Page 119 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 119
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง 2-109
กิจกรรมท่ีต้องท�ำหลังจากได้บัตรบรรณานุกรมมาแล้ว คือการเข้าถึงวรรณกรรมท่ีคัดเลือกไว้ โดย
อาจคน้ วรรณกรรมนนั้ จากหอ้ งสมดุ หรอื ในกรณสี บื คน้ ดว้ ยคอมพวิ เตอรอ์ าจเปดิ ไฟลว์ รรณกรรมจากเวบ็ ไซต์
มาศึกษา ท้ังน้ีนักวิจัยต้องอ่าน/ศึกษาสาระในวรรณกรรมนั้นอย่างคร่าว ๆ เร็ว ๆ เพื่อพิจารณาให้แน่ใจว่า
วรรณกรรมน้ันมีสาระเกี่ยวข้องกับการวิจัยและตรงตามวัตถุประสงค์ท่ีต้องการ เมื่อแน่ใจแล้วจึงด�ำเนินการ
จัดยืมหรือถ่ายส�ำเนาวรรณกรรม หรือในกรณีสืบค้นด้วยโปรแกรม EndNote โปรแกรมจัดท�ำส�ำเนาให้
นักวิจัยจัดเก็บในห้องสมุดเฉพาะที่สร้างข้ึนด้วยโปรแกรม
4. ขนั้ การอา่ นและจดบนั ทึกสาระจากวรรณกรรม
กิจกรรมส�ำคัญที่เป็นหัวใจของการค้นคว้าวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง มี 3 กิจกรรม คือ การอ่านแบบ
พินิจพิเคราะห์ เพ่ือประเมินคุณภาพของวรรณกรรม การอ่านแบบคิดวิเคราะห์เพ่ือรวบรวมสาระที่เป็น
ความรู้ส�ำคัญ และการจดบันทึกสาระที่เป็นความรู้ส�ำคัญที่รวบรวมได้จากวรรณกรรมแต่ละรายการ แต่ละ
กิจกรรมมีแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้
4.1 การอา่ นแบบพนิ จิ พเิ คราะห์ เพอ่ื ประเมนิ คณุ ภาพของวรรณกรรม การอ่านวรรณกรรมในข้ันนี้
เป็นการอ่านเพื่อประเมินคุณค่าของวรรณกรรม ผลการประเมินคุณค่าของวรรณกรรม นอกจากจะเป็น
ประโยชนต์ อ่ นกั วจิ ยั ในการคดั เลอื กวรรณกรรมไปใชแ้ ลว้ ยงั ชว่ ยใหน้ กั วจิ ยั ไดแ้ นวทางวา่ ควรใหน้ า้ํ หนกั ความ
ส�ำคัญกบั วรรณกรรมแต่ละเรอื่ งในการน�ำไปใชป้ ระโยชนต์ ่างกันอย่างไรด้วย สำ� หรับการประเมินคณุ ภาพของ
วรรณกรรมนั้น Bogdan and Biklen (1992) ให้หลักการประเมินคุณค่าเอกสาร และงานวิจัยเชิงคุณภาพ
โดยใช้การวิพากษ์ภายนอก (external criticism) ได้แก่การประเมินรูปลักษณ์ของเอกสารและรายงานวิจัย
และความน่าเช่ือถือของผู้เขียน/ผู้วิจัย และใช้การวิพากษ์ภายใน (internal criticism) ได้แก่ การประเมิน
ความถูกต้องตามหลักการวิจัย ความสมเหตุสมผล ความสัมพันธ์เช่ือมโยง และความเป็นไปได้ในการใช้
ประโยชน์ ส่วน Fraenkel and Wallen (1993) และ Kirk (1995, 2013) ให้กรอบการประเมินคุณภาพด้าน
ความตรงของงานวจิ ยั เชงิ ปรมิ าณรวม 4 ดา้ น คอื 1) ความตรงภายใน (internal validity) หมายถงึ คณุ สมบตั ิ
ของงานวิจัยท่ีตอบค�ำถามวิจัยได้อย่างถูกต้องชัดเจนตามหลักการวิจัย 2) ความตรงภายนอก (external
validity) หมายถึงคุณสมบัติของการวิจัยท่ีสรุปอ้างอิงผลการวิจัยไปสู่กลุ่มประชากรเป้าหมายของการวิจัย
ได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ 3) ความตรงด้านการสรุปทางสถิติ (statistical conclusion validity)
หมายถงึ คณุ สมบตั ขิ องงานวจิ ยั ทม่ี กี ารเลอื กใชส้ ถติ วิ เิ คราะหถ์ กู ตอ้ งเหมาะสม มกี ระบวนการวเิ คราะหส์ มบรู ณ์
และแปลความหมายสรุปอย่างถูกต้องชัดเจนและตรงประเด็น และ 4) ความตรงในด้านการวัดตัวแปร
โครงสร้างเชิงทฤษฎี (validity of the measured constructs) หมายถึงคุณสมบัติของงานวิจัยที่มีการวัด
ตัวแปรโครงสร้างเชิงทฤษฎีอย่างถูกต้อง ตรงตามท่ีต้องการ
4.2 การอา่ นแบบคดิ วเิ คราะหเ์ พอื่ รวบรวมสาระทเ่ี ปน็ ความรสู้ ำ� คญั กจิ กรรมขนั้ นมี้ คี วามสำ� คญั มาก
ท่ีสุดส�ำหรับการค้นคว้าวรรณกรรม นักวิจัยทุกคนควรฝึกทักษะการอ่านแบบคิดวิเคราะห์ให้สามารถอ่าน
วรรณกรรมได้ด้วยความเข้าใจลึกซ้ึงและแตกฉาน Babbie (2007) และ Kerlinger and Lee (2000) ให้
หลักการอ่านไว้ว่า นักวิจัยต้องรู้จักวรรณกรรมท่ีจะอ่านอย่างถ่ีถ้วน รู้วิธีการอ่าน สามารถจับแก่นของเรื่อง