Page 159 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 159

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง 2-149

            วัตถุประสงค์ข้อ 2 เพ่ือให้ผู้อ่านเชื่อม่ันว่าเราไม่ควรพอใจกับวรรณกรรมเท่าที่มีอยู่ และเพื่อ
แสดงให้เห็นว่างานวิจัยที่จะท�ำช่วยเติมช่องว่างที่ส�ำคัญและก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าการไม่ท�ำวิจัยเร่ือง
ดงั กลา่ ว รายงานการทบทวนวรรณกรรมประเด็นท่ีสองนี้ คือ การวิพากษ์วรรณกรรมท่ีมีอยู่ในปัจจุบัน ว่ามี
จดุ ออ่ น และมปี ระเดน็ ทคี่ วรตอ้ งทำ� ใหด้ ขี น้ึ ไดอ้ ยา่ งไร กลา่ วอกี อยา่ งหนง่ึ คอื นกั วจิ ยั ตอ้ งพยายามตอบอธบิ าย
เหตุผลท่ีหนักแน่น สรุปให้ผู้อ่านเห็นว่า วรรณกรรมท่ีมีอยู่ในปัจจุบันมีจุดอ่อน/ความบกพร่องประเด็นใด
และควรต้องปรับปรุงประเด็นที่เป็นจุดอ่อน/ความบกพร่องนั้น รวมท้ังการอธิบายว่าแนวทางการปรับปรุง
ของนักวิจัยช่วยแก้ปัญหาความบกพร่องในอดีตได้จริง โดยมีเอกสารอ้างอิงที่ทันสมัยรองรับอย่างสมบูรณ์
ในกรณีที่ไม่สามารถด�ำเนินการแก้ไขจุดอ่อน/ความบกพร่องได้ทั้งหมด นักวิจัยต้องอธิบายพร้อมท้ังเหตุผล
ที่หนักแน่นสนับสนุนว่า ควรต้องมีการท�ำวิจัยต่อเนื่องเฉพาะประเด็นเรื่องท่ียังมิได้ด�ำเนินการ

            วัตถุประสงค์ข้อ 3 เพ่อื อธบิ าย และให้เหตผุ ลท่ีถูกต้องดว้ ยการเสนอแนวคิดในการวจิ ัย หรือ
สมมตฐิ านวิจัย รายงานการทบทวนวรรณกรรมในประเด็นท่ีสามนี้ ต่อเนื่องกับประเด็นท่ีสองข้างต้น เพราะ
นักวิจัยควรต้องเสนอทฤษฎี และ/หรือผลการวิจัยเชิงทดลองท่ีท�ำก่อนหน้าน้ี ที่สนับสนุนว่าแนวคิดที่นักวิจัย
เสนอจะทำ� วิจยั นั้นถูกต้องและมีคุณคา่ สูง อนึ่งนกั วจิ ัยตอ้ งระวังในการเสนอประเด็นดงั กลา่ ว เพราะการเสนอ
ประเด็นแนวคิดใหม่น้ันควรต้องมีความเป็นไปได้สูงท่ีจะให้ผลการวิจัยท่ีมีคุณค่า และคุ้มค่าท่ีจะท�ำ แต่มิใช่
เป็นการเสนอแนวคิดใหม่ที่นักวิจัยมั่นใจว่าถูกต้องแน่นอน พร้อมหลักฐานสนับสนุนท่ีชัดเจน จนท�ำให้
ประเด็นท่ีเสนอกลายเป็นข้อเท็จจริง (fact) ท่ีไม่ต้องท�ำวิจัยเพ่ือตรวจสอบ

            วตั ถปุ ระสงคข์ อ้ 4 เพอื่ อธบิ ายใหผ้ อู้ า่ นเหน็ วา่ วรรณกรรมในอดตี ชนี้ ำ� ไปสคู่ วามจำ� เปน็ ในการ
ท�ำวิจัยต่อเน่ือง ประเด็นส�ำคัญคือ นักวิจัยต้องแสดงให้เห็นว่าผลงานวิจัยในอดีตช่วยให้งานวิจัยที่จะท�ำมี
สว่ นสรา้ งเสรมิ องคค์ วามรตู้ อ่ ยอดจากงานวจิ ยั ในอดตี อยา่ งไร และความเขา้ ใจผลงานวจิ ยั ในอดตี ชว่ ยกำ� หนด
ทิศทางที่ควรวิจัยเพ่ือพัฒนาต่อยอดอย่างไร รวมท้ังนักวิจัยต้องสามารถอธิบายแนวทางการด�ำเนินงานวิจัย
ตอ่ ยอดใหผ้ อู้ า่ นเชอื่ มน่ั วา่ จะไดค้ วามรใู้ หมท่ มี่ คี ณุ คา่ ทง้ั นน้ี กั วจิ ยั อาจกำ� หนดวตั ถปุ ระสงคข์ อ้ 5-8 ในลกั ษณะ
ขยายความคิดตามวัตถุประสงค์ข้อ 4 ได้ดังนี้

            วตั ถุประสงคข์ ้อ 5 เพือ่ อธบิ าย และให้เหตุผลที่ถูกต้องเหมาะสมในการเลือกใช้กรอบแนวคิด
ทฤษฎีท่ีเสนอ ประเด็นส�ำคัญคือ นักวิจัยต้องแสดงให้เห็นว่า กรอบแนวคิดทฤษฎีที่นักวิจัยน�ำเสนอในการ
ทบทวนวรรณกรรมมีความส�ำคัญ เพราะนักวิจัยต้องใช้ทฤษฎีดังกล่าวในการสร้างกรอบแนวคิด หรือกรอบ
ทฤษฎี (conceptual or theoretical framework) ในการวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรวบรวมข้อมูล
และการวิเคราะห์ข้อมูล รวมท้ังการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากความส�ำคัญดังกล่าว นักวิจัย
ต้องเสนอการทบทวนวรรณกรรมด้านกรอบแนวคิดทฤษฎีโดยการเขียนเชิงวิพากษ์ ที่มีเน้ือหาสาระมากกว่า
การสรุปสาระจากวรรณกรรม โดยต้องเพิ่มสาระว่าวรรณกรรมดังกล่าวช่วยน�ำทางการวิจัยใหม่ ท�ำให้ได้ผล
การวิจัยท่ีมีการออกแบบการวิจัย การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลความหมายผลการ
วิเคราะห์ข้อมูลมีคุณประโยชน์มากกว่างานวิจัยในอดีต ผลจากแนวทางการวิจัยใหม่ท�ำให้มีข้อจ�ำกัด (limi-
tation) ในการวจิ ยั ลดลงเมอื่ เปรยี บเทยี บกบั งานวจิ ยั ในอดตี นอกจากนนี้ กั วจิ ยั ควรระบวุ ธิ กี ารแกป้ ญั หาดา้ น
ข้อจ�ำกัดดังกล่าว และน�ำเสนอเป็นข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป เพ่ือปรับปรุงประเด็นท่ีเป็นข้อจ�ำกัดให้ได้
ผลการวิจัยดีข้ึน กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ นักวิจัยต้องพยายามน�ำเสนอการทบทวนวรรณกรรมให้ชัดเจนท่ีสุด
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164