Page 121 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 121

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง 2-111

                2) การจดบนั ทกึ ในบตั รบนั ทกึ จดรหัสในรูปแบบ ‘รหัสรายงานวิจัย/รหัสบัตร’ ไว้ท่ีมุม
ขวาบนของบัตรบันทึกทุกใบในชุดของบัตรบันทึกท้ัง 6 ใบ ส�ำหรับงานวิจัยหน่ึงเร่ือง โดยบัตรทุกใบใช้รหัส
รายงานวิจัยเดียวกันแต่รหัสบัตรต่างกัน ตัวอย่างเช่น บัตรบรรณานุกรมของรายงานวิจัยเร่ืองที่ 5 ใบแรกมี
รหัส 005/1 เป็นบัตรบรรณานุกรมของงานวิจัย ส่วนบัตรบันทึกท่ีเหลืออีก 5 ใบ ใช้บันทึกสาระจากงานวิจัย
โดยบัตรทุกใบมีรหัสงานวิจัยเหมือนกัน แต่มีรหัสหมายเลขของบัตรเรียงต่อเนื่องกันไป คือ 005/2, 005/3,
005/4, 005/5 และ 005/6 ตามล�ำดับ สาระท่ีนักวิจัยจดบันทึกในบัตรบันทึก ประกอบด้วยเนื้อหาสาระท่ี
นักวิจัยสรุปความ หรือถอดความไว้ตามประเด็นหรือหัวข้อส�ำคัญในรายงานวิจัย เช่น บตั รบนั ทกึ รหสั 005/2
เป็นบัตรบันทึกสาระหัวข้อ ‘ปัญหาวิจัยและวัตถุประสงค์วิจัย’ โดยอาจบันทึกเหตุผลท่ีท�ำวิจัยหรือความเป็น
มาของปัญหาวิจัยด้วย บัตรบันทึกรหัส 005/3 เป็นบัตรบันทึกสาระหัวข้อ ‘ทฤษฎีที่ใช้ กรอบแนวคิด และ
สมมติฐานวิจัย’ บัตรบนั ทึกรหัส 005/4 เป็นบัตรบันทึกสาระหัวข้อ ‘วิธีด�ำเนินการวิจัย’ ประกอบด้วยสาระ
เกี่ยวกับนิยามตัวแปร ลักษณะและคุณภาพเครื่องมือวิจัย วิธีการรวบรวมข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
บัตรบันทึกรหัส 005/5 เป็นบัตรบันทึกสาระหัวข้อ ‘ผลการวิจัย’ โดยจดบันทึกข้อค้นพบจากการวิจัยเรียง
ตามวัตถุประสงค์วิจัย และบัตรบันทึกรหัส 005/6 เป็นบัตรบันทึกสาระหัวข้อ ‘อภิปรายผลการวิจัยและ
ข้อเสนอแนะ’ ดังภาพที่ 2.9 ทั้งนี้การจดบันทึกสาระลงในบัตรบันทึกทุกใบ ควรต้องเป็นการจดบันทึกสาระ
สรปุ ตามความเขา้ ใจดว้ ยภาษาของนกั วจิ ยั เอง ไมค่ ดั ลอกขอ้ ความ ยกเวน้ กรณที เี่ ปน็ ขอ้ ความสำ� คญั ทต่ี อ้ งการ
น�ำไปอ้างอิงทุกตัวอักษร ซึ่งจะต้องจดเลขหน้าของเอกสารด้วย

                                  005/1

                                  005/2

รายงานวิจัย                  005/3                                      บัตรบันทึก
                           005/4

                           005/5

             ‘บรรณานุกรม’  005/6
                                         บัตรบรรณานุกรม

ภาพท่ี 2.9 บตั รบรรณานกุ รม และบัตรบนั ทกึ ในชุดวรรณกรรมเรือ่ งท่ี 005

                3) การจดบนั ทกึ ความคดิ เหน็ เพมิ่ เตมิ กรณีที่นักวิจัยผู้จดบันทึกมีข้อวิจารณ์ ข้อสังเกต
หรือประเด็นที่ต้องการศึกษาเพ่ิมเติม นักวิจัยอาจจดบันทึกเป็นความคิดเห็นเพิ่มเติมลงในบัตรบันทึกแต่ละ
ใบได้ โดยบันทึกเป็นหมายเหตุหรือใช้หมึกคนละสีไว้ตอนล่างของบัตรบันทึก เพ่ือแสดงว่าเป็นความคิดเห็น
ของผู้จดบันทึกเพิ่มเติม
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126