Page 147 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 147

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง 2-137

            1.4.4 	การเสนอวรรณกรรมระดบั การวิเคราะห์ นักวิจัยสามารถอธิบายได้ว่าวรรณกรรมที่น�ำ
มาเสนอรายงานมีความส�ำคัญอย่างไรเก่ียวข้องกับงานวิจัยท่ีจะท�ำอย่างไร กิจกรรมส�ำคัญในระดับน้ี คือ การ
แยกเป็นส่วนย่อย การเปรียบเทียบ การเลือก และการอธิบาย

            1.4.5 	การเสนอวรรณกรรมระดบั การสงั เคราะห์ นกั วจิ ยั สามารถรวบรวมสาระจากวรรณกรรม
ที่เก่ียวข้องหลายเร่ืองในประเด็นเดียวกัน และน�ำมาสร้างเป็นแนวคิดใหม่ท่ีมีสาระมากกว่าผลรวมของสาระ
จากวรรณกรรม (exceeds the sum of the parts) กิจกรรมส�ำคัญในระดับน้ี คือ การประมวลรวม การ
บูรณาการ การปรับขยาย การจัดล�ำดับใหม่ การออกแบบ และการสรุปอ้างอิง

            1.4.6 การเสนอวรรณกรรมระดับการประเมินค่า นักวิจัยสามารถประเมินคุณค่าของ
วรรณกรรม แยกแยะส่วนที่เป็นความคิดเห็น ทฤษฎี และข้อเท็จจริงได้อย่างชัดเจน กิจกรรมส�ำคัญในระดับ
น้ี คือ การตัดสินใจ การให้ข้อเสนอแนะ การอธิบายสนับสนุน/โต้แย้ง และการสรุป

            ระดับการเสนอวรรณกรรมทั้ง 6 ระดับ ข้างต้นนี้ ควรต้องท�ำเป็นกระบวนการต่อเนื่องต้ังแต่
ระดับที่ 1.4.1-1.4.6 เพ่ือน�ำเสนอความรู้จากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องที่ค้นคว้ามาทุกระดับ โดยแสดงให้เห็น
ว่าความรู้ในอดีตที่ศึกษามานั้นอยู่ตรงส่วนใดขององค์ความรู้ (body of knowledge) และสิ่งท่ีนักวิจัยได้
เรียนรู้จากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในส่วนที่เป็นแนวคิดใหม่จะอยู่ตรงส่วนใดขององค์ความรู้ เพ่ือเผยแพร่
ความรู้ท้ังในอดีตท่ีนักวิจัยศึกษาวรรณกรรม และความรู้ในอนาคตท่ีนักวิจัยจะท�ำเป็นงานวิจัย ให้นักวิจัย
รุ่นหลังน�ำไปใช้ประโยชน์ได้ กล่าวได้ว่ารายงานวรรณกรรมที่เก่ียวข้องท่ีมีคุณภาพดีต้องแสดงให้เห็นองค์
ความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และกระบวนการวิจัยใหม่อย่างเป็นระบบ รวมทั้งประโยชน์ท่ีคาดว่าจะได้รับ

       1.5 	รปู แบบรายงานการทบทวนวรรณกรรมจำ� แนกตามประเดน็ ในการสงั เคราะห์ Cooper (1984);
Cooper and Hedges (1994); Hunter and Schmidt (1990) แบ่งประเภทการสังเคราะห์สาระจาก
วรรณกรรมท่ีเก่ียวข้องตามประเด็นในการสังเคราะห์ ได้เป็น 4 ประเภท อันเป็นท่ีมาของรูปแบบการน�ำเสนอ
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจ�ำแนกตามรประเด็นในการสังเคราะห์รวม 4 รูปแบบ ดังน้ี

            1.5.1 รูปแบบการน�ำเสนอผลการสังเคราะห์ทฤษฎี การค้นคว้าวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องควร
เริ่มต้นจากการศึกษา และสังเคราะห์ทฤษฎีและองค์ความรู้ในเรื่องที่นักวิจัยสนใจ เพราะนักวิจัยจะผลิต
ผลงานวิจัยท่ีมีคุณภาพได้ก็ต่อเมื่อมีความรู้ในเร่ืองและสาระส�ำคัญท่ีจะท�ำวิจัยเป็นอย่างดี การสังเคราะห์
ทฤษฎี จึงเป็นการประมวลสารสนเทศจากทุกแหล่งท่ีนักวิจัยได้ศึกษามา เพื่อให้นักวิจัยเห็นภาพรวมในเร่ือง
ท่ีจะท�ำวิจัย เข้าใจเร่ืองที่จะท�ำวิจัยทุกมุมมอง และมีความรู้ด้านทฤษฎีที่เป็นพ้ืนฐานของเรื่องท่ีจะท�ำวิจัย
วิธีการสังเคราะห์ใช้วิธีการบรรยายสรุปเนื้อหาสาระที่ได้จากบัตรบันทึก ท้ังน้ีนักวิจัยอาจใช้ทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว
เพียงทฤษฎีเดียวมาตรวจสอบด้วยกระบวนการวิจัย หรืออาจใช้หลายทฤษฎีเป็นแนวคิดพื้นฐานในการวิจัย
เพื่อตรวจสอบว่าทฤษฎีใดอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาได้ดีกว่ากัน หรืออาจ
บูรณาการทฤษฎีหลายสาขาเป็นทฤษฎีเดียวเพ่ืออธิบายสาเหตุของปรากฏการณ์อย่างสมบูรณ์

            การสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีควรจะได้ความหมายของปรากฏการณ์ หรือสังกัปของตัวแปร
หลักในเชิงทฤษฎีท้ังหมดรวมทั้งความเก่ียวข้องระหว่างตัวแปรเหล่าน้ัน น�ำมาสร้างเป็นกรอบแนวคิดเชิง
มโนทัศน์ (conceptual framework) ก่อน จากนั้นจึงให้นิยามปรากฏการณ์หรือตัวแปรทั้งหมดตามทฤษฎีที่
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152