Page 128 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 128

2-118 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

ข้ึนไป การพิมพ์รายการอ้างอิงต้องไม่เรียงตามปีท่ีพิมพ์ แต่ต้องเรียงตามตัวอักษรตัวแรกของช่ือผู้แต่ง
คนแรก เช่นเดียวกับการเสนอรายการอ้างอิงวรรณกรรมท้ายบทความ ยกเว้นกรณีท่ีมีวรรณกรรมโดยผู้แต่ง
ชุดเดิมต้ังแต่สองรายการข้ึนไป จึงพิมพ์รายการอ้างอิงในชุดน้ันเรียงตามปีที่พิมพ์ได้ รูปแบบท่สี ี่ (➍) แม้จะ
เป็นการเสนอสาระร่วมจากงานวิจัยสองเร่ือง แต่มีลักษณะต่างกัน ในขณะท่ีรูปแบบท่ีสามมีนักวิจัยทั้งสอง
เร่ืองเป็นนักวิจัยประสาทชีววิทยา แต่ในรูปแบบที่สี่นักวิจัยทั้งสองเร่ืองเป็นนักวิจัยการศึกษาท�ำงานร่วมกับ
นักวิจัยประสาทชีววิทยา และเสนอนิยามโดยเพิ่มบทบาทหน้าที่ของสมอง (แต่มิได้เสนอในรายงานเพราะ
จะซํ้าซ้อนโดยไม่จ�ำเป็น) สว่ นรปู แบบทห่ี า้ (❺) เป็นประโยคสรุปของย่อหน้าน้ี แต่แทนท่ีคณะนักวิจัยจะสรุป
เอง กลับใช้การอ้างอิงวรรณกรรมเพ่ือสรุปสาระยํ้าให้เห็นว่านิยามของค�ำว่า “การเรียนรู้ใช้สมองเป็นฐาน
(brain-based learning)” มีการพัฒนาจากนิยามในอดีตและเน้นจุดมุ่งหมายของค�ำว่า “การเรียนรู้ใช้สมอง
เป็นฐาน (brain-based learning)” นอกจากเพ่ือเพ่ิมศักยภาพทางสมองของผู้เรียนแล้ว ยังเพ่ิมศักยภาพ
ด้านการเรียนและการสอนให้นักการศึกษาด้วย

       วิธีการที่ไม่ดี (ไม่ถูกต้องเหมาะสม) ในการจดบันทึกและเสนอสาระ ตัวอย่างที่เสนอข้างต้นได้มา
จากรายงานวิจัยท่ีดีมากในวารสารต่างประเทศ แต่การเสนอตัวอย่างในตอนนี้ มุ่งเสนอตัวอย่างการรายงาน
ผลการทบทวนวรรณกรรมที่ไม่ดี (ตัวอย่าง 1) และตัวอย่างการรายงานผลการทบทวนวรรณกรรมที่ดี
(ตัวอย่าง 2) โดยรายงานทั้งสองตัวอย่างมาจากการทบทวนวรรณกรรมข้างต้นของ Ozden and Giltekin
(2008) ตัวอย่างท่ี 2.1 มุ่งแสดงให้เห็นความไม่ถูกต้องเหมาะสมด้านการลอกเลียนผลงาน ในขณะท่ีตัวอย่าง
ท่ี 2.2 มุ่งแสดงให้เห็นการเสนอรายงานทบทวนวรรณกรรมที่ถูกต้อง ไม่มีปัญหาการลอกเลียนผลงาน ผู้อ่าน
ควรพจิ ารณาขอ้ ความในตวั อยา่ งท่ี 2.1 กอ่ นอา่ นค�ำอธบิ ายทา้ ยตาราง หากเคยใชว้ ธิ กี ารดงั กลา่ วในการทบทวน
วรรณกรรมควรเลิกใช้โดยเด็ดขาด เพราะเป็นวิธีการท่ีไม่ถูกต้อง และควรใช้ตามแบบตัวอย่างท่ี 2.2 อันเป็น
ตัวอย่างที่ถูกต้อง ทุกครั้ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                                  ตวั อย่าง 2.1 ตวั อยา่ งท่ไี ม่ดี

             	 การเรียนรู้ใช้สมองเป็นฐาน (brain-based learning) เป็นวิธีสหวิทยาการท่ีเป็นค�ำตอบ
     ของค�ำถามที่ว่า “กลไกการเรียนรู้ของสมองท่ีมีประสิทธิภาพที่สุดคืออะไร” (Jensen, 1998). Caine
     and Caine (2002) ให้นิยามว่าการเรียนรู้ใช้สมองเป็นฐาน “เป็นการตระหนักถึงการเข้ารหัสของสมอง
     อันก่อให้เกิดการเรียนรู้ท่ีมีความหมาย และกระบวนการปรบั ตวั ที่สมั พนั ธก์ บั การเขา้ รหัส” งานวจิ ยั ของ
     นักวจิ ยั ชีวะ-ประสาทวิทยาอีกหลายคน (Hari and Lounasmaa, 2000; Posner and Raichle, 1994)
     ช่วยท�ำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ� งานของสมองและการเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ต่อมา
     นักการศกึ ษาหลายคนได้นำ� ความรู้ความเขา้ ใจน้ีไปปรบั ใชก้ ับหลักการเรยี นรู้ (Cross, 1999; Wortock,
     2002) สรปุ ได้ว่าการเรียนรู้ใช้สมองเป็นฐานมีจุดมุ่งหมายอยู่ท่ีการส่งเสรมิ ศกั ยภาพการเรยี นรู้ และการ
     สร้างกรอบความคิดด้านการเรียนการสอนท่ีแตกต่างจากวิธีการแบบเดิม (Materna, 2000)
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133