Page 124 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 124

2-114 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

วรรณกรรมท่ัวไปประเภท ดัชนี (index) รายการเอกสาร บทคัดย่องานวิจัยซ่ึงน�ำไปสู่แหล่งท่ีอยู่ของ
วรรณกรรมท่ีนักวิจัยต้องการ และตอนที่สาม-การปฏิบัติการสืบค้น กรณีที่ใช้การค้นคืนด้วยโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ ใช้วิธีการเชื่อมค�ำค้นซึ่งใช้กันมาก 3 แบบ คือ ค�ำค้น ‘และ (and)’ ‘หรือ (or)’ และ
‘วลี (phrase)’ นกั วจิ ยั สว่ นใหญส่ บื คน้ หาเฉพาะวรรณกรรมใหมล่ า่ สดุ กอ่ น จากนนั้ จงึ สบื คน้ ยอ้ นหลงั จนกวา่
จะได้วรรณกรรมเท่าที่ต้องการ โดยท่ัวไปนิยมสืบค้นวรรณกรรมย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี เพราะวรรณกรรม
ประเภทงานวจิ ยั ทท่ี ำ� มานานเกนิ กวา่ 5 ปี จดั วา่ เปน็ งานวจิ ยั เกา่ ทใี่ หค้ วามรเู้ กา่ ไมท่ นั เหตกุ ารณ์ (2) การคดั เลอื ก
ขั้นต้นให้ได้วรรณกรรมตรงตามท่ีต้องการ นักวิจัยต้องศึกษาช่ือเร่ือง และบทคัดย่อ แต่ละรายการ
โดยการอ่านคร่าว ๆ (skim reading) ว่าวรรณกรรมใดตรงตามความต้องการของนักวิจัย เพ่ือคัดเลือก
วรรณกรรมรายการนั้นและน�ำไปจัดหาเอกสารวรรณกรรมต่อไป กรณีท่ีท�ำการวิจัยขนาดเล็กตามข้อ
กำ� หนดการเรยี นรายวชิ า นกั วจิ ยั ควรคดั เลอื กวรรณกรรมเฉพาะรายการทตี่ รงตามวตั ถปุ ระสงค์ และเกย่ี วขอ้ ง
กับงานวิจัยที่จะท�ำ เช่น การจัดท�ำโครงการเสนอวิจัย (research proposal) นิยมคัดเลือกไว้มากท่ีสุดไว้
ประมาณ 5-10 รายการ และการจัดท�ำรายงานวิจัย (research report) นิยมคัดเลือกไว้ประมาณ 15-20
รายการ เม่ือคัดเลือกวรรณกรรมไว้แล้วต้องท�ำแผนภูมิ PRISMA แสดงกระบวนการคัดเลือกวรรณกรรมฯ
ดว้ ย และ (3) การจดั หาวรรณกรรม เมอ่ื ไดว้ รรณกรรมตามทตี่ อ้ งการแลว้ นกั วจิ ยั ตอ้ งจดั ทำ� บตั รบรรณานกุ รม
เตรียมพร้อมส�ำหรับการจัดท�ำ ‘รายการเอกสารอ้างอิง’ ส�ำหรับงานวิจัย โดยอาจท�ำด้วยมือ หรือท�ำด้วย
โปรแกรม เช่น Endnote เป็นต้น

       4.	 การอา่ นและจดบนั ทกึ สาระจากวรรณกรรม ประกอบด้วยการด�ำเนินงาน 4 กิจกรรม คือ 1) การ
อ่านแบบพินิจพิเคราะห์เพื่อประเมินคุณภาพของวรรณกรรม 2) การอ่านแบบคิดวิเคราะห์เพื่อรวบรวมสาระ
ท่ีเป็นความรู้ส�ำคัญ 3) การจดบันทึกสาระที่เป็นความรู้ส�ำคัญที่รวบรวมได้จากวรรณกรรมแต่ละรายการ โดย
อาจบันทึกเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ หรืออาจบันทึกโดยการจดลงบัตรบันทึก 6 บัตร คือ บัตรบรรณานุกรม และ
บัตรบันทึกสาระหัวข้ออีกรวม 5 บัตร คือ บัตรท่ี 1 หัวข้อ ‘ปัญหาวิจัยและวัตถุประสงค์วิจัย’ บัตรท่ี 2 หัวข้อ
‘ทฤษฎีท่ีใช้ กรอบแนวคิด และสมมติฐานวิจัย’ บัตรที่ 3 หัวข้อ ‘วิธีด�ำเนินการวิจัย’ บัตรที่ 4 หัวข้อ
‘ผลการวิจัย’ และบัตรท่ี 5 หัวข้อ ‘อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ’ ทั้งนี้บัตรแต่ละใบ นักวิจัยอาจจด
บันทึกสาระเพ่ิมเติมลงในบัตรบันทึกใบท่ี 1-5 ได้ด้วย นอกจากนี้นักวิจัยอาจน�ำบรรณานุกรมจากเอกสารที่
ค้นคืนทั้งหมดในการท�ำวิจัยแต่ละเรื่องที่เก่ียวข้องกัน บันทึกลงในบัตร เพื่อจัดท�ำเป็นข้อมูลส�ำหรับการท�ำ
วิจัยต่อเนื่องได้ด้วย 4) การจัดระบบเก็บผลการค้นคว้าวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง เมื่อเสร็จส้ินการจดบันทึก
รายงานวิจัยแต่ละเร่ือง ควรเรียงบัตรทั้ง 6 ใบ รวมเข้าเป็นชุดและใช้คลิปเสียบ เพ่ือความสะดวกในการน�ำ
บัตรแต่ละประเด็นจากวรรณกรรมหลายเรื่องที่ใช้ในการวิจัยมาจัดเรียงใหม่เพ่ือเตรียมการสังเคราะห์

       5. การเตรียมการสังเคราะห์วรรณกรรม เป็นการน�ำบัตรบันทึกหัวข้อเดียวกันจากวรรณกรรมทุก
เรื่องท่จี ะสงั เคราะห์มาอา่ นจับใจความ และสรุปสงั เคราะห์สาระทีละประเดน็ จากงานวิจยั ทกุ เร่อื งใหไ้ ด้ข้อสรปุ
ที่มีคุณภาพเช่ือถือได้
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129