Page 129 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 129

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง 2-119

       ค�ำอธิบาย การจดบันทึกสาระตามตัวอย่างที่ 2.1 ข้างต้น ถือว่าเป็นการจดบันทึกเน้ือหาสาระที่ไม่ดี
เพราะแสดงเจตนาการลอกเลียนงานผู้อ่ืนโดยไม่อ้างอิง ผู้อ่านจะเห็นว่าสาระท้ังหมดเป็นการแปลข้อความ
จากต้นฉบับของ Ozden and Giltekin (2008) แบบค�ำต่อค�ำ แต่ใช้ค�ำว่า ‘and’ ในรายการอ้างอิง
โดยไม่แปล การอา้ งองิ วรรณกรรมตามตน้ ฉบบั ท�ำให้ดูเสมอื นว่านกั วจิ ัยไดศ้ กึ ษาวรรณกรรมทั้ง 7 เรื่อง ดว้ ย
ตนเอง ท้ัง ๆ ท่ีนักวิจัยมิได้ศึกษาวรรณกรรมดังกล่าวจากต้นฉบับ และเข้าข่ายการลอกเลียนงานโดยเจตนา

       การจดบนั ทกึ วรรณกรรมแบบทีด่ ีที่ถกู ตอ้ ง ควรจดบันทึกตามความเข้าใจด้วยภาษาของตนเอง โดย
ระบุชื่อวรรณกรรมท่ีมีการอ้างอิงเป็นข้อความ หรือใช้การอ้างอิงแบบ “อ้างใน” ตามรูปแบบการอ้างอิง ดัง
ตัวอย่างต่อไปน้ี

                                   ตัวอย่าง 2.2 ตัวอยา่ งทด่ี ี

             Ozden และ Giltekin (2008) ศึกษานิยามของการเรียนรู้ใช้สมองเป็นฐาน (brain-based
     learning = BBL) จากวรรณกรรม 7 รายการ ของนักจติ วิทยาการเรียนรู้ Jensen, Caine และ Caine
     นักประสาทชีววิทยา Hari, Lounasmaa, Posner และ Raichle และนักการศึกษาท่ีท�ำงานร่วมกับ
     นักประสาทชีววิทยา Cross, Wortock และ Materna และสรุปว่า การเรียนรู้ใช้สมองเป็นฐาน เป็นวิธี
     สหวิทยาการอาศัยความรู้ทางประสาทวิทยา เพ่ือท�ำความเข้าใจกลไกการท�ำงานของสมอง และอาศัย
     ความรู้ทางจิตวิทยาการเรียนรู้ เพ่ือท�ำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการท�ำงานของสมองและการ
     เข้ารหัส ท่ีท�ำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และเกิดกระบวนการปรับตัว Ozden และ Giltekin
     อธิบายสรุปในตอนท้ายว่าผลจากการประยุกต์การเรียนรู้ใช้สมองเป็นฐานทางการศึกษา เป็นการสร้าง
     กรอบความคิดด้านการเรียนการสอนด้วยวิธีการท่ีดีกว่าเดิม เพื่อส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้

       คำ� อธิบาย การจดบันทึกตามตัวอย่างที่ 2.3 เป็นตัวอย่างท่ีถูกต้อง เน้ือหาสาระที่จดบันทึกท้ังหมด
สามารถน�ำไปพิมพ์ในรายงานได้ เพราะมีการจดบันทึกข้อความโดยอ้างอิงที่มาของเอกสาร ได้แก่ การระบุ
ชื่อผู้ผลิตเอกสาร ตามด้วยการระบุปีที่พิมพ์เอกสารในวงเล็บ ส่วนสาระที่จดบันทึก เป็นการบรรยายสาระ
จากการศกึ ษาวรรณกรรม 7 เรอื่ ง และมกี ารประมวลสรปุ นยิ ามใหไ้ ดค้ วามหมายของคำ� วา่ การเรยี นรใู้ ชส้ มอง
เป็นฐาน (BBL) ซ่ึงในวรรณกรรมต้นฉบับไม่มีสาระสรุปเพราะคณะผู้วิจัยอาจเห็นว่าซํ้าซ้อนก็ได้ การอ้างอิง
ถงึ วรรณกรรมที่ Ozden and Giltekin (2008) ใช้ในการศกึ ษาคน้ คว้า ใชก้ ารระบุถงึ นักวชิ าการท่เี ปน็ เจ้าของ
วรรณกรรมในสาขาจิตวิทยาการศึกษา สาขาประสาทชีววิทยา และสาขาการศึกษาทุกคน การบันทึกสาระอาจ
ใช้การ “อ้างใน” เช่น บันทึกว่า ‘Caine และ Caine (2002 อ้างใน Ozden และ Giltekin, 2008) อธิบาย
ว่า BBL เป็นการใช้จิตวิทยาการเรียนรู้ท�ำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการท�ำงานของสมองและการเข้า
รหัส ที่ท�ำให้เกิดการเรียนมีความหมาย และเกิดกระบวนการปรับตัว’ ได้ด้วย
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134