Page 146 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 146

2-136 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

            1.3.1 รูปแบบรายงานด้วยวิธีการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative synthesis) เป็น
รายงานบรู ณาการวรรณกรรมเชงิ คณุ ภาพทเ่ี กยี่ วขอ้ ง โดยนำ� สาระจากวรรณกรรมมาจดั หมวดหมตู่ ามประเดน็
การสังเคราะห์ และเรียบเรียงสาระที่ได้จากวรรณกรรมแต่ละหมวดหมู่ น�ำเสนอด้วยวิธีบรรยาย เน้นความ
ส�ำคัญของความหมายท่ีได้จากการสังเคราะห์ เน่ืองจากวิธีการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพมีหลายแบบ
การน�ำเสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพจึงมีหลายแบบด้วย เช่น
ก) การน�ำเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมแบบมีระบบ (systematic literature review – SLR) ดังตัวอย่าง
งานวิจัยของ Hubens, Arons, & Krol (2018) เรื่อง “Measurement and evaluation of quality of life
and well-being in individuals having or having had fertility problems: A systematic review”
ข) การน�ำเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมแบบการทบทวนวรรณกรรมบูรณาการ (integrative literature
review) ดังตัวอย่างงานวิจัยของ Cocket & Jackson (2018) เรื่อง The use of assessment rubrics
to enhance feedback in higher education: An integrative literature review และ ค) การน�ำเสนอ
ผลการทบทวนวรรณกรรมเชิงวิเคราะห์ (amlytical review) ดังตัวอย่างงานวิจัยของ Nevo (1983) เรื่อง
The Conceptualization of educational evaluation: An analytical review of the literature เป็นต้น

            1.3.2 รปู แบบรายงานการสังเคราะห์เชิงปริมาณ (quantitative synthesis) เป็นรายงานบูรณา-
การวรรณกรรมที่เก่ียวข้องโดยใช้วิธีการทางสถิติตามแบบของ Hunter and Schmidt (1990) และ
Hunter, Schmidt and Jackson (1982) ซึ่งสรุปว่าวิธีการสังเคราะห์เชิงปริมาณท�ำได้หลายวิธี เช่น การนับ
จ�ำนวนเรื่องท่ีมี/ไม่มีนัยส�ำคัญ การสังเคราะห์จากดัชนีมาตรฐาน การสังเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์อภิมาน
(meta-analysis) และการวิเคราะห์อภิมานล�ำดับที่สอง (second order meta-analysis) ทุกวิธีสามารถน�ำ
มาใช้ในการเสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องได้ทั้งหมด

       1.4 	รปู แบบรายงานการทบทวนวรรณกรรมจำ� แนกประเดน็ วรรณกรรมตามระดบั การเรยี นรู้ Levy
and Ellis (2006) จัดประเภทรูปแบบการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง เป็น 6 กลุ่ม ตามระดับการเรียนรู้
6 ระดับของ Blooms คือ ระดับความรู้ความจ�ำ ความเข้าใจ การน�ำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และ
การประเมิน แต่ละระดับต้องใช้ศักยภาพทางปัญญา (cognitive capability) และกิจกรรมทางปัญญา
แตกต่างกัน ดังนี้

            1.4.1 การเสนอวรรณกรรมระดับความรู้ นักวิจัยต้องรับรู้ และรู้สาระในวรรณกรรมและ
รายงาน ‘ความรู้’ ได้ถูกต้อง กิจกรรมส�ำคัญในระดับนี้ คือ การจัดท�ำรายการ การนิยาม การบรรยาย และ
การระบุ

            1.4.2 	การเสนอวรรณกรรมระดับความเข้าใจ นักวิจัยไม่เพียงแต่รับรู้ รู้ และจดจ�ำสาระจาก
วรรณกรรม แต่ยังต้องรู้ถึงความหมาย ความส�ำคัญของสาระที่รายงาน กิจกรรมส�ำคัญในระดับนี้ คือ การ
สรุปความ การอธิบายความเหมือนหรือความต่าง การแปลความหมาย และการเปรียบเทียบสาระ

            1.4.3 	การเสนอวรรณกรรมระดับการน�ำไปใช้ นักวิจัยสามารถระบุแนวคิดหลักของ
วรรณกรรม และอธิบายการน�ำแนวคิดไปใช้ในรายงานวรรณกรรมได้ถูกต้อง กิจกรรมส�ำคัญในระดับน้ี คือ
การยกตัวอย่าง การสาธิต และการแก้ปัญหาท่ีเกี่ยวข้องกับสาระจากวรรณกรรมที่รายงาน
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151