Page 153 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 153
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง 2-143
สาระในรายงานว่าด้วยวิธีการด�ำเนินการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยเน้ือหาด้านประชากร กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้
ข้อมูล การก�ำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง นิยามตัวแปรหรือขอบข่ายข้อมูล เคร่ืองมือวิจัย วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล รายงานวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องในส่วนนี้อยู่ในบทท่ี 3 ของรายงานวิจัย/
วิทยานิพนธ์ และเป็นส่วนส�ำคัญที่ช่วยให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงความถูกต้องความเหมาะสมของวิธีการด�ำเนิน
การวิจัยท่ีนักวิจัยใช้
4) ส่วนอภิปราย รายงานในส่วนนี้มีส่วนท่ีได้จากการค้นคว้าวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง
เม่ือนักวิจัยน�ำผลการวิจัยท่ีได้มาอภิปรายเปรียบเทียบว่า ตอบค�ำถามวิจัยอย่างไร ผลการวิจัยแตกต่าง/
สอดคล้อง กับสมมติฐานวิจัย ทฤษฎี และผลงานวิจัยในอดีตอย่างไร พร้อมทั้งอภิปรายถึงเหตุผลของความ
สอดคล้อง/ขัดแย้งดังกล่าว และอภิปรายถึงความเป็นไปได้ในการน�ำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการ
ก�ำหนดนโยบายและ/หรือการน�ำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติจริง รวมทั้งอภิปรายข้อจ�ำกัด (limitation)
ของการวิจัยอันน�ำไปสู่การให้ข้อเสนอแนะเพ่ือลดข้อจ�ำกัดในการวิจัยครั้งต่อไปด้วย
5) ส่วนข้อเสนอแนะ รายงานในส่วนน้ี เป็นการน�ำผลการอภิปรายความเป็นไปได้ในการน�ำ
ผลการวิจัยไปใช้ในการก�ำหนดนโยบายมาสรุปเขียนเป็น ‘ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย’ การน�ำผลการอภิปราย
ความเป็นไปได้ในการน�ำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติจริงมาสรุปเขียนเป็น ‘ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ’ และ
การน�ำผลการอภิปรายข้อจ�ำกัดในการวิจัยมาเขียนเป็น ‘ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป’
6) ส่วนอ้างอิง รายงานในส่วนน้ี เป็นการน�ำเสนอรายการบรรณานุกรมของวรรณกรรมที่
เกี่ยวข้องท่ีนักวิจัยได้ศึกษาค้นคว้ามาทั้งหมด เพื่อให้ผู้อ่านใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาลงรายละเอียดต่อไปได้
รายงานส่วนน้ีอยู่ในบรรณานุกรมของวิทยานิพนธ์ วิธีการเขียนบรรณานุกรมไม่ว่าจะเป็นรายงานวิจัย หรือ
บทความวิชาการโดยทั่วไปมีหลักการและรูปแบบการเขียนคล้ายกัน ต่างกันที่รายละเอียดของรูปแบบ
รปู แบบทนี่ ยิ มใชก้ นั มากในสาขาวชิ าสงั คมศาสตร์ ซงึ่ รวมสาขาวชิ าการศกึ ษาดว้ ย คอื รปู แบบของ American
Psychology Association (APA) (2010) และรูปแบบของ Turabian (1996)
3.5 การประเมินความถูกต้อง เม่ือได้จัดท�ำรายงานฉบับจริงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรท้ิงระยะไว้
2-3 วัน แล้วจึงน�ำรายงานมาอ่านประเมินคุณภาพ และตรวจทานความถูกต้องในการพิมพ์ รูปแบบการพิมพ์
ตลอดจนการพิสูจน์อักษรให้เรียบร้อยก่อนการจัดท�ำรายงานฉบับสมบูรณ์ และการเผยแพร่ผลงานวิจัยเพ่ือ
ใช้ประโยชน์ต่อไป ส่ิงท่ีเป็นปัญหาของนักวิจัยส่วนใหญ่คือ การวางแผนการด�ำเนินงานไม่เหมาะสม เพราะ
เมอื่ ใกลถ้ งึ กำ� หนดสง่ งาน รายงานวจิ ยั ยงั ไมเ่ รยี บรอ้ ย ทำ� ใหต้ อ้ งใชเ้ วลาสนั้ มากในการเขยี นรายงานวจิ ยั “สว่ น
ที่เป็นการสรุปผลการวิจัย และการให้ข้อเสนอแนะ” ซึ่งมีคุณภาพไม่ดีเน่ืองจากมีเวลาน้อยเกินไป
ขั้นตอนการน�ำเสนอรายงานการทบทวนวรรณกรรม (ท่ีเกี่ยวข้อง) ที่น�ำเสนอข้างต้นทั้ง 5 ข้ันตอน
ต้ังแต่ข้ันตอนการก�ำหนดจุดมุ่งหมาย จนถึงข้ันตอนการตรวจทานความถูกต้องของรายงาน เป็นเพียง
ข้ันตอนการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เก่ียวข้องโดยทั่วไปเท่าน้ัน ผู้อ่านจะเห็นว่าวลี “ที่เก่ียวข้อง” เป็นค�ำขยาย
ที่เตือนใจนักวิจัยว่าวรรณกรรมที่จะใช้ในการรายงานการทบทวนวรรณกรรมนั้น ต้องเป็น “วรรณกรรมท่ี
เกยี่ วขอ้ งกบั การวจิ ยั ” ปจั จบุ นั นกั วจิ ยั ทกุ คนรแู้ ละตระหนกั ดวี า่ วรรณกรรมทน่ี ำ� มาศกึ ษาตอ้ งเปน็ วรรณกรรม
ท่ีเกี่ยวข้องกับการวิจัยเท่านั้น ด้วยเหตุน้ี จึงใช้หัวข้อ “รายงานการทบทวนวรรณกรรม” หรือ “การทบทวน
วรรณกรรม” โดยไม่ต้องระบุค�ำว่า “ที่เกี่ยวข้อง” อีกต่อไป