็นบัตรเร่ือง (subject card catalog) ดัชนี (index) รายการ
เอกสาร บทคัดย่องานวิจัย หรือวรรณกรรมทั่วไปประเภทอื่น ๆ ซ่ึงน�ำไปสู่แหล่งท่ีอยู่ของวรรณกรรมที่
นักวิจัยต้องการ การสืบค้นวิธีนี้อาจมีข้อจ�ำกัดเน่ืองจากรายช่ือวรรณกรรมท่ีได้อาจไม่มีวรรณกรรมอยู่ใน
ห้องสมุด หรือนักวิจัยอาจเลือกสืบค้นโดยใช้กลไกการสืบค้นด้วยคอมพิวเตอร์ ซ่ึงน�ำไปสู่วรรณกรรมทั่วโลก
ท่ีมีฐานข้อมูลอยู่ในระบบกลไกการสืบค้นน้ัน วิธีนี้นักวิจัยจะได้รายชื่อเว็บไซต์นับหมื่นรายการ นักวิจัยควร
ฝึกประสบการณ์ในการอ่านสาระจากเว็บไซต์เพื่อตัดสินใจว่าควรติดตามค้นคืนวรรณกรรม หรือตัดทิ้งไป
จากรายการสืบค้น การสืบค้นวิธีนี้อาจมีข้อจ�ำกัดตรงท่ีบางเว็บไซต์ให้ท�ำส�ำเนาวรรณกรรมฉบับสมบูรณ์
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ส่วนใหญ่เป็นเว็บไซต์ท่ีให้แต่วรรณกรรมส่วนท่ีเป็นบทคัดย่อเท่านั้น หากต้องการ
วรรณกรรมฉบับสมบูรณ์ต้องเสียค่าใช้จ่าย
3.1.3 ปฏิบัตกิ ารสืบคน้ เมื่อนักวิจัยได้ค�ำค้น และตัดสินใจเลือกประเภทวรรณกรรมทั่วไปว่า
จะสืบค้นด้วยมือ หรือสืบค้นโดยใช้กลไกการสืบค้นด้วยคอมพิวเตอร์แล้ว การปฏิบัติการสืบค้นมีลักษณะ
แตกต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ ในการปฏิบัติการสืบค้นด้วยมือ นักวิจัยค้นรายการวรรณกรรมภายใต้ค�ำค้น
แต่ละค�ำ ส่วนในการปฏิบัติการสืบค้นโดยใช้กลไกการสืบค้นด้วยคอมพิวเตอร์ นักวิจัยระบุค�ำค้นลงใน
คอมพิวเตอร์ ได้ 3 วิธี แต่ละวิธีได้รายการค�ำค้นแตกต่างกันดังรายละเอียดต่อไปนี้
ก. การเชอ่ื มคำ� คน้ ดว้ ย “หรอื ” (“or”) โดยพมิ พค์ ำ� คน้ ทง้ั 3 คำ� และเชอ่ื มคำ� คน้ ดว้ ย ‘หรอื ’
ดงั น้ี ‘ผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี น หรอื เจตคติ หรือ เดก็ วัยรุ่น (academic achievement or attitude or adoles-
cence)’ กลไกการสืบค้นจะให้รายการวรรณกรรมทุกรายการที่มีค�ำค้น 1-3 ค�ำ ในชื่อเร่ือง กล่าวคือ รายการ
วรรณกรรมที่ได้มีจ�ำนวนมากประกอบด้วยวรรณกรรมรวม 7 ประเภท คือ วรรณกรรมท่ีชื่อเรื่องมีค�ำค้นว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) เจตคติ 3) เด็กวัยรุ่น 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติ 5) ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนและเด็กวัยรุ่น 6) เด็กวัยรุ่นและเจตคติ และ 7) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติและเด็กวัยรุ่น
ดังภาพ 2.5ก