Page 179 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 179

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง 2-169

       ดังน้ัน แรงจูงใจจึงเป็นสิ่งท่ีสามารถน�ำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของปัจเจกบุคคลเพื่อให้การ
เรียนภาษาต่างประเทศสัมฤทธิผลดียิ่งข้ึนได้ ซ่ึงแรงจูงใจในการเรียนภาษานั้น มักเกิดจากการผสมผสาน
ระหว่างความต้องการใช้ภาษาต่างประเทศส�ำหรับสื่อสารกับชาวต่างชาติ เรียกว่า แรงจูงใจเชิงบูรณาการ
(integrative motivation) กับแรงจูงใจเชิงเคร่ืองมือ (instrumental motivation) อันหมายถึง ความ
ต้องการเรียนภาษาต่างประเทศเพื่อน�ำไปสู่การได้ท�ำงานท่ีดีข้ึนหรือการมีรายได้ที่สูงขึ้น (Gardner, 1985)

       จากประสบการณ์การสอนของผู้วิจัยและผลการวิจัยทางจิตวิทยาพบว่า คนที่มีความสามารถในการ
เผชิญ และฟันฝ่าอุปสรรค (Adversity Quotient) หรือ AQ สูงมักจะมีแรงจูงใจท่ีจะประสบความส�ำเร็จสูง
ด้วย เพราะมักจะมีความสนใจและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ อดทนและมุ่งมั่น เมื่อพบ
กับอุปสรรคก็รู้ว่าควรจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างไร หลายคนอาจขาดแรงจูงใจท่ีจะควบคุมและ
แก้ไขปัญหาด้วยศักยภาพของตนเอง เพราะมัวแต่คิดว่าตนเองไร้ความสามารถและส้ินหวัง (Schunk, Pin-
trich, & Meece, 2008; Stolz, 2000) งานวิจัยกับนักศึกษาไทยได้ข้อค้นพบท่ีสนับสนุนว่า แรงจูงใจในการ
เรียนภาษาอังกฤษมีความสัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเองและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษอย่าง
มีนัยส�ำคัญทางสถิติ (ณภัทร วุฒิวงศา และก่ิงแก้ว ทรัพย์พระวงศ์, 2556)

       ภายใตบ้ รบิ ทการศกึ ษาไทย การเรยี นภาษาองั กฤษของเยาวชนไมใ่ ชเ่ รอื่ งงา่ ยนกั เพราะมปี จั จยั หลาย
อย่างท่ีเป็นอุปสรรค ในการเรียนรู้ของนักเรียนและนักศึกษาที่จะสัมฤทธิผลได้ตามเป้าหมาย ดังนั้นจึงน่า
ศึกษาว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในปัจจุบันมีคุณลักษณะ AQ มากน้อยเพียงใด คุณสมบัตินี้จะส่งผล
ให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษหรือไม่ อย่างไรก็ตามการที่บุคคลจะมี AQ ในระดับใดนั้น มีพ้ืนฐาน
จากบุคลิกภาพของแต่ละคน (Stoltz, 2000) จึงน่าสนใจที่จะน�ำตัวแปรด้านบุคลิกภาพมาศึกษาในคร้ังน้ีด้วย
เพราะผลการวิจัยท้ังไทยและต่างประเทศ พบว่าบุคลิกภาพมีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อแรงจูงใจใฝ่
สัมฤทธ์ิและแรงจูงใจด้านวิชาการในตัวบุคคล (ศศิวิมน เพชรอาวุธ, 2554; Komarraju & Karau, 2005;
Komarraju, Karau, & Schmeck, 2009) ซึ่งแนวคิดเรื่องบุคลิกภาพมีการน�ำเสนอไว้อย่างหลากหลาย แต่
ในการวจิ ยั ครงั้ นจ้ี ะศกึ ษาบคุ ลกิ ภาพหา้ องคป์ ระกอบหรอื The Big Five ตามแนวคดิ ของ Costa & McCrae
(1992)

ผลการทบทวนวรรณกรรม
       แนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้องกับตัวแปรในการวิจัยครั้งน้ี แยกน�ำเสนอได้เป็นสอง

ประเด็น ประเด็นแรกคือ นิยามของตัวแปร ได้แก่ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ (Five factor personality)
หรือเรียกว่า The Big 5 ตามแนวคิดของ Costa & McCrae (1992) เสนอไว้ว่าบุคลิกภาพมีลักษณะส�ำคัญ
5 ประการ คือ 1) ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ (Neuroticism) หรือ N หมายถึงลักษณะกลัว เศร้า โกรธ
ขาดเหตุผล ควบคุมตนเองไม่ได้ จัดการกับความเครียดไม่ค่อยได้ และมีปัญหาในการปรับตัว 2) การแสดง
ตัว (Extraversion) หรือ E หมายถึง บุคลิกภาพชอบเข้าสังคม กล้าแสดงออก รักการผจญภัย ว่องไว ร่าเริง
กระตือรือร้น กระปร้ีกระเปร่า ช่างคุย เป็นธรรมชาติ สนุกสนาน อารมณ์แจ่มใส และมองโลกในด้านดี 3) การ
เปิดรับประสบการณ์ (Openness to experience) หรือ O หมายถึง มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ
มีสุนทรียภาพ มีความอยากรู้อยากเห็น มีความคิดและค่านิยมท่ีเปิดกว้าง พร้อมที่จะท�ำสิ่งใหม่ 4) ความเป็น
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184