Page 169 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 169
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2-159
ตัวแปรด้านแรงจูงใจในการเรียนตัวแปรหนึ่งท่ีมีคุณค่ามาก คือ ความใฝ่เรียนรู้ (curiosity) ซ่ึงมี
ประวัติการพัฒนายาวนาน ในระยะแรก Birenbaum, Alhija, Shilton, Kimron, Rosanski, & Shahor
(2019) อธิบายว่า ผลงานวิจัยของ William James เมื่อปี ค.ศ. 1890 และ Abraham Maslow ในปี ค.ศ.
1943 สรุปว่า “ความใฝ่เรียนรู้ เป็นแรงจูงใจข้ันพื้นฐานทางจิตวิทยา” และให้นิยามว่า “ความใฝ่เรียนรู้
หมายถึง แรงกระตุ้น หรือส่ิงเร้า ท่ีช่วยให้ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้และประสบการณ์ใหม่” เม่ือมีนิยามความ
หมายท่ีชัดเจนแล้ว นักวิจัยรุ่นต่อมาจึงเริ่มศึกษาวิจัยตัวแปรความใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างความใฝ่เรียนรู้กับตัวแปรด้านคุณลักษณะผู้เรียน และตัวแปรลักษณะวิธีการและ
กิจกรรมการเรียนการสอน โดยมี Mussel (2010) สรุปผลการวิจัยดังกล่าวไว้ว่า “ความใฝ่เรียนรู้ มีความ
สัมพันธ์กับตัวแปรการเปิดรับประสบการณ์ (openness to experience) ความคิดเห็น และแนวคิดของ
บุคคล (people’s opinions, and ideas) ความยืดหยุ่นทางวิชาการ หรือพุทธศึกษา (cognitive flexibil-
ity) ความต้องการจ�ำเป็นด้านการรู้คิด (need for cognition) ความอดทนต่อแรงกดดัน (stress tolerance)
ความกล้าเสี่ยง (risk taking) และความมีวินัยในตนเอง (self-regulation)” นอกจากน้ี von Stumm, Hell
& Chamorro-Premuzic (2011) สรุปผลงานวิจัยว่า “ในช่วงศตวรรษท่ีผ่านมาผลการเรียนรู้ทางวิชาการ
(academic performance) เปรียบเสมือนผู้รักษาประตูทางเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย และผู้ก�ำหนด
เส้นทางวิชาชีพในการท�ำงานของผู้เรียน ดังน้ันนักการศึกษาจึงมุ่งศึกษาปัจจัยท่ีมีอิทธิพลต่อผลการเรียนรู้ทาง
วิชาการ” และได้ผลการวิจัยที่ส�ำคัญว่า “ความใฝ่เรียนรู้ทางปัญญา (intellectual curiosity) เป็นตัวแปร
ทำ� นายผลการเรยี นรทู้ างวชิ าการไดด้ ที ส่ี ดุ ตวั แปรทำ� นายรองลงไปคอื ตวั แปรความมจี ติ สำ� นกึ รบั ผดิ ชอบ หรอื
ความมีสติ (conscientiousness) ท่ีแสดงออกเป็นพฤติกรรมตัวแปรความพยายาม (effort) และตัวแปร
ความยึดม่ันผูกพันทางปัญญา (intellectual engagement) นอกจากนี้ตัวแปรความใฝ่เรียนรู้ทางปัญญา
ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยเฉพาะตัวแปรบุคลิกภาพของบุคคล (personality traits) ยังมีอิทธิพลทางบวกต่อผล
การเรียนรู้ทางวิชาการ และผลการวิจัยที่ส�ำคัญสรุปได้ว่า บุคคลที่มีจิตหิวกระหายความรู้ (hungry mind for
knowledge) เป็นปัจจัยที่ท�ำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกัน” และผลงานวิจัย
ลา่ สุดของนักวิจัยการศกึ ษา คือ Abakpa, Abah, & Agbo-Egwu (2018) พบวา่ “นอกจากความใฝ่เรยี นรู้
จะมีอิทธิพลต่อผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แล้วยังมีอิทธิพลต่อผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วย” ผลการวิจัย
ดังกล่าวแสดงให้เห็นคุณประโยชน์ของความใฝ่เรียนรู้ในการพัฒนาการเรียนการสอน โดยเฉพาะในช่วงเวลา
ปจั จบุ นั ทป่ี ระเทศไทยเปลย่ี นผา่ นจากยคุ อตุ สาหกรรมเขา้ สยู่ คุ ดจิ ทิ ลั หรอื ยคุ Thailand 4.0 อยา่ งเปน็ ทางการ
เมื่อพิจารณาสถานการณ์ของประเทศไทย วงการวิจัยการศึกษาของไทยโดยเฉพาะกลุ่มคณาจารย์
และนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เริ่มต่ืนตัวและให้ความสนใจท�ำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในยุค
ดิจิทัลกันมากข้ึน ประกอบกับองค์การท้ังภาครัฐ เอกชน และรัฐวิสาหกิจให้การสนับสนุนด้านงบประมาณใน
การวิจัย จึงมีการวิจัยออกแบบเพื่อพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผลการเรียน
การสอนในยคุ ดจิ ทิ ลั กนั มากขน้ึ เพอื่ พฒั นาตนเอง เชน่ เดยี วกบั คณาจารยแ์ ละนสิ ติ นกั ศกึ ษาระดบั บณั ฑติ ศกึ ษา
ในต่างประเทศ ประเด็นท่ีแตกต่างในด้านการพัฒนาการเรียนการสอนยุคดิจิทัลระหว่างการพัฒนาของไทย
และต่างประเทศ ผู้วิจัยพบว่าต่างประเทศมีการสนับสนุนการพัฒนาดังกล่าวสูงมากกว่าการสนับสนุนการ
พัฒนาของไทยด้วยเหตุผลต่อไปนี้