Page 155 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 155

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง 2-145

1) รูปแบบการน�ำเสนอผลการสังเคราะห์ทฤษฎี 2) รูปแบบการน�ำเสนอผลการสังเคราะห์วิธีวิทยาการวิจัย
3) รูปแบบการน�ำเสนอผลการสังเคราะห์ผลการวิจัย และ 4) รูปแบบการน�ำเสนอผลการสังเคราะห์รายงาน
วิจัยท้ังเรื่อง

       2. หลกั การนำ� เสนอ “รายงานการทบทวนวรรณกรรม”
       หัวใจส�ำคัญอันเป็นหลักการของ ‘รายงานการทบทวนวรรณกรรม’ คือ การสื่อสารกับผู้อ่านรายงาน
วิจัยให้ผู้อ่านเข้าใจและเข้าถึงสาระที่นักวิจัยน�ำเสนอรวม 4 ด้าน คือ 1) สาระด้านเหตุผล อันเป็นประเด็น
ความจ�ำเป็น หรือท่ีมาของปัญหาวิจัย 2) สาระด้านความรู้จากทฤษฎีและจากผลงานวิจัยในอดีต อันเป็น
พนื้ ฐานแนวคิดส�ำหรับการสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัยและสมมติฐานวิจัย 3) สาระดา้ นแนวทางการดำ� เนนิ
การวจิ ัย อันเปรียบเสมือนแผนที่น�ำทางการด�ำเนินการวิจัย และ 4) สาระดา้ นคุณค่า อันเป็นคุณประโยชน์ท่ี
จะได้รับจากการวิจัย กล่าวโดยสรุป หลักการส�ำคัญของการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง คือ การน�ำเสนอ
สาระอย่างถูกต้อง ชัดเจน สมบูรณ์ในระยะเวลาสั้น เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจและเข้าถึงท่ีมา ความหมาย ความ
ส�ำคัญของปัญหาวิจัย หลักทฤษฎีและผลงานในอดีตที่เป็นพื้นฐานการวิจัย แนวทางการวิจัย และคุณค่าที่จะ
ได้รับจากการวิจยั หลกั การดังกลา่ วสรปุ ไดเ้ ปน็ 4 ประเด็นดังต่อไปนี้ หลกั การที่ 2.1 หลกั การน�ำเสนอรายงาน
ที่เหมาะสมกับผู้อ่าน นักวิจัยต้องค�ำนึงถึงกลุ่มผู้อ่านที่เป็นเป้าหมายหลัก ซึ่งประกอบด้วยผู้อ่าน 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มผู้บริหาร และกลุ่มนักวิชาการ การน�ำเสนอรายงานวิจัยฉบับ “บทสรุปส�ำหรับผู้บริหาร” ควรใช้หลักการ
เสนอรายงานวรรณกรรมที่เก่ียวข้องแบบสรุปสาระ สั้น กะทัดรัด ไม่มีศัพท์เทคนิคมากนัก ส่วนรายงานวิจัย
ส�ำหรับนักวิชาการทั่วไป ควรใช้หลักการเสนอรายงานการทบทวนวรรณกรรมแบบสมบูรณ์ พร้อมสาระทาง
เทคนิค (ยกเว้นกรณีเทคนิคซับซ้อนท่ีผู้อ่านทุกคนไม่จ�ำเป็นต้องรู้ ให้น�ำเสนอในภาคผนวกส�ำหรับผู้อ่าน
เฉพาะราย) หลักการที่ 2.2 หลักการน�ำเสนอรายงานตามวัตถุประสงค์วิจัย นักวิจัยต้องยึดหลักการว่า
“วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องต้องตรงตามวัตถุประสงค์วิจัยเสมอ” หลกั การที่ 2.3 หลักการวางโครงร่าง (outline)
รายงานการทบทวนวรรณกรรม มีหลักการส�ำคัญ 3 ประการ คือ 1) ทุกหัวข้อต้องมีลักษณะตรงกรณี
(relevance) หรือเก่ียวข้อง (related) กับปัญหาวิจัย 2) ทุกหัวข้อต้องต่อเน่ืองเช่ือมโยงถึงกัน และ 3) ทุก
หัวข้อมีส่วนที่นักวิจัยน�ำไปใช้สร้างกรอบแนวคิด และสมมติฐานวิจัย หรือน�ำไปใช้ในงานวิจัยส่วนอื่นได้ และ
หลักการที่ 2.4 หลักการใช้ภาษาในการเขียนรายงานการทบทวนวรรณกรรม หลักการท่ีส�ำคัญ คือ การใช้
ภาษาท่ีถูกต้องตามหลักภาษา และได้รายงานการทบทวนวรรณกรรมที่มีคุณสมบัติ seven C’s ประกอบ
ด้วย ความถูกต้อง (correctness) ความมีเหตุผลรองรับม่ันคง (cogency) ความกระจ่างแจ้ง (clarity)
ความสมบูรณ์ (completeness) ความกะทัดรัด (concise) ความสม่ําเสมอหรือความคงเส้นคงวา (con-
sistency) และความเชื่อมโยง (concatenation) ส่วนการจัดพิมพ์รายงานต้องยึดหลักการพิมพ์ตามรูปแบบ
(format) การพิมพ์เอกสารทางวิชาการที่สถานศึกษาก�ำหนด อนึ่งนักวิจัยควรทราบด้วยว่า ผู้ท่ีมีทักษะและ
ประสบการณ์ในการศึกษาเอกสาร/ต�ำราวิชาการ เพ่ือเขียนรายงานวิชาการ ย่อมมีทักษะในการทบทวนและ
จัดท�ำรายงานการทบทวนวรรณกรรม และได้รายงานท่ีมีคุณภาพ กรณีนักศึกษาท่ีขาดประสบการณ์ดังกล่าว
แต่มีทักษะในการเขียนเรียงความ (essay) และรายงานวิชาการมาก่อน ย่อมพัฒนาทักษะการทบทวน
วรรณกรรมได้ไม่ยากนัก วิธีท่ีดีมากและได้ผล คือ การศึกษาสังเกตรายงานการทบทวนวรรณกรรมจาก
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160