Page 148 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 148
2-138 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ศึกษาไว้ ปรับให้เห็นความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างตัวแปร น�ำเสนอเป็นกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี
(theoretical framework) หากนักวิจัยได้สังเคราะห์วิธีวิทยาการวิจัยและผลการวิจัยแล้ว อาจได้สารสนเทศ
เพ่ิมเติมมาพิจารณาควบคุมตัวแปรในการก�ำหนดแผนแบบการวิจัย โดยอาจเพิ่ม หรือตัดตัวแปร หรือปรับ
นิยามเชิงปฏิบัติการตัวแปร ให้ได้กรอบแนวคดิ สำ� หรบั การวจิ ยั (research framework) แสดงความสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยต่อไป ต่อจากนั้นจึงน�ำเสนอโครงสร้างการวัดตัวแปรแต่ละตัวในกรอบแนวคิด
รวมท้ังเครื่องมือวิจัยส�ำหรับวัดตัวแปรต่อไป
1.5.2 รูปแบบการน�ำเสนอผลการสังเคราะห์วิธีวิทยาการวิจัย จุดมุ่งหมายส�ำคัญของการ
สังเคราะห์วิธีวิทยาการวิจัย คือ เพ่ือให้นักวิจัยได้แนวทางท่ีเหมาะสมในการวิจัยของตน การสังเคราะห์ใน
ส่วนนี้จึงเป็นการประมวลสาระจากบัตรบันทึกในส่วนท่ีเกี่ยวข้องกับวิธีด�ำเนินการวิจัย ซ่ึงนักวิจัยต้องศึกษา
เปรียบเทียบวิธีการที่นักวิจัยรุ่นก่อนได้ใช้มาแล้วว่าแตกต่างกันอย่างไร แต่ละวิธีมีจุดเด่น จุดด้อยอย่างไร
และประมวลสาระส่วนที่เป็นวิธีดีท่ีสุดมาใช้ในการวิจัยของตนต่อไป
1.5.3 รปู แบบการนำ� เสนอผลการสงั เคราะหผ์ ลการวจิ ยั การสังเคราะห์ผลการวิจัย เป็นการน�ำ
ข้อค้นพบท่ีได้จากการวิจัยหลายเร่ือง ที่ศึกษาปัญหาวิจัยเดียวกันมาสรุปรวมให้ได้เป็นค�ำตอบที่เป็นข้อยุติ
Hunter and Schmidt (1990) กลา่ ววา่ วธิ ีการสังเคราะห์ผลการวจิ ยั ทำ� ได้รวม 10 วิธี ต้งั แต่ 1) วธิ สี งั เคราะห์
เชิงคุณภาพโดยการบรรยาย (narration) 2) วิธีการนับจ�ำนวนเร่ือง (voting) โดยนับจ�ำนวนผลการทดสอบ
สมมติฐานที่ปฏิเสธ/ไม่ปฏิเสธสมมติฐานหลัก 3) วิธีการรวมค่าความน่าจะเป็น (probability or p-value)
ในการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ 4) วิธีการนับจ�ำนวนการวิเคราะห์ที่ปรับแก้ทางสถิติ ซ่ึงแยกเป็นวิธีย่อย
2 วิธี วิธีหน่ึงเป็นการนับจ�ำนวนการวิเคราะห์ที่มี/ไม่มีนัยส�ำคัญทางสถิติ อีกวิธีหน่ึงเป็นการประมาณค่าเฉลี่ย
ของขนาดอิทธิพล (effect size)
1.5.4 รูปแบบการน�ำเสนอผลการสังเคราะห์รายงานวิจัยท้ังเรื่อง การสังเคราะห์รายงานวิจัย
เป็นการน�ำสาระทั้งหมดในงานรายงานวิจัยหลายเร่ือง ที่ศึกษาปัญหาวิจัยเดียวกันมาใช้เป็นข้อมูลส�ำหรับการ
วิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติ เพ่ือประมวลสรุปสาระเกี่ยวกับผลการวิจัย และเพ่ืออธิบายว่าผลการวิจัยต่าง
กันเพราะใช้ทฤษฎี หรือเพราะวิธีวิจัยต่างกัน Glass (1976); Glass, McGaw and Smith (1981) ให้นิยาม
ว่า การวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) หมายถึง การวิเคราะห์ผลการวิเคราะห์ (analysis of the
analyses) หรือการวิจัยงานวิจัย (research of research)
ผลการวิจัยที่น�ำมาสังเคราะห์ต้องอยู่ในหน่วยเดียวกัน Glass, McGaw and Smith (1981)
จึงพัฒนาดัชนีมาตรฐาน (standard indices) เพ่ือวัดขนาดของผลการวิจัย ดัชนีมาตรฐานที่นิยมใช้อยู่ใน
ปจั จบุ นั มี 2 แบบ คือ 1) ขนาดอทิ ธพิ ล (effect size) เป็นค่าสถิตบิ ง่ บอกถงึ ผลการวจิ ัยจากการวจิ ยั เชิงทดลอง
ว่าตัวแปรจัดกระท�ำ (treatment) มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามมากน้อยเพียงไร ขนาดอิทธิพลมีค่าเท่ากับ
อัตราส่วนระหว่างผลต่างของค่าเฉล่ียกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กับส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และ
2) สัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ (correlation coefficient) เป็นค่าสถิติบ่งบอกถึงผลการวิจัยจากการวิจัยเชิง
สหสัมพันธ์ว่า ขนาด และทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหตุกับตัวแปรผลเป็นอย่างไร