Page 165 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 165
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง 2-155
2.1 ตวั อยา่ งรายงานการทบทวนวรรณกรรม สำ� หรบั งานวจิ ยั ดา้ นการพฒั นามาตรวดั ตวั แปร (เฉพาะ
หัวข้อ ความเป็นมาและความส�ำคัญของการวิจัย) การเสนอสาระในหัวข้อน้ี ผู้เขียนเสนอสาระแยกเป็น
2 ตอน คือ ตอนแรก แนวคิดเบ้ืองต้น และแนวทางการน�ำเสนอแผนงาน ในการค้นคืนวรรณกรรม และ
ตอนที่สอง ผลการค้นคืนวรรณกรรม และรายงานผลการทบทวนวรรณกรรม ดังสาระแต่ละตอนดังนี้
ตอนแรก แนวคิดเบ้ืองต้น และแนวทางการนำ� เสนอแผนงาน ในการคน้ คืนวรรณกรรม จาก
ผลการศกึ ษาวรรณกรรมเบอื้ งตน้ ผวู้ จิ ยั พบวา่ การใชค้ ำ� แปลภาษาไทยวา่ “ความอยากรอู้ ยากเหน็ ” ไมเ่ หมาะสม
เพราะมีนัยยะว่าเป็นความอยากรู้อยากเห็นในทางที่ไม่สมควร ตามความหมายที่ถูกต้อง ตัวแปรนี้มีนัยยะท่ี
แสดงถงึ “ความตอ้ งการหรอื ความอยากเรยี นร”ู้ ผวู้ จิ ยั จงึ เลอื กใชค้ ำ� แปลวา่ ‘ความใฝเ่ รยี นร’ู้ ซง่ึ มคี วามหมาย
ตรงตามลักษณะที่แท้จริงของตัวแปร
ผู้วิจัยมีแนวคิดเบ้ืองต้น คือ ความต้องการพัฒนามาตรวัดตัวแปรด้านผลลัพธ์การเรียนรู้
(learning outcome) และในท่ีน้ีเจาะจงเลือกตัวแปร “มาตรวัดตัวแปรความใฝ่เรียนร”ู้ ซึ่งเป็นตัวแปรผล
การเรียนรู้ท่ีเหมาะสมกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลท่ีมีรูปแบบการเรียนการสอนแตกต่างจากยุค
อตุ สาหกรรมมาก ดงั นน้ั จงึ ตงั้ คำ� ถามวา่ “ตอ้ งพฒั นามาตรวดั ตวั แปรผลการเรยี นรใู้ นยคุ ดจิ ทิ ลั ทมี่ ปี ระสทิ ธผิ ล
และต้องมีลักษณะที่แตกต่างจากตัวแปรในอดีตหรือในยุคอุตสาหกรรมอย่างไร” เพื่อให้ได้ผลงานวิจัยที่มี
ความเป็นนวัตกรรม และไม่ซ้ําซ้อนกับผลงานวิจัยในอดีต ผู้วิจัยได้ส�ำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา
มาตรวัด ผลการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลโดยใช้ Google Scholar ผู้วิจัยพบว่า นักวิจัยการศึกษาท�ำงานวิจัยใน
ยุคดิจิทัลโดยให้ความส�ำคัญด้านการพัฒนามาตรวัดตัวแปรผลการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลที่แตกต่างจาก
งานวิจัยในอดีต และได้เรียนรู้ว่า “ตัวแปรความใฝ่เรียนรู้ (curiosity)” เป็นตัวแปรหนึ่งที่ได้รับความสนใจ
จากนักวิจัยสูงมาก จึงมีความสนใจที่จะท�ำวิจัยในเรื่องดังกล่าว
เม่ือตัดสินใจแน่ชัดว่าต้องการวิจัยเรื่อง “การพัฒนามาตรวัดความใฝ่เรียนรู้ (curiosity)”
ผู้วิจัยได้วางแผนงานค้นคืน และศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับ “ความใฝ่เรียนรู้” โดยการก�ำหนดแนว
คำ� ถามทต่ี อ้ งการคำ� ตอบจากการทบทวนวรรณกรรมรวม 5 ขอ้ คอื 1) ความใฝเ่ รยี นรู้ มคี วามหมายวา่ อยา่ งไร
2) ความใฝ่เรียนรู้ มีคุณประโยชน์ต่อวงการการศึกษา โดยเฉพาะด้านการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลอย่างไร
ผลการทบทวนวรรณกรรมจากค�ำถามสองขอ้ น้ีจะอยูใ่ นสว่ น ‘บทน�ำ (introduction)’ ของบทความวิจยั เพ่ือ
ให้ความรู้แก่ผู้อ่านด้านความหมายของ ‘ความใฝ่เรียนรู้’ และความส�ำคัญต่อการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล
3) ประวัติความเป็นมา รวมทั้งทฤษฎีท่ีเก่ียวข้องกับความใฝ่เรียนรู้ มีสาระส�ำคัญอย่างไร ผลการทบทวน
วรรณกรรมจากค�ำถามข้อนี้แสดงผลงานวิชาการในอดีตที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโมเดลการวัดความใฝ่
เรียนรู้ (measurement model of curiosity) ซ่ึงจะเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย และท่ีมาของสมมติฐาน
วิจัย 4) มีงานวิจัยท่ีศึกษาต่อเนื่องด้านตัวแปรความใฝ่เรียนรู้ในด้านใดบ้าง แต่ละด้านให้ข้อค้นพบส�ำคัญ
อย่างไร และ 5) ยังเหลือประเด็นปัญหาท่ีน่าศึกษาวิจัยต่อเนื่องเกี่ยวกับความใฝ่เรียนรู้ในด้านใด และอย่างไร
ผลการทบทวนวรรณกรรมส่วนนี้ช่วยแสดงให้เห็นว่าความรู้เก่ียวกับการพัฒนามาตรวัดความอยากเรียนรู้
ในอดีตท�ำมาถึงตรงจุดใด งานวิจัยในอดีตเสนอแนะให้ท�ำงานวิจัยต่อยอดในประเด็นใดบ้าง เพื่อน�ำเสนอ
ประเด็นท่ีควรวิจัยต่อไปในการท�ำวิจัยคร้ังน้ี