Page 177 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 177

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง 2-167

                อทิ ธพิ ลของบคุ ลกิ ภาพห้าองคป์ ระกอบท่ีมีต่อแรงจงู ใจในการเรียน
                       ภาษาองั กฤษของนักเรียนมัธยมศกึ ษาตอนปลาย

              เมอ่ื มคี วามสามารถในการเผชญิ และฟนั ฝ่าอุปสรรคเป็นตวั แปรสง่ ผา่ น
Effects of the Big Five Personality on English Learning Motivation of Upper Secondary School Students

                          with Adversity Quotient as a Mediator
                          รองศาสตราจารย์ก่ิงแก้ว ทรัพย์พระวงศ์

                             ภาควิชาการจัดการการท่องเที่ยว
                                kingkaew.s@bu.ac.th

                            ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณภัทร วุฒิวงศา
                                  ภาควิชาภาษาอังกฤษ
                                  napat.w@bu.ac.th

              คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเท่ียว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
                      วารสารวิธีวิทยาการวิจัย 27(1): 25-47. พ.ศ. 2557

บทคัดย่อ
       การวิจัยเรื่องน้ีมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อส�ำรวจระดับแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน

มัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อจ�ำแนกตามภูมิหลังด้านเพศและผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน (GPA) (2) เพื่อศึกษา
อิทธพิ ลของบคุ ลิกภาพหา้ องค์ประกอบทม่ี ตี อ่ แรงจงู ใจในการเรยี นภาษาองั กฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอน
ปลายเม่ือมี AQ เป็นตัวแปรส่งผ่าน (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและความสามารถ
ในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ( AQ) ท่ีมตี อ่ แรงจูงใจ เมื่อมีและไมม่ ีการควบคุมตวั แปรเพศและ GPA ของ
นักเรียนให้คงท่ี ตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จ�ำนวน 320 คน (ชาย 160 คน และ
หญิง 160 คน) ใช้วิธีเลือกแบบหลายขั้นตอน เคร่ืองมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประเมินค่า
ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ (α = .82) แบบ
วัด AQ (α = .77) และแบบวัดแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ (α = .83) สถิติวิเคราะห์ คือ สถิติบรรยาย
การวิเคราะห์ถดถอยแบบข้ันตอนระดับลดหล่ัน และการวิเคราะห์การส่งผ่าน ผลการวิจัยท่ีส�ำคัญ พบว่า (1)
แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเพศชายและหญิงแตกต่างกันอย่างไม่มี
นัยสำ� คญั ทางสถิติ แต่นักเรยี นทีม่ ีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงมีแรงจงู ใจสูงกว่านักเรยี นท่ีมผี ลสมั ฤทธ์ทิ างการ
เรียนตํ่าอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ (2) บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ (ยกเว้นองค์ประกอบด้านความไม่มั่นคง
ทางอารมณ์) และ AQ มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ โดย
อิทธิพลของบุคลิกภาพด้านการมีจิตส�ำนึก การแสดงตัว ความเป็นมิตร และความไม่มั่นคงทางอารมณ์ท่ีมีต่อ
แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ เมื่อมี AQ เป็นตัวแปรส่งผ่าน เป็นการส่งผ่านสมบูรณ์ท้ังหมด ในขณะที่
อิทธิพลบุคลิกภาพด้านการเปิดรับประสบการณ์เป็นการส่งผ่านบางส่วน (3) อิทธิพลของบุคลิกภาพห้า
องค์ประกอบกับแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษเม่ือมี AQ เป็นตัวแปรส่งผ่าน ทั้งกรณีท่ีไม่ได้ควบคุมและ
กรณีที่ควบคุม GPA ให้มีค่าคงท่ีได้ผลคล้ายคลึงกัน
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182