Page 118 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 118
2-108 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ในการสืบค้นวรรณกรรม นักวิจัยนิยมสืบค้นหาเฉพาะวรรณกรรมใหม่ล่าสุดก่อน จากน้ันจึง
สบื ค้นย้อนหลงั จนกวา่ จะได้วรรณกรรมเทา่ จ�ำนวนทต่ี อ้ งการ ในภาพรวมนิยมสืบค้นวรรณกรรมประเภทงาน
วิจัยย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี เพราะงานวิจัยท่ีเก่ากว่า 5 ปี ค่อนข้างล้าสมัย ในกรณีการสืบค้นด้วยมือ นักวิจัย
ต้องเร่ิมหาจากดัชนีเล่มใหม่ล่าสุด แล้วค้นย้อนกลับไปเล่มก่อนหน้าเล่มแรก เป็นต้น ส�ำหรับกรณีสืบค้นด้วย
คอมพิวเตอร์ นักวิจัยก�ำหนดช่วงปีให้คอมพิวเตอร์สืบค้นตามที่ต้องการ
3.2 การคัดเลอื กขั้นตน้ ให้ได้วรรณกรรมตรงตามความต้องการ เม่ือนักวิจัยได้รายการวรรณกรรม
จากการสืบค้นวรรณกรรมแล้ว กิจกรรมที่ต้องท�ำขั้นต่อไป คือ การคัดเลือกวรรณกรรมขั้นต้นเฉพาะเร่ืองที่
ตรงตามความต้องการ ในข้ันน้ีนักวิจัยต้องศึกษาช่ือเร่ือง และบทคัดย่อ แต่ละรายการโดยการอ่านคร่าว ๆ
(skim reading) ว่าวรรณกรรมใดตรงตามความต้องการของนักวิจัย เพ่ือจะได้คัดเลือกวรรณกรรมรายการ
น้ันและน�ำไปจัดหาเอกสารวรรณกรรมต่อไป กรณีท่ีท�ำการวิจัยขนาดเล็กตามข้อก�ำหนดการเรียนการสอน
รายวิชา นักวิจัยควรคัดเลือกวรรณกรรมเฉพาะรายการท่ีตรงตามวัตถุประสงค์ และเก่ียวข้องกับงานวิจัยที่
จะท�ำ เช่น การจัดท�ำโครงการเสนอวิจัย (research proposal) นิยมคัดเลือกไว้มากท่ีสุดไว้ประมาณ 5-10
รายการ และการจดั ทำ� รายงานวจิ ยั (research report) นยิ มคดั เลอื กไวป้ ระมาณ 15-20 รายการ เมอื่ คดั เลอื ก
วรรณกรรมไว้แล้วต้องท�ำแผนภูมิ PRISMA แสดงกระบวนการคัดเลือกวรรณกรรมฯ ดังท่ีเสนอ
ข้างต้น
การน�ำเสนอแผนภูมิสายงาน (flow chart) เป็นการคัดเลือกวรรณกรรมจากงานวิจัยของ Joseph
& Stockton (2018) ตามการเสนอแผนภูมิแบบ PRISMA ซึ่งเริ่มต้นจากการค้นคืนวรรณกรรมจากฐาน
ข้อมูล
3.3 การจดั หาเอกสารวรรณกรรม เม่อื นกั วิจยั คดั เลือกรายการวรรณกรรมท่ีตอ้ งการได้แล้ว นักวิจัย
ต้องจัดท�ำบัตรบรรณานุกรม (bibliographical cards) ส�ำหรับงานวิจัยทุกเร่ือง ซึ่งท�ำได้ 2 วิธี วิธีแรก
การจัดท�ำด้วยมือ เป็นวิธีที่ใช้กันมานานต้ังแต่แรกเร่ิมมีการสังเคราะห์งานวิจัย โดยจดบันทึกรายละเอียด
การพิมพ์ของวรรณกรรมที่คัดเลือกไว้ลงในบัตรตามแบบการเขียนบรรณานุกรม ตัวอย่างเช่น กรณีเป็น
งานวิจัยจากวารสาร ต้องจดบันทึก ชื่อผู้วิจัย ปีท่ีพิมพ์ ช่ือเร่ือง ช่ือวารสาร เล่มท่ีพิมพ์ (volume) ฉบับท่ีพิมพ์
(number) และหน้าที่พิมพ์ กรณีเป็นหนังสือหรือต�ำรา ต้องจดบันทึก ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ชื่อหนังสือ ช่ือเมือง
และช่ือส�ำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ เป็นต้น การจัดท�ำบัตรบรรณานุกรมนี้ ต้องท�ำบัตรส�ำหรับวรรณกรรมแต่ละ
เรื่องที่คัดเลือกไว้ และวิธีท่ีสอง การจัดท�ำด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส�ำหรับการทบทวนวรรณกรรม และ
การท�ำรายงานวิจัย เช่น โปรแกรม “EndNote” ซึ่งโปรแกรมจะพิมพ์ข้อมูลบรรณานุกรมของวรรณกรรม
แต่ละรายการให้ โดยนักวิจัยไม่ต้องท�ำบัตรบรรณานุกรมเอง
ผู้อ่านที่สนใจซ้ือโปรแกรม EndNote สามารถติดต่อได้ที่ “EndNote Web” website ท่ี “http://
www.endnoteweb.com” ซึ่งจะมีไฟล์ให้ดาวน์โหลดท้ังโปรแกรมและคู่มือการใช้โปรแกรม ในกรณีท่ี
มหาวิทยาลัยมีบริการให้ดาวน์โหลดโปรแกรม EndNote ได้ ผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้โปรแกรม
ได้ฟรีจากหน่วยงาน Information Services, University of Brighton และติดต่อขอรับการอบรมออนไลน์
ได้ท่ีเว็บไซต์ http://www.brighton.ac.uk/is/training/