Page 120 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 120

2-110 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

หรือโครงสร้างหลักของวรรณกรรมได้ถูกต้อง รอบรู้รูปแบบการเขียนและสามารถเลือกเจาะอ่านวรรณกรรม
เฉพาะประเด็นที่ต้องการได้ ท่ีส�ำคัญอย่างย่ิงคือต้องอ่านอย่างเข้าใจความหมายได้มากกว่าที่ปรากฏ (read
between the lines) และสามารถน�ำความรู้จากการอ่านไปคิดหาเหตุผล คิดต่อยอด และคิดหลากหลาย
อันจะน�ำไปสู่แนวนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ในการวิจัยครั้งใหม่ต่อไป

       4.3 	การจดบนั ทกึ สาระทเ่ี ปน็ ความรสู้ ำ� คญั ทไี่ ดจ้ ากการอา่ นวรรณกรรม เนอ่ื งจากวรรณกรรมมหี ลาย
ประเภท การจดบันทึกสาระท่ีเป็นความรู้ส�ำคัญที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมอาจมีลักษณะแตกต่างกันใน
รายละเอียดตามประเภทของวรรณกรรม แต่มีหลักการจดบันทึกสาระเป็นแบบเดียวกัน (นงลักษณ์ วิรัชชัย,
2543; Babbie, 2007; Cooper & Hedges, 1994; Kerlinger & Lee, 2000; Rosenthal & Rosnow,
1991) สรุปได้ 3 ประการ คือ 1) ต้องแน่ใจว่าเข้าใจเนื้อหาสาระของวรรณกรรมอย่างชัดแจ้งก่อนจด
2) จดบันทึกด้วยส�ำนวนของตนตามความเข้าใจ โดยไม่คัดลอกข้อความจากวรรณกรรมต้นฉบับ 3) มีระบบ
การจดบันทึกจากวรรณกรรมประเภทเดียวกันให้มีประเด็นการจดตรงกัน โดยแยกจดประเด็นหนึ่งประเด็น
ลงบัตรบันทึกหนึ่งใบ เพ่ือความสะดวกในการจัดเรียงบัตรบันทึกในข้ันการสังเคราะห์สาระ 4) มีระบบจัดเก็บ
บัตรบันทึก เรียงตามประเด็นท่ีจด จัดรวมเป็นชุดส�ำหรับวรรณกรรมแต่ละเรื่อง และจัดเก็บตามประเภทของ
วรรณกรรม

       เน่ืองจากต�ำราวิจัยโดยทั่วไป อธิบายวิธีการจดบันทึกสาระจากการอ่านวรรณกรรมไว้น้อย ดังน้ัน
ผู้เขียนจึงน�ำเสนอแนวทางการจดบันทึกสาระจากวรรณกรรมประเภทงานวิจัย ซึ่งเป็นวรรณกรรมประเภทที่
นักวิจัยทุกคนต้องศึกษาไว้ด้วย โดยมีวิธีการหลัก คือ การจดบันทึกเน้ือหาสาระจากรายงานวิจัย โดยแยก
จดบันทึกเป็นตอน ๆ ตามหัวข้อส�ำคัญในรายงานวิจัยท่ีนักวิจัยต้องการใช้ และจดบันทึกลงในบัตรขนาด
5 × 8 นิ้ว หัวข้อละบัตร การจดบันทึกสาระแยกหัวข้อละบัตร เพ่ือให้นักวิจัยสามารถน�ำบัตรท่ีจดบันทึกสาระ
หัวข้อเดียวกันจากทุกเรื่องมาสังเคราะห์เปรียบเทียบกันได้สะดวก บัตรท่ีจดเน้ือหาสาระน้ีคือ บัตรบันทึก
(note cards) มีหลักการ และวิธีการจดบันทึกเนื้อหาสาระที่ได้จากการอ่านรายงานวิจัยลงในบัตรบันทึกดังนี้

            4.3.1 หลักการ บัตรบันทึกส�ำหรับวรรณกรรมแต่ละเรื่องรวมเรียกว่า บัตรบันทึก 1 ชุด
ประกอบด้วยบัตรรวม 6 ใบ บัตรใบแรก เรียกว่าบัตรบรรณานุกรม บัตรใบที่ 2-6 เรียกว่า บัตรบันทึก บัตร
ทุกใบมีรหัสในรูปแบบ ‘รหัสรายงานวิจัย/รหัสบัตร’ อยู่ที่มุมขวาบนของบัตร บัตรบันทึกใบหน่ึงจดบันทึก
สาระเพียงหนึ่งประเด็น ท้ังน้ีประเด็นการจดบันทึกจากรายงานวิจัยทุกเรื่องควรเป็นแบบเดียวกัน โดยทั่วไป
มีการจดบันทึกสาระจากรายงานวิจัยรวม 5 ประเด็น จึงมีบัตรบันทึก 5 ใบ (ไม่นับบัตรบรรณานุกรม)

            4.3.2 วิธีการ การจดบันทึกสาระจากรายงานวิจัยแต่ละเรื่อง มีวิธีการจดบันทึกแตกต่างกัน
ตามประเภทของบัตร และมีวิธีการจัดท�ำบัตรบันทึกเพิ่มเติม รวมทั้งการจัดเก็บบัตร ดังนี้

                1) การจดบนั ทกึ ในบัตรบรรณานุกรม จดรหัสในรูปแบบ ‘รหัสรายงานวิจัย/รหัสบัตร’
ไว้ท่ีมุมขวาบนของบัตรบรรณานุกรม ตัวอย่างเช่น มุมขวาบนของบัตรบรรณานุกรมของรายงานวิจัยเร่ืองที่
5 จะมีรหัส 005/1 เพราะบัตรบรรณานุกรมเป็นบัตรใบแรกของบัตรบันทึก สาระท่ีนักวิจัยจดบันทึกในบัตร
บรรณานุกรม คือ รายการบรรณานุกรมของรายงานวิจัยตามรูปแบบท่ีนักวิจัยต้องใช้ เช่น รูปแบบ
บรรณานุกรมของ American Psychological Association (APA), Turabian (University of Chicago)
หรือรูปแบบที่สถาบันต้นสังกัดของนักวิจัยก�ำหนดไว้
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125