Page 140 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 140
2-130 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ตัวอย่างการจดบันทึกสาระจากวรรณกรรมประเภทรายงานวิจัย และวรรณกรรมประเภทหนังสือ ที่
น�ำเสนอข้างต้นน้ี เป็นเพียงตัวอย่างที่นักศึกษาอาจน�ำไปประยุกต์ ดัดแปลงให้เหมาะสมกับความต้องการได้
เช่น นักศึกษาอาจปรับจากการจดบันทึกลงบัตร เป็นการจดบันทึกลงไฟล์ข้อความในคอมพิวเตอร์ก็ได้ หรือ
อาจปรับเพิ่ม/ลดจ�ำนวนบัตรบันทึกตามความต้องการของนักศึกษาได้ เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการจดบันทึก
สาระจากวรรณกรรมแบบใด เม่ือมีการศึกษาวรรณกรรมที่เก่ียวข้องหลายรายการ และจดบันทึกสาระตาม
แนวทางที่เสนอข้างต้น จะได้บัตรบันทึกสาระจ�ำนวนหลายชุด พร้อมที่จะน�ำมาสังเคราะห์สาระและเขียนเป็น
รายงานผลการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะได้น�ำเสนอในตอนที่ 2.3 ต่อไป
สรุป
จากขั้นตอนการค้นคว้าวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้ง 5 ข้ันตอน ท่ีน�ำเสนอในเรื่องที่ 2.2.2 จะเห็นได้
ว่าการด�ำเนินงานขั้นตอนท่ี 1 การก�ำหนดวัตถุประสงค์ในการค้นคว้าวรรณกรรม มีรูปแบบค่อนข้างชัดเจน
การด�ำเนินงานข้ันตอนที่ 2 การระบุวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและแหล่งวรรณกรรม และขั้นตอนที่ 3 การสืบค้น
คัดเลือก และจัดหาวรรณกรรม เป็นกิจกรรมที่นักวิจัยส่วนใหญ่คุ้นเคย และมีบริการให้ความช่วยเหลือ
แนะน�ำตลอดเวลา ส่วนการด�ำเนินงานข้ันตอนท่ี 5 การเตรียมการและการสังเคราะห์วรรณกรรม นักวิจัย
สามารถด�ำเนินการได้เม่ือมีผลงานขั้นตอนที่ 4 การอ่านและจดบันทึกสาระจากวรรณกรรม ท่ีสมบูรณ์ แตใ่ น
การดำ� เนนิ งานขน้ั ตอนท่ี 4 การจดบนั ทกึ สาระจากวรรณกรรม เปน็ กจิ กรรมทน่ี กั วจิ ยั สว่ นใหญไ่ มค่ นุ้ เคย และ
เป็นงานท่ียากเมื่อเปรียบเทียบกับการทบทวนวรรณกรรมด้านอื่น การเสนอสรุปสาระในเร่ืองท่ี 2.2.3
จงึ นำ� เสนอเฉพาะตวั อยา่ งการจดบนั ทกึ สาระจากวรรณกรรมที่เก่ยี วข้องในการวิจยั เท่านั้น เพราะหลักการที่
ใช้ในการวิจัย และการวัดและประเมินผลการศึกษาซ่ึงเป็นหลักเดียวกัน โดยเสนอแยกเป็น 2 ตอน คือ
วิธีการจดบันทึกสาระ และลักษณะของสาระท่ีจดบันทึก ดังต่อไปนี้
สรุปการเสนอสาระ เร่ืองท่ี 2.2.3 ตัวอย่างกระบวนการทบทวนวรรณกรรมการวัดและประเมินผล
การศึกษา
ตอนแรก คอื วธิ กี ารจดบนั ทกึ สาระ เป็นการน�ำเสนอตัวอย่างการทบทวนวรรณกรรมท่ีเป็นงานวิจัย
ซ่ึงมีหลักการส�ำคัญว่า ต้องจดบันทึกสาระจากวรรณกรรมตามความเข้าใจด้วยภาษาและส�ำนวนของตนเอง
ไม่ท�ำผิดจรรยาบรรณนักวิจัยด้านการลอกเลียนงานผู้อ่ืน (plagiarism) หรือด้านโจรกรรมทางปัญญา (in-
tellectual theft) ซึ่งหมายถึง การขโมยความคิดและข้อความของผู้อ่ืนมาเป็นของตน หรือการน�ำข้อความ
หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้เหมือนเป็นของตนโดยเจตนา หรือการต้ังใจผลิตงานท่ีเหมือนงานใหม่/ความคิด
ใหม่ แต่ใช้งานที่มีอยู่แล้วโดยไม่มีการอ้างอิง ท�ำเสมือนว่าเป็นผู้สร้างสรรค์งานน้ันข้ึนมาเอง ลกั ษณะการลอก
เลยี นงานผอู้ นื่ ทไ่ี มค่ วรทำ� มี 3 แบบ คือ การลอกเลยี นงานผอู้ นื่ โดยไมเ่ จตนา เป็นการคัดลอกข้อความเหมือน
ข้อความในวรรณกรรมทุกตัวอักษร โดยไม่อ้างอิงว่าเป็นข้อความมาจากวรรณกรรมของใคร และปีใด
การลอกเลียนงานผู้อ่ืนโดยเจตนา เป็นการน�ำข้อความจากวรรณกรรมมาปรับเปลี่ยนเล็กน้อย เช่น การ
ดัดแปลงค�ำศัพท์บางค�ำ การสลับค�ำ หรือการถอดความ (paraphrase) โดยไม่อ้างอิงว่าเป็นข้อความจาก
วรรณกรรมของใคร และปีใด และการลอกเลียนงานผู้อ่ืนที่เป็นการท�ำผิดจรรยาบรรณนักวิจัยอย่างร้ายแรง
เป็นการน�ำแนวคิดใหม่/นวัตกรรมจากวรรณกรรมของคนอื่น มาน�ำเสนอว่าเป็นความคิดของตนท้ังหมดด้วย