Page 141 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 141

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง 2-131
การเรียบเรียงข้อความใหม่ด้วยภาษาส�ำนวนของตน โดยไม่อ้างอิงที่มาจากวรรณกรรมของใคร ปีใด ระดับ
ความรุนแรงของความผิดในการลอกเลียนงานผู้อ่ืนอยู่ท่ีเจตนา การจงใจน�ำผลงานผู้อ่ืนมาใช้เหมือนเป็นของ
ตนนับเป็นการลอกเลียนงานผู้อื่นที่เป็นการท�ำผิดจรรยาบรรณนักวิจัยข้ันร้ายแรง เป็นสิ่งท่ีไม่ควรท�ำอย่างยิ่ง

       ผลการจดบันทึกและเสนอสาระโดยไมล่ อกเลียนงานผู้อื่น มี 2 วิธี คือ 1) การสรุปความสาระจาก
วรรณกรรมด้วยส�ำนวนภาษาของตน พร้อมท้ังอ้างอิงที่มาของวรรณกรรม 2) การคัดลอกข้อความทุกตัว
อักษรจากวรรณกรรม แบ่งเป็น 2 กรณี ก) กรณีข้อความ 8-40 ค�ำ ให้คัดลอกทุกตัวอักษรจากวรรณกรรม
น�ำมาเขียน/พิมพ์เป็นข้อความในอัญประภาษ (quotation) โดยพิมพ์ข้อความท่ีคัดลอกมาท้ังหมดไว้ใน
เคร่ืองหมายค�ำพูด ข) กรณีข้อความมากกว่า 40 ค�ำ หรือมากกว่า 3 บรรทัด ให้แยกพิมพ์เป็นย่อหน้าใหม่
โดยตั้งค่าการพิมพ์ย่อจากขอบปกติด้านซ้าย-ขวา ข้างละครึ่งน้ิว พร้อมการอ้างอิงท่ีมาของวรรณกรรม การ
อ้างอิงที่มาต้องระบุว่าเป็นวรรณกรรมของใคร ปีใด หน้าใด และต้องใส่วรรณกรรมน้ันในเอกสารอ้างอิงท้าย
รายงานวิจัยด้วย

       ส่วนตอนท่ีสอง ลักษณะของสาระที่จดบันทึก มีลักษณะแตกต่างกันตามประเภทของวรรณกรรม
เมื่อแยกประเภทวรรณกรรมเป็น 2 กลุ่ม คือ วรรณกรรมประเภทรายงานวิจัย และวรรณกรรมประเภทอื่น
ที่ไม่ใช่รายงานวิจัย กลุ่มแรก วรรณกรรมประเภทรายงานวิจัย จดบันทึกสาระในบัตรบันทึกอย่างน้อย 5
ประเด็น ได้แก่ 1) ปัญหาวิจัยและวัตถุประสงค์วิจัย 2) ทฤษฎีที่ใช้ กรอบแนวคิด และสมมติฐานวิจัย 3) วิธี
ด�ำเนินการวิจัย ประกอบด้วยสาระเก่ียวกับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง นิยามตัวแปร ลักษณะและคุณภาพ
เคร่ืองมือวิจัย การรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล 4) ผลการวิจัย และ 5) อภิปรายผลการวิจัยและ
ขอ้ เสนอแนะ โดยจดบนั ทกึ ลงในบตั รบนั ทกึ 6 ใบ บตั รใบแรก เปน็ บตั รบรรณานกุ รมทต่ี อ้ งระบรุ ายการอา้ งองิ
ของวรรณกรรม ส่วนบัตรใบท่ี 2-6 เป็นบัตรบันทึกสาระส�ำคัญจากงานวิจัยทั้ง 5 หัวข้อ คือ บัตรใบท่ี 2-6
เป็นบัตรบันทกึ สาระหวั ข้อ ‘2 ปญั หาวิจัยและวตั ถปุ ระสงคว์ จิ ัย’ ‘3 ทฤษฎที ่ีใช้ กรอบแนวคิด และสมมติฐาน
วิจัย’ ‘4 วิธีด�ำเนินการวิจัย’ ‘5 ผลการวิจัย’ และ ‘6 อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ’ ตามล�ำดับ เม่ือ
บนั ทกึ วรรณกรรมครบทกุ เรอ่ื ง โดยแตล่ ะเรอ่ื งบนั ทกึ ลงในชดุ บตั รบนั ทกึ 6 ใบ นำ� บตั รใบแรกจากวรรณกรรม
ทกุ เรอื่ งมาเรยี งตามลำ� ดบั อกั ษรชอ่ื ผแู้ ตง่ จะไดร้ ายการเอกสารอา้ งองิ ทกุ รายการทใ่ี ชใ้ นการทบทวนวรรณกรรม
ส่วนบัตรบันทึกใบท่ี 2 จากวรรณกรรมทุกเร่ืองน�ำมาสังเคราะห์ปัญหาวิจัยและวัตถุประสงค์วิจัยทั้งหมดได้
ชัดเจน บัตรบันทึกใบที่ 3 จากวรรณกรรมทุกเร่ืองน�ำมาสังเคราะห์ได้ภาพรวมของทฤษฎีที่ใช้ กรอบแนวคิด
และสมมติฐานวิจัย บัตรบันทึกใบท่ี 4 จากวรรณกรรมทุกเรื่องน�ำมาสังเคราะห์ได้ภาพรวมของวิธีด�ำเนินการ
วิจัย บัตรบันทึกใบท่ี 5 จากวรรณกรรมทุกเรื่องน�ำมาสังเคราะห์ได้ผลการวิจัยโดยสรุปจากงานวิจัยทุกเร่ือง
และบัตรบันทึกใบที่ 6 จากวรรณกรรมทุกเรื่องน�ำมาสังเคราะห์ได้ผลการอภิปรายและข้อเสนอแนะจากงาน
วิจัยทุกเร่ือง ที่มีคุณประโยชน์ในการปฏิบัติจริง แนวปฏิบัติที่เสนอข้างต้นเป็นการสังเคราะห์วรรณกรรมโดย
การนักวิจัยลงมือด�ำเนินการเอง ทางเลือกอีกแนวทางหน่ึง คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการ
สังเคราะห์วรรณกรรม ซ่ึงให้ผลไม่แตกต่างกันกับการลงมือด�ำเนินการโดยนักวิจัย

              หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรอื่ งท่ี 2.2.3 แล้ว โปรดปฏบิ ตั กิ จิ กรรม 2.2.3
                      ในแนวการศกึ ษาหนว่ ยที่ 2 ตอนที่ 2.2 เรอ่ื งท่ี 2.2.3
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146