Page 164 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 164
2-154 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
วัตถุประสงค์แต่ละประเด็นในวัตถุประสงค์การวิจัยแต่ละข้อตามตารางท่ี 2.3 น้ัน เป็นตัวก�ำหนดการรายงาน
การทบทวนวรรณกรรมว่าจะเสนอสาระรายละเอียดลงลึกระดับใด
5) การทบทวนวรรณกรรม กรอบแนวคิดในการวจิ ัย และกรอบแนวคดิ เชิงทฤษฎี ตา่ งก็เป็น
รายงานเช่นเดียวกัน กล่าวคือ รายงานการทบทวนวรรณกรรม เป็นรายงานรูปแบบหน่ึงท่ีนักวิจัยใช้การ
ทบทวนวรรณกรรมที่ตรงประเด็นปัญหาวิจัย สังเคราะห์สรุปสาระความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร/
ประเดน็ ในการวจิ ยั เพอื่ ใหไ้ ดก้ รอบแสดงความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งตวั แปร/ประเดน็ ในการวจิ ยั สว่ นกรอบแนวคดิ
ในการวจิ ยั เป็นรายงานวิจัยรูปแบบหนึ่งที่นักวิจัยวิเคราะห์เช่ือมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสังกัป (concept)
ข้อค้นพบจากงานวิจัยเชิงประจักษ์ และสังกัปจากทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ให้ได้แนวทางวิจัยตามกรอบแนวคิดใน
การวิจัย ซึ่งมีประโยชน์ต่อนักวิจัยในการเห็นภาพโครงร่างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือประเด็นหลักใน
การวิจัย สามารถระบุช่องว่าง (gap) ที่ต้องเติมเต็มด้วยผลการวิจัย และกรอบแนวคดิ เชงิ ทฤษฎี เป็นรายงาน
วิจัยรูปแบบหนึ่งท่ีนักวิจัยสังเคราะห์ทฤษฎีท่ีเก่ียวข้องกับการวิจัยให้ได้พ้ืนฐานการพัฒนาทฤษฎีใหม่จาก
ทฤษฎีท่ีมีอยู่เดิม ซ่ึงเป็นแนวทางชี้น�ำการวิจัยของนักวิจัยให้ได้ประเด็นเสนอเพื่อพิจารณา (propositions)
ซง่ึ เปน็ รากฐานของการสรา้ งกรอบแนวคดิ เชงิ ทฤษฎที นี่ กั วจิ ยั ใชเ้ ปน็ แนวทางในการดำ� เนนิ การวจิ ยั ตอ่ ไป สาระ
ท่ีเสนอข้างต้นนี้สรุปได้ว่า ‘การทบทวนวรรณกรรมเป็นการให้เกียรติวรรณกรรมในอดีต โดยการน�ำแนวคิด
จากวรรณกรรมในอดีตมาเป็นแนวทางก�ำหนดทิศทางการวิจัยในอนาคตโดยอาศัยทฤษฎีรวมทั้งวรรณกรรม
อันเปรียบเสมือน “นักวิจัยยืนอยู่บนไหล่ของยักษ”์ ตามคติพจน์ของ Google Scholar ท�ำให้ได้รายงานวิจัย
ใหม่บนพ้ืนฐานงานวิจัยในอดีต ท่ีต่อยอดขยายขอบเขตองค์ความรู้ให้กว้างขวางมากข้ึน และลึกซึ้งมากขึ้น
กว่างานวิจัยในอดีต’ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคม
2. ตวั อยา่ งการนำ� เสนอผลการทบทวนวรรณกรรมด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา
เนื่องจากวรรณกรรมด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา แยกเป็น 3 แบบ คือ วรรณกรรมดา้ น
การวดั ดา้ นการประเมนิ และดา้ นการประเมนิ ผล แต่เนื่องจากมีการเสนอสาระเกี่ยวกับตัวอย่างการวิจัยด้าน
การวัดและการประเมินผลในหน่วยที่ 1 การเสนอสาระเก่ียวกับตัวอย่างการวิจัยด้านการวัดพุทธิพิสัย
เจตพสิ ยั และทกั ษะพสิ ยั ในหนว่ ยท่ี 5-7 และการเสนอกรณตี วั อยา่ งโครงการวจิ ยั การวดั และประเมนิ ผล และ
กรณีตัวอย่างโครงการวิจัยทางการประเมินในหน่วยท่ี 14 แล้ว ดังน้ันเพ่ือมิให้มีสาระซํ้าซ้อนกัน การน�ำเสนอ
ตัวอย่างผลการทบทวนวรรณกรรมในส่วนนี้ จึงเสนอตัวอย่างรายงานการทบทวนวรรณกรรมที่เน้นความ
ส�ำคัญด้านการวัด รวม 3 ตัวอย่าง คือ 1) ตัวอย่างรายงานการทบทวนวรรณกรรม ส�ำหรับงานวิจัยด้านการ
พัฒนามาตรวัดตัวแปร (เฉพาะหัวข้อ ความเป็นมาและความส�ำคัญของการวิจัย) 2) ตัวอย่างรายงาน
การทบทวนวรรณกรรม ส�ำหรับงานวิจัยด้านการพัฒนามาตรวัด และการตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติ
(psychometric property) และ 3) ตัวอย่างรายงานการทบทวนวรรณกรรม ส�ำหรับงานวิจัยด้านการพัฒนา
มาตรวัดตัวแปร และการตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรน้ัน ทั้งน้ีการน�ำ
เสนอน�ำตัวอย่างผลการทบทวนวรรณกรรมแต่ละแบบ ผู้เขียนอธิบายแนวคิดในการด�ำเนินงาน และวิธีการ
ด�ำเนินงาน ประกอบให้เห็นที่มาของผลการทบทวนวรรณกรรมแต่ละแบบด้วย ดังสาระต่อไปนี้