Page 126 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 126
2-116 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ความคิดและข้อความของผู้อื่นมาเป็นของตน หรือการน�ำข้อความหรือผลงานของผู้อ่ืนมาใช้เหมือนเป็นของ
ตนโดยเจตนา หรอื การตงั้ ใจผลติ งานทเ่ี หมอื นงานใหม/่ ความคิดใหม่ แตใ่ ชง้ านท่ีมอี ยแู่ ล้วโดยไมม่ ีการอา้ งอิง
ท�ำเสมือนว่าเป็นผู้สร้างสรรค์งานนั้นข้ึนมาเอง ในที่น้ีผู้เขียนน�ำแนวคิดเก่ียวกับการลอกเลียนงานผู้อ่ืน
มาสรุปความ (Babbie, 2007; Council of Writing Program Administrators (WPA), 2003; Office
of Research Integrity (ORI), 2009) ให้เห็นลักษณะการลอกเลียนงานผู้อื่นที่ไม่ควรท�ำไว้ 3 แบบ
แต่ละแบบล้วนแต่ขาดการอ้างอิง ดังนี้
1.1 การลอกเลียนงานผู้อ่ืนโดยไม่เจตนา เป็นการจดบันทึกสาระท่ีได้จากวรรณกรรม มีหลักการ
ส�ำคัญว่า ต้องจดบันทึกสาระจากวรรณกรรมตามความเข้าใจด้วยภาษาและส�ำนวนของตนเอง และไม่ท�ำผิด
จรรยาบรรณนักวิจัยด้านการลอกเลียนงานผู้อ่ืน
1.2 การลอกเลียนงานผู้อ่ืนโดยเจตนา เป็นการน�ำข้อความจากวรรณกรรมมาปรับเปลี่ยนเล็กน้อย
เช่น การดัดแปลงค�ำศัพท์บางค�ำ การสลับค�ำ หรือการถอดความ (paraphrase) โดยไม่อ้างอิงว่าเป็นข้อความ
จากวรรณกรรมของใคร และปีใด
1.3 การลอกเลียนงานผู้อื่นท่ีเป็นการท�ำผิดจรรยาบรรณนักวิจัยอย่างร้ายแรง เป็นการน�ำแนวคิด
ใหม่/นวัตกรรมจากวรรณกรรมของคนอ่ืน มาน�ำเสนอว่าเป็นความคิดของตนท้ังหมดด้วยการเรียบเรียง
ข้อความใหม่ด้วยภาษาส�ำนวนของตน โดยไม่อ้างอิงท่ีมาจากวรรณกรรมของใคร และปีใด
จากลักษณะการลอกเลียนงานผู้อ่ืนทั้ง 3 ลักษณะข้างต้น จะเห็นได้ว่า การลอกเลียนงานผู้อื่น
ทุกลักษณะ ล้วนแต่เป็นการน�ำเอางานผู้อ่ืนมาใช้เป็นงานของตนโดยขาดการอ้างอิง แม้ว่าบางกรณีจะมีการ
ใส่รายชื่อเอกสารท่ีลอกเลียนมาในบรรณานุกรม ก็เข้าข่ายการลอกเลียนงานผู้อื่นและไม่ให้เกียรติผู้ผลิต
ผลงาน อนั เปน็ การกระทำ� ของคนทขี่ าดความเปน็ นกั วชิ าการ ระดบั ความรนุ แรงของความผดิ ในการลอกเลยี นงาน
ผู้อ่ืนอยู่ที่เจตนา การจงใจน�ำผลงานผู้อ่ืนมาใช้เหมือนเป็นของตนนับเป็นการลอกเลียนงานผู้อ่ืนท่ีเป็นการท�ำ
ผิดจรรยาบรรณนักวิจัยขั้นร้ายแรง เป็นสิ่งที่ไม่ควรท�ำอย่างย่ิง
วธิ กี ารทีถ่ ูกต้องในการจดบันทึกและเสนอสาระโดยไม่ลอกเลยี นงานผูอ้ ่นื มี 2 วิธี คือ 1) การสรุป
ความสาระจากวรรณกรรมด้วยส�ำนวนภาษาของตน พร้อมท้ังอ้างอิงท่ีมาของวรรณกรรม 2) การคัดลอก
ข้อความทุกตัวอักษรจากวรรณกรรม แบ่งเป็น 2 กรณี ก) กรณีข้อความ 8-40 ค�ำ ให้คัดลอกทุกตัวอักษร
จากวรรณกรรม น�ำมาเขียน/พิมพ์เป็นข้อความในอัญประภาษ (quotation) โดยพิมพ์ข้อความท่ีคัดลอกมา
ท้ังหมดไว้ในเคร่ืองหมายค�ำพูด ข) กรณีข้อความมากกว่า 40 ค�ำ หรือมากกว่า 3 บรรทัด ให้แยกพิมพ์เป็น
ย่อหน้าใหม่โดยตั้งค่าการพิมพ์ย่อจากขอบปกติด้านซ้าย-ขวา ข้างละครึ่งนิ้ว พร้อมการอ้างอิงที่มาของ
วรรณกรรม การอ้างอิงท่ีมาต้องระบุว่าเป็นวรรณกรรมของใคร ปีใด หน้าใด และต้องใส่วรรณกรรมน้ันใน
เอกสารอ้างอิงท้ายรายงานวิจัยด้วย ดังตัวอย่างท่ีดีมากจากงานวิจัยดังต่อไปนี้