Page 138 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 138

2-128 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

       ค�ำอธบิ าย บัตรบรรณานุกรมข้างต้นใช้รหัส T001/1 ในที่นี้ “T” แทนค�ำว่า “text” เพื่อให้รหัสจาก
หนังสือแตกต่างจากรหัสรายงานวิจัย รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิงของหนังสือแตกต่างจากรายงานวิจัย
จากวารสารเล็กน้อย คือ มีการระบุเมืองท่ีพิมพ์ ส�ำนักพิมพ์

                 ตัวอย่าง 2.10 บตั รบันทึก “ความเป็นมาของหอ้ งเรียนใช้สมองเป็นฐาน”

                                                                               T001/2
     คำ� ส�ำคัญ

             ห้องเรียนใช้สมองเป็นฐาน หรือห้องเรียนเป็นมิตรกับสมอง หรือห้องเรียนเทียบทันสมอง
     (brain-based classroom or brain-friendly classroom or brain-compatible classroom =
     BCC)
     ความเปน็ มา

             Fogarty (2002) สรุปว่า BCC พัฒนามาจากแนวคิดท่ีว่าห้องเรียนเป็นท่ีส่งเสริมการสอน
     ส�ำหรับการคิด เร่ืองการคิด ด้วยการคิด เก่ียวกับการคิด “a classroom model that advocates
     teaching for, of, with, and about thinking” ของ Fogarty and Bellanca ปี 1993 ต่อมาได้มี
     การปรับสภาพบรรยากาศห้องเรียนให้สอดคล้องกับผลงานวิจัยด้านการพัฒนาสมอง เพ่ือให้เป็น
     สถานทท่ี เ่ี หมาะสมในการสง่ เสรมิ การเรยี นการสอนตามพัฒนาการของสมอง และการเรยี นรทู้ างปญั ญา
     สภาพแวดล้อมของห้องเรียนมีส่ือ/อุปกรณ์ท่ีปลุกเร้าความสนใจ มีความปลอดภัย และเอ้ือให้เกิด
     การเรียนรู้ที่สมดุลระหว่างการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้วิธีคิด จากประสบการณ์ตรงในการท�ำงาน
     ร่วมกัน เป็นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีครูคอยช่วยเหลือเมื่อผู้เรียนต้องการ

       ค�ำอธิบาย บัตรบันทึกสาระจากหนังสือเร่ืองการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน รหัส T001/2 เป็นบัตร
บันทึกใบแรกในชุดบัตรบันทึกจากวรรณกรรมรหัส T001 สาระที่บันทึกประกอบด้วยค�ำส�ำคัญซ่ึงมีเรียกกัน
หลายแบบ และความเป็นมาของห้องเรียนใช้สมองเป็นฐาน หรือห้องเรียนเป็นมิตรกับสมอง หรือห้องเรียน
เทียบทันสมอง (brain-based classroom or brain-friendly classroom or brain-compatible class-
room = BCC) โดยใช้หลักการจดบันทึกสาระว่า “ใคร” “กล่าว/เสนอ/อธิบาย” “อะไร” “เม่ือไร” “ที่ไหน”
“ท�ำไม” และ “อย่างไร” สาระที่จดบันทึกมีลักษณะเป็นสาระสรุปมากกว่าลงรายละเอียด แต่ก็มีการคัดลอก
ข้อความ (quotation) ทุกตัวอักษรเฉพาะข้อความส�ำคัญ ไว้ในเคร่ืองหมายค�ำพูด การจดบันทึกสาระสรุป
ดังกล่าวนี้ อาจเป็นเพราะนักวิจัยก�ำหนดจุดมุ่งหมายว่าจะสรุปสาระส้ัน ๆ และศึกษาวรรณกรรมประเภท
หนังสือเรื่องการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพิ่มเติมอีกหลายเล่ม
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143