Page 134 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 134
2-124 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ตัวอยา่ ง 2.6 บัตรบันทกึ “วิธดี ำ� เนินการวิจยั ” (บัตรใบท่ี 4)
009/4
วิธีการวจิ ัย
การวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมวัดก่อนและหลัง
ประชากรและกลมุ่ ตัวอย่าง
ประชากร คือ นักเรียนเกรด 5 ปีการศึกษา 2007-08 ท่ี Kutahya Abdurrahman Pasa
Primary School ตุรกี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนสองห้องเรียน จ�ำนวนห้องละ 22 คน สุ่มให้ห้อง 5A
เป็นกลุ่มทดลอง และ 5B เป็นกลุ่มควบคุม (ไม่มีการสุ่มนักเรียน และสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่ม)
ตัวแปรและนยิ าม
ตัวแปรจัดกระท�ำ คือ การสอนตามหลักการเรียนรู้ใช้สมองเป็นฐาน เร่ือง หน่วยการเคลื่อนท่ี
และแรง มี 2 บทเรียน คือ 1) วัตถุทุกชนิดเคล่ือนท่ีได้ และ 2) แรงประกอบด้วยแรงผลักและแรงต้าน
แตล่ ะบทใชเ้ วลาเรยี น 9 คาบ แผนการสอนมี 3 ขนั้ ขนั้ น�ำเขา้ สบู่ ทเรยี นดว้ ยการต์ นู /ภาพยนตร/์ ภาพถา่ ย
เพ่ือเร้าความสนใจ ข้ันท�ำกิจกรรมกลุ่มแบบร่วมมือตามใบงานเพื่อแสวงหา บันทึกและรายงานผลการ
แสวงหาแต่ละกลุ่ม และขั้นการประมวลผลเชิงรุก เสนอผลการแสวงหาโดยใช้บทบาทสมมติ ระหว่าง
เรียนมีการเปิดเพลงท่ีนักเรียนชอบ นักวิจัยเป็นผู้สอนกลุ่มทดลองคอยช่วยเหลือเม่ือนักเรียนต้องการ
ครูในโรงเรียนสอนกลุ่มควบคุมโดยการสอนแบบบรรยาย
ตัวแปรตาม คือ คะแนนสอบวิทยาศาสตร์แบบเลือกตอบ 40 ข้อ ความเที่ยง = .82 (ไม่มี
นิยาม)
เครื่องมือวิจัย
แผนการสอนพรอ้ มสอื่ การสอน ขอ้ สอบวทิ ยาศาสตร์ และแบบสอบถามภมู หิ ลงั (ไมม่ รี ายงาน)
การรวบรวมขอ้ มลู
ด�ำเนินการทดลองโดยผู้วิจัยรวม 18 คาบ ใช้เวลา 11 วัน ด�ำเนินการสอบโดยผู้วิจัย ก่อนการ
ทดลอง หลังการทดลองทันที และหลังการทดลองสามสัปดาห์เพื่อวัดความคงทน
การวิเคราะห์ข้อมลู
สถิติบรรยายเปรียบเทียบภูมิหลัง ใช้ t-test เปรียบเทียบค่าเฉล่ียเพื่อทดสอบสมมติฐานวิจัย
คำ� อธบิ าย จากบัตรบันทึกรหัส 009/4 จะเห็นได้ว่ารายงานวิจัยของ Ozden and Giltekin มีวิธีการ
ด�ำเนินงานวิจัยที่ค่อนข้างชัดเจน มีการเลือกใช้แบบแผนการทดลอง (experimental design) ท่ีสมบูรณ์
แต่การจัดกลุ่มทดลองมีจุดอ่อน เพราะนักวิจัยเลือกห้องเรียนมาสองห้องเรียน แล้วสุ่มเลือกกลุ่มเพื่อก�ำหนด
เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผู้บันทึกมีความเข้าใจถึงจุดอ่อนน้ี และบันทึกไว้ในวงเล็บว่า “ไมม่ กี ารสมุ่
นกั เรยี น และสมุ่ นกั เรยี นเขา้ กลมุ่ ” มีการก�ำหนดตวั แปรจัดกระทำ� (treatment) สำ� หรับกลุ่มทดลองและกล่มุ
ควบคุมค่อนข้างชัดเจน รวมทั้งมีการกำ� หนดผู้สอนแต่ละกลุ่มชัดเจนว่ากลุ่มทดลองสอนโดยนักวิจัย และ
กลุ่มควบคุมสอนโดยครู การออกแบบการทดลองแบบนี้อาจท�ำให้เกิดความแตกต่างเน่ืองจากผู้สอนได้