Page 172 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 172
2-162 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
การอบรม หรือแรงจูงใจของผู้เรียน เป็นอุปสรรคต่อการด�ำเนินงานที่อาจเกิดข้ึนได้จริง และการบริหาร
แบบแผนต้องมีแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างดี ด้านการขยายงาน (scaling) การขยายงานโครงการจะได้ผลดี
เม่ือมีแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีโมเดลการด�ำเนินงานท่ีเน้นดิจิทัล และมีกระบวนการสร้างความ
เป็นหุ้นส่วนระหว่างหน่วยงานในระบบนิเวศเพ่ือการพัฒนาก�ำลังแรงงานอย่างเพียงพอ และด้านการบริหาร
จดั การ (execution) โครงการที่มีผลกระทบสูงส่วนใหญ่เป็นโครงการท่ีมีการบริหารจัดการดี และมีการจัดการ
ความเปล่ียนแปลงตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตั้งแต่เริ่มต้นจนส้ินสุดโครงการ
จากความแตกต่างในด้านการพัฒนาบุคลากรยุคดิจิทัลระหว่างบุคลากรทางการศึกษาของไทยและ
ต่างประเทศดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นชัดว่าการพัฒนาการเรียนการสอนยุคดิจิทัลของไทยยังขาดทิศทาง
การพัฒนา ในขณะที่ต่างประเทศตระหนักถึงจุดอ่อนที่ต้องพัฒนาเร่งด่วน แต่ของไทยยังไม่รู้จุดอ่อนที่ต้อง
เร่งพัฒนา ด้วยเหตุน้ีผู้วิจัยจึงเห็นความจ�ำเป็นในการท�ำวิจัยเพ่ือพัฒนามาตรวัดความใฝ่เรียนรู้ (curiosity)
ในยุคดิจิทัล เพื่อน�ำไปใช้ในการวิจัยว่า 1) ผู้เรียนมีระดับความใฝ่เรียนรู้แตกต่างกันอย่างไร และความ
แตกต่างดังกล่าวท�ำให้ผู้เรียนแต่ละคนมีระดับการเรียนรู้ดิจิทัล และผลการเรียนรู้ (learning outcomes)
แตกต่างกันหรือไม่ และอย่างไร และ 2) บุคลากรทางการศึกษาของไทยมีความใฝ่เรียนรู้ การเรียนรู้ดิจิทัล
และผลการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด เม่ือเทียบกับบุคลากรทางการศึกษาต่างประเทศ และ 3) ในยุคดิจิทัล
บุคลากรและผู้เรียนที่มีความใฝ่เรียนรู้ระดับสูงมีอิทธิพลต่อระดับการเรียนรู้ดิจิทัล และผลการเรียนรู้สูงกว่า
กลุ่มบุคลากรและผู้เรียนท่ีมีความใฝ่เรียนรู้ระดับต่ําอย่างไร เพ่ือน�ำผลการวิจัยไปใช้ปรับปรุงการพัฒนา
บุคลากรและผู้เรียนต่อไป ผู้วิจัยเช่ือว่าผลการวิจัยจากการตอบค�ำถามวิจัยท้ัง 3 ข้อ จะได้สารสนเทศท่ีเป็น
แนวทางการปรับปรุงการพัฒนาบุคลากรของไทยต่อไป
การทบทวนวรรณกรรม
ผวู้ จิ ยั พบวา่ ผลการพฒั นามาตรวดั ความใฝเ่ รยี นรใู้ นยคุ ดจิ ทิ ลั มมี าตรวดั ทนี่ า่ สนใจ 2 แบบ แบบแรก
เป็นผลงานพัฒนาล่าสุดของ Spielberger & Reheiser (2009) และแบบที่สอง เป็นผลงานพัฒนาล่าสุดของ
Kashdan, Stiksma, Disabato, McKnight, Bekier, Kaji, & Lazarus (2018) โดยท่ีมาตรทั้งสองแบบ
อธิบายว่า ความใฝ่เรียนรู้ (learning curiosity) หมายถึง ความต้องการแสวงหาความรู้ และประสบการณ์
ทางประสาทสัมผัสแบบใหม่ที่จูงใจให้บุคคลมีพฤติกรรมการส�ำรวจสิ่งใหม่ ๆ ส่วนในประวัติการพัฒนา
มาตรน้ัน มีแนวคิดในการพัฒนามาตรท้ังสองแบบแตกต่างกันดังน้ี
การพัฒนามาตรแบบแรก Spielberger & Reheiser (2009) อธิบายว่า ความใฝ่เรียนรู้ (learning
curiosity) หมายถึง ความต้องการแสวงหาความรู้ และประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสแบบใหม่ที่จูงใจให้
บุคคลมีพฤติกรรมการส�ำรวจส่ิงใหม่ ๆ นักวิจัยหลายคนให้ความสนใจศึกษาความหมายและก�ำหนดนิยาม
ตัวแปรความใฝ่เรียนรู้ เร่ิมต้นจาก Daniel Berlyne ซ่ึงศึกษาตัวแปรความใฝ่เรียนรู้ต้ังแต่ปี ค.ศ. 1949 และ
ได้พิมพ์เผยแพร่งานวิจัยเมื่อปี ค.ศ. 1957 โดยเสนอมาตรวัดความใฝ่เรียนรู้ในรูปตัวแปร 2 มิติ เพ่ือแยก
ความแตกต่างด้านการแสดงออกของความใฝ่เรียนรู้ มิติแรก คือ มิติรูปแบบ (form) แยกเป็น 2 ด้าน คือ
ความใฝ่เรียนรู้ด้านความเข้าใจ (perceptual curiosity) และความใฝ่เรียนรู้ด้านลักษณะ (epistemic
curiosity) และมิติทีส่ อง คือ มิติแนวโน้มอยากรู้อยากเห็น (inquisitive tendencies) แยกเป็น 2 ด้าน คือ
ความใฝ่เรียนรู้ด้านที่แตกต่างกันหลากหลาย (diverse curiosity) และความใฝ่เรียนรู้ด้านการส�ำรวจ