Page 181 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 181
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง 2-171
Wagner, 2008; Komarraju & Karau, 2005; Komarraju, Karau, & Schmeck, 2009) นอกจากนั้น ผล
การวิจัยยังพบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของบุคลิกภาพแต่ละประเภทกับแรงจูงใจในการเรียนภาษา
อังกฤษ เนื่องจากบุคลิกภาพแตกต่างกัน แต่ละบุคคลจึงมีเหตุผลและรูปแบบในการเรียนภาษาอังกฤษที่แตก
ต่างกัน เช่น บุคลิกภาพ E และ O สูง มักจะมีแนวโน้มชอบเรียนรู้ส่ิงแปลกใหม่และมีแรงจูงใจในการเรียน
ภาษามากตามไปด้วย (Clark & Schroth, 2010; Ghapanchi, Khajavy, & Asadpour, 2011)
ผลงานวจิ ยั ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกลมุ่ ทส่ี อง เปน็ การศกึ ษาความสามารถในการเผชญิ และฟนั ฝา่ อปุ สรรค (AQ)
กับแรงจูงใจ งานวิจัยของ Stoltz (2000) แสดงผลว่า AQ มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจ และใช้ท�ำนายแรงจูงใจ
ของบุคคลในการท�ำส่ิงต่าง ๆ ได้ ซึ่งการศึกษากับนักศึกษา พบว่า AQ กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีความสัมพันธ์
กันทางบวกอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ และพบว่าแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธ์ิได้รับอิทธิพลทางตรงจาก AQ (Corni-
sta & Macasaet, 2013; Pangma, Tayraukham, & Nuangchalerm, 2009) ในขณะที่การวิจัยกับ
นักศึกษาของ Schwinger, Steinmayr, & Spinath (2009) และ Goodman, Jaffer, Keresztesi,
Mamdani, Mokgatle, Musariri, Pires, & Schlechter (2011) พบว่า แรงจูงใจภายในมีความสัมพันธ์
กับความสามารถทางวิชาการโดยมีความพยายามเป็นตัวแปรส่งผ่านที่เข้มแข็ง ซ่ึงการศึกษาของ Huijuan
(2009) ได้ผลว่า AQ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยส�ำคัญกับความสามารถทางวิชาการ ดังนั้น จากงานวิจัยท่ี
กล่าวมา แม้ไม่ใช่การศึกษา AQ กับแรงจูงใจโดยตรง แต่ความพยายามก็เป็นมิติหน่ึงของ AQ ในตัวบุคคล
ที่ส่งผลกับเป้าหมายของแรงจูงใจ คือ สัมฤทธิผลทางการเรียน
กลมุ่ ทส่ี าม เปน็ งานวจิ ยั ทศี่ กึ ษาเรอื่ งบคุ ลกิ ภาพหา้ องคป์ ระกอบกบั AQ จากการทบทวนวรรณกรรม
ผู้วิจัยยังไม่พบการศึกษาระหว่างตัวแปรท้ังสองโดยตรง แต่มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับ
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ AQ เช่น การวิจัยของ Grehan, Flanagan, & Malgady (2011) แสดงผลว่า บุคลิก
ด้านการมีจิตส�ำนึกของนักศึกษามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำ� คัญทางสถิติกับความฉลาดทางอารมณ์ และผล
วิจัยกับนักศึกษาของ De Feyter, Caers, Vigna, & Berings (2012) พบว่า บุคลิกภาพด้านความไม่ม่ันคง
ทางอารมณ์มีอิทธิพลทางตรงกับการเห็นคุณค่าในตนเองตํ่า ซ่ึงผลการศึกษาของ Kanjanakaroon (2011)
กับนักเรียนมัธยม พบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่าง AQ กับการจัดการตนเอง (self-empowerment) ซึ่ง
บางส่วนของความฉลาดทางอารมณ์ การเห็นคุณค่าในตนเอง และการจัดการตนเองล้วนเป็นสาระท่ีเก่ียวข้อง
กับ AQ (Stoltz, 2000)
การทบทวนวรรณกรรมท่ีกล่าวมาส่วนใหญ่เป็นการวิจัยระหว่างสองตัวแปรท่ีเก่ียวข้องกับการวิจัย
ครั้งน้ีเท่าน้ัน หรือสองตัวแปรดังกล่าวกับตัวแปรอ่ืน ผู้วิจัยยังไม่พบงานวิจัยท่ีศึกษาท้ังสามตัวแปรท่ีเกี่ยวข้อง
กับงานวิจัยคร้ังน้ีพร้อมกันกับนักเรียนไทย และมีงานวิจัยแสดงผลว่าแรงจูงใจกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมี
ความสัมพันธ์กัน (Howchatturat & Jaturapitakkul, 2011; Ibrahim Humaida, 2012) ซึ่งงานวิจัยบาง
เร่ืองพบว่าเพศต่างกันมีแรงจูงใจในการเรียนต่างกันด้วย (Ambedkar, 2012) อย่างไรก็ตาม งานวิจัยในอดีต
มกั มงุ่ ศกึ ษาประเดน็ ทเี่ กย่ี วกบั ปจั จยั ทส่ี ง่ ผลตอ่ สมั ฤทธผิ ลทางการเรยี นหรอื ความสามารถทางวชิ าการมากกวา่
ในขณะท่ีการวิจัยคร้ังนี้สนใจศึกษาปัจจัยท่ีส่งผลต่อแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยเชื่อว่าบุคลิกภาพ
ห้าองค์ประกอบแต่ละด้านกับ AQ และแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ รวมทั้งภูมิหลังด้านเพศ และผล
สัมฤทธ์ิทางการเรียน (GPA) ของนักเรียนน่าจะมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยมีกรอบแนวคิดของการวิจัย
แสดงดังภาพที่ 2.11