Page 152 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 152
2-142 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ว่าสาระแต่ละตอนครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง การเขียนแต่ละย่อหน้าควรเริ่มต้นด้วยประโยคส�ำคัญ (key
sentence) แล้วตามด้วยค�ำอธิบาย ตัวอย่าง หรือข้อความขยาย ตามลักษณะการจัดระบบความคิดของ
นักวิจัย และจบย่อหน้าด้วยประโยคสรุป หรือประโยคที่เชื่อมโยงกับสาระในย่อหน้าต่อไป การเขียนย่อหน้า
แตล่ ะย่อหนา้ ควรระวังการใชภ้ าษาเขยี นที่เป็นประโยคแบบง่าย สน้ั กะทดั รดั ชดั เจน และส่ือความหมายตาม
ท่ีนักวิจัยต้องการ ไม่ควรใช้ภาษาพูด ไม่ใช้ค�ำฟุ่มเฟือย หรือศัพท์เทคนิคสูงเกินความจ�ำเป็น สาระทั้งหมดท่ี
เสนอในรายงานทุกย่อหน้าต้องเชื่อมโยงกันตลอดทั้งในหัวข้อเดียวกัน และทุกหัวข้อ และเม่ือจบหัวข้อแต่ละ
หัวข้อ หรือจบตอนแต่ละตอน ควรมีการสรุปประเด็นสำ� คัญ และมีการสรุปรวมของรายงานวรรณกรรมที่
เกี่ยวข้องด้วย
3.3 การปรับปรุงร่างรายงาน นักวิจัยควรอ่านและทบทวนร่างรายงานวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง
หลาย ๆ ครั้ง หากมีวรรณกรรมเพิ่มเติม ควรน�ำมาสอดแทรกเข้าในรายงานอย่างเหมาะสม การปรับปรุงร่าง
รายงานท�ำได้ตลอดระยะเวลาท่ีด�ำเนินการวิจัย แต่ควรปรับปรุงรายละเอียดมากกว่าการปรับปรุงส่วนส�ำคัญ
อันเป็นส่วนที่นักวิจัยน�ำมาใช้ในการวิจัยท่ีจะท�ำ มิฉะนั้นสิ่งที่ศึกษามาจะมิได้ถูกน�ำไปใช้ประโยชน์ และจะ
กลายเป็นส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
3.4 การจัดท�ำรายงานฉบับจริง เม่ือนักวิจัยได้ปรับปรุงรายงานฉบับร่างเป็นท่ีพอใจแล้วจึงจัดท�ำ
รายงานฉบับจริง โดยที่นักวิจัยอาจน�ำเน้ือหาสาระท่ีได้จากการค้นคว้าวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ไปใช้ในการ
เขียนรายงานวิจัย/วิทยานิพนธ์ได้ทุกบท ดงั น้ันรายงานวรรณกรรมท่ีเก่ยี วข้องจึงมีรายงานได้ในเนอื้ หาทุกบท
ของรายงานวิจัย/วิทยานิพนธ์ การเสนอการจัดท�ำรายงานวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในตอนนี้ จึงแบ่งได้เป็น
6 ส่วน ตามจ�ำนวนบท 5 บท และบรรณานุกรมในรายงานวิจัย/วิทยานิพนธ์ ดังน้ี
1) สว่ นบทนำ� รายงานในส่วนน้ีให้สาระเก่ียวกับความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหาวิจัย
ตลอดจนสภาพของปัญหาที่แสดงให้เหน็ ความจ�ำเป็นทต่ี อ้ งท�ำวจิ ัย รวมท้ังประโยชนท์ คี่ าดว่าจะได้รบั จากงาน
วิจัยท่ีจะท�ำ นักวิจัยบางคนน�ำเร่ืองวิธีวิทยาท่ีใช้ในการวิจัยท่ีเป็นนวัตกรรมมาน�ำเสนอในบทน�ำด้วย รายงาน
ในส่วนน้ีจะอยู่ในบทแรก หรือบทน�ำของรายงานวิจัย/วิทยานิพนธ์
2) สว่ นเนอื้ เรอื่ ง รายงานในสว่ นน้ี เปน็ สว่ นสำ� คญั ของรายงานการศกึ ษาวรรณกรรมทเี่ กย่ี วขอ้ ง
ประกอบด้วยแนวคิดทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือปรากฏการณ์ น�ำไปสู่กรอบ
แนวคิดเชิงทฤษฎี นิยามและวิธีการวัดตัวแปรหรือความหมายของปรากฏการณ์ท่ีจะศึกษา รายงานส่วนท่ี
เป็นงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้องในอดีตของนักวิจัยรุ่นก่อน พร้อมท้ังผลการสังเคราะห์จุดเด่น/จุดด้อย และความ
สอดคล้อง/ความขัดแย้งที่เป็นประเด็นให้ศึกษาวิจัยต่อไป ซ่ึงนักวิจัยสามารถน�ำมาใช้ปรับปรุงกรอบแนวคิด
เชิงทฤษฎี ให้ได้กรอบแนวคิดส�ำหรับการวิจัย และสมมติฐานวิจัย ซ่ึงช้ีน�ำให้เห็นวิธีการด�ำเนินการวิจัยท่ีจะ
ท�ำ รายงานในส่วนน้ีจะอยู่ในบทที่ 2 ของรายงานวิจัย/วิทยานิพนธ์ และเป็นส่วนส�ำคัญที่บ่งช้ีถึงคุณภาพของ
การศึกษาวรรณกรรมที่เก่ียวข้องของนักวิจัย
3) สว่ นวิธดี ำ� เนินการวิจยั รายงานในส่วนน้ีมีส่วนท่ีได้จากการค้นคว้าวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง
ในกรณีท่ีนักวิจัยได้แนวทางการวิจัยจากการศึกษาเอกสาร/รายงานวิจัย ในกรณีนี้นักวิจัยอธิบายถึงที่มาของ
วิธีการด�ำเนินการวิจัยท่ีนักวิจัยตัดสินใจเลือกใช้ ว่ามาจากรายงานวิจัย/เอกสาร/ต�ำราอย่างไร เพ่ิมเติมจาก